คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, การแข่งขันทางการค้า, และข้อตกลงหลังการจ้าง
จำเลยทั้งสามติดต่อและตกลงรับโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สามารถทำหน้าที่บริหารดูแลงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างงาน การเป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย หาใช่สาระสำคัญของสัญญาจ้างงานไม่ เพียงแต่ทำให้โจทก์ดูมีคุณสมบัติเด่นเป็นพิเศษ มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจในการดูแลและบริหารงานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น การที่โจทก์ระบุในใบสมัครงานว่าเป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟฟอร์เนียอันเป็นการเท็จ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นโมฆียะกรรม
แม้ขณะที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1 จะรับโจทก์เข้าทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างกัน กฎและมาตรฐานความประพฤติของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีผลบังคับโจทก์ จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีกรอกข้อความในใบสมัครอันเป็นเท็จไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของโจทก์โดยระบุว่าโจทก์เป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนียตามที่โจทก์ระบุไว้ในใบสมัครอันเป็นเท็จซึ่งโจทก์ตรวจแล้วรับรองว่าถูกต้องนั้น ย่อมเป็นการกระทำผิดข้อบังคับและมาตรฐานความประพฤติของพนักงาน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การที่โจทก์รับรองประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของโจทก์ว่าเป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนียอันเป็นเท็จ แม้จะเป็นการผิดหรือฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ก็ตามก็ไม่ใช่เป็นกรณีร้ายแรง โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 ติดต่อกันเกินกว่าหกปีแต่ไม่ครบสิบปี โจทก์จึงชอบที่จะได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (4) และเมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโดยโจทก์มิได้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามฟ้อง
โจทก์ได้แจ้งคุณวุฒิด้านวิชาชีพอันเป็นเท็จต่อจำเลยที่ 1 ในใบสมัครงานและในการทำงานโจทก์ให้ข้อมูลหรือรับรองข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านวิชาชีพของโจทก์เป็นเท็จการกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และถือได้ว่าโจทก์กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ตามใบสมัครงานเอกสารหมาย ล. 3 ตอนท้ายมีข้อความสรุปไว้ว่า "นอกจากนี้ข้าพเจ้ายินยอมที่จะไม่ทำงานเพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับสำนักงานกฎหมายอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่ข้าพเจ้าได้ออกจากการทำงานที่ ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม (ประโยคข้างต้นดังกล่าวมิให้นำมาใช้กับทนายซึ่งทำงานให้กับบริษัท) " โดยข้อความในวงเล็บของต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษระบุว่า "(The preceding sentence does not apply to lawyers engaged wih the firm.)" คำในวงเล็บคำว่า "lawyers" ท้ายเอกสารหมาย ล. 3 ย่อมหมายถึงทนายความผู้ทำหน้าที่ว่าความหรือให้คำปรึกษาเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น โจทก์เข้าทำงานตำแหน่งหัวหน้างานทรัพย์สินทางปัญญาและตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานทรัพย์สินทางปัญญา อันเป็นตำแหน่งที่สามารถล่วงรู้ความลับในทางการค้าและข้อมูลการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในกิจการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ ดังนั้น ข้อความท้ายเอกสารหมาย ล. 3 จึงมีผลผูกพันไม่ให้โจทก์ทำงานเพื่อหรือทำงานให้แก่สำนักงานกฎหมายอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง คือนับแต่วันที่เลิกจ้าง เมื่อโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างแล้วโจทก์ไปทำงานกับบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี จำกัด อันเป็นสำนักงานกฎหมายในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการผิดสัญญาข้อดังกล่าว แต่เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาเป็นเวลานาน หากให้มีผลนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม จึงสมควรกำหนดให้เป็นค่าเสียหายโดยให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับลูกจ้างทำงานต่างประเทศ: เงินได้จากการจ้างงานในกิจการของนายจ้างในไทยต้องเสียภาษีในไทย
จำเลยเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างทั้งภายในและนอกประเทศไทย การที่บริษัท อ. ส่งจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. รับจ้างถมทะเลนอกประเทศ ค่าจ้างที่บริษัท อ. จ่ายให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (1) ที่จำเลยได้รับเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปี และการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ใช้
จำเลยที่ 2 กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้หกวันโดยไม่มีการสะสมในปีถัดไป เมื่อโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 6 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี นับแต่เมื่อครบหนึ่งปี นับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้าย คือ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ในช่วงปีสุดท้ายนี้ โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อปรากฏว่า ในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปีตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปี และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้ายคือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ ในช่วงปีสุดท้ายนี้โจทก์จึงมิสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบในบริษัท แม้มิเจตนาแก่นายจ้าง แต่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งและสร้างความเสียหาย
หลังจากจำเลยมีคำสั่งห้ามไม่ให้ปล่อยเงินกู้นอกระบบในบริษัทจำเลยแล้ว โจทก์ยังฝ่าฝืนปล่อยเงินกู้นอกระบบให้ลูกจ้างของจำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อเดือน อันเป็นการกระทำความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ ซึ่งแม้จะมิใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง แต่ก็เป็นการกระทำความผิดอาญาในระหว่างการทำงาน ทั้งยังเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นผู้ใช้แรงงานส่งผลกระทบต่อกำลังใจในการทำงาน ย่อมทำให้กิจการของจำเลยได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรง และเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ โดยการรับสินบนจากตัวแทนขาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงนายจ้าง
อ. ลูกจ้างของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักร และบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาจัดซื้อ โดยพิจารณาสินค้าจากตัวแทนขายต่าง ๆ การที่ อ. นัดหมายตัวแทนขายรับประทานอาหารและเรียกเงินเป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ อ. ก็ตาม แต่ อ. ก็ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วยและได้เรียกรับเงินจากตัวแทนขายอันเป็นบุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์ เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ และการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งเป็นเหตุร้ายแรงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
อ. เรียกเงินจาก ผ. เป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ โดย อ. มีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักร และบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาจัดซื้อ แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ อ. ก็ตาม แต่ อ. ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) และการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ และเป็นความผิดร้ายแรง ซึ่งกำหนดให้ลงโทษเพียงการไล่ออกขั้นตอนเดียว เมื่อ อ. กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงตามมาตรา 119 (4) โจทก์มีสิทธิเลิกจ้าง อ. ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ไม่ได้นำสืบซ้ำ หากจำเลยยอมรับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบในข้อนี้อีก แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นนายจ้างหรือใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้าง แต่เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ไปแล้ว คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ และขอบเขตความหมายของคำว่า 'ทุจริต' ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" และไม่ได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง ก. เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของบริษัท ฮ. เรียกรับสุรา 4 ขวด จากคู่ค้าของบริษัท ฮ. โดยอ้างว่าบริษัท ฮ. จะนำสุราดังกล่าวใช้ในการพาพนักงานเที่ยว แท้จริงแล้ว ก. กับเพื่อนร่วมงานนำสุราทั้ง 4 ขวด ใช้ในการเที่ยวส่วนตัว การกระทำของ ก. ทำในขณะที่ ก. มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อที่อาจเอื้อประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อคู่ค้า คู่ค้าจึงอาจเกรงใจจำยอมหรือยอมให้โดยไม่ได้สมัครใจอย่างแท้จริง จึงเป็นความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5233/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่: การพิจารณาความหมายของ 'ทุจริต' ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และไม่ได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง การกระทำของโจทก์ที่ได้สุรา 4 ขวดมาจากคู่ค้าของจำเลย เพราะโจทก์เรียกรับเอาเองในขณะที่โจทก์มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของจำเลย อันเป็นตำแหน่งที่อาจเอื้อประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อคู่ค้า คู่ค้าจึงอาจเกรงใจ จำยอมหรือยอมให้โดยไม่ได้สมัครใจอย่างแท้จริงทั้งการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจะนำเที่ยวในวันดังกล่าว คู่ค้าหลงเชื่อจึงให้สุราไปความจริงโจทก์กับเพื่อนร่วมงานนำสุราทั้ง 4 ขวด ใช้ในการเที่ยวส่วนตัว การกระทำของโจทก์จึงเป็นความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื้อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
of 223