คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้างประจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งและได้รับการตักเตือน
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างละทิ้งงานไปและถูกตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งข้อความในหนังสือเตือนมีว่า โจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป และได้รับการตักเตือนแล้ว โดยโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ หนังสือดังกล่าวมีข้อความอยู่ในตัวเองแล้วว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้แสดงความผิดของโจทก์ให้ปรากฏว่าโจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป จึงเตือนให้โจทก์ระมัดระวังสังวรณ์ ไว้ เป็นทำนองว่ามิให้ละทิ้งงานอีกจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างที่ได้ตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่ง โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างรายวันและรายเดือน โดยมิใช่ค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มิใช่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยแต่โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้าง อัตราสุดท้ายวันละ 75 บาท ค่าครองชีพเดือนละ 400 บาท การคิดค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46(3) จึงต้องนำค่าจ้างรายวันมาคูณด้วยหนึ่งร้อยแปดสิบวันและค่าจ้างรายเดือนมาคูณด้วยหก จะเป็นค่าชดเชย ที่โจทก์จะพึงได้รับส่วนการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจ และในวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นเพียงการ คำนวณจ่ายค่าจ้างของจำเลย ไม่มีผลมาถึงการคำนวณจ่ายค่าชดเชยซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างประจำ: ค่าจ้างรายวัน/รายเดือน vs. ค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มิใช่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยแต่โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายวันละ 75 บาทค่าครองชีพเดือนละ 400 บาทการคิดค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46(3) จึงต้องนำค่าจ้างรายวันมาคูณด้วยหนึ่งร้อยแปดสิบวันและค่าจ้างรายเดือนมาคูณด้วยหก จะเป็นค่าชดเชยที่โจทก์จะพึงได้รับส่วนการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจและในวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นเพียงการคำนวณจ่ายค่าจ้างของจำเลยไม่มีผลมาถึงการคำนวณจ่ายค่าชดเชยซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800-836/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานกรีดยางเป็นงานเกษตรกรรม ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันระบุว่ามิให้ใช้บังคับแก่งานเกษตรกรรมซึ่งได้แก่งานเพาะปลูก งานประมง ป่าไม้ และ เลี้ยงสัตว์ สำหรับงานเกษตรกรรมหรืองานเพาะปลูกนั้น เกษตรกรผู้ประกอบการดังกล่าวย่อมมุ่งหวังถึงผลิตผลของพืชที่เพาะปลูกลงเป็นสำคัญ เมื่อปลูกยางพาราแล้วมีการกรีดยางก็เป็นการเก็บเกี่ยวผลิตผลจากงานเพาะปลูก ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเพาะปลูก ถือได้ว่าการที่จำเลยจ้างโจทก์กรีดยางพาราเป็นการจ้างทำงานเกษตรกรรมซึ่งไม่อยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดซึ่งนอกเหนือไปจากที่ตกลงกันไว้หาได้ไม่
เมื่อโจทก์ฟ้องขอสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามาน้อยกว่าที่ควรจะได้จริงตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นการผิดพลาดพลั้งเผลอ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์จึงแสดงว่าไม่มีเหตุสมควรเพื่อความเป็นธรรมที่จะพิพากษาเกินคำขอ
ศาลแรงงานกลางให้พิจารณาพิพากษารวมกัน โจทก์ทุกสำนวนยื่นบัญชีระบุพยานอ้างพยานร่วมกัน โดยอ้างตัวโจทก์ทุกสำนวนเป็นพยานด้วย การที่โจทก์บางสำนวนเข้าเบิกความเป็นพยานก็เท่ากับเป็นพยานโจทก์ทุกสำนวนด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าถ้อยคำที่โจทก์บางคนดังกล่าวเบิกความเป็นพยานรับฟังได้ก็มีผลถึงโจทก์อื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากการทำงานต่อเนื่องและได้รับค่าจ้างเดิม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้แต่งตั้งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม มิได้ ปลดโจทก์ออกจากงาน แต่เป็นการสั่งให้โจทก์พ้นตำแหน่งเดิมแล้วให้ไปทำงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่ในฐานะเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การทำงานของโจทก์ต่อเนื่องกัน ไม่มีระยะเวลาอันเป็นช่องว่างที่แสดงว่าโจทก์ต้องออกจากงานไปชั่วคราวแล้วกลับแต่งตั้งเข้ามาใหม่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานก่อนบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อทำงานครบ 1 ปี
การรับลูกจ้างทดลองงาน 3 เดือนก่อนบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนั้น เป็นการจ้างในฐานะลูกจ้างประจำแล้ว เพียงแต่ลูกจ้างไม่มีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยหากถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานเท่านั้น ส่วนอายุการทำงานในฐานะลูกจ้างประจำเริ่มนับแต่วันที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างประจำ: การจ้างครูพิเศษต่อเนื่องถือเป็นการจ้างประจำ
เมื่อไม่ปรากฏว่างานของครูพิเศษซึ่งมีจำเลยจ้างมาทำการสอน มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาลอย่างไร จึงถือได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์ไว้เป็นการประจำโจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยตั้งแต่จำเลยจ้างโจทก์เป็นครูพิเศษเป็นต้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: เกณฑ์การนับระยะเวลาทำงานหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงาน แต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วัน จึงออกจากงาน แสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: ต้องทำงานต่อเนื่องหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำครบ 120 วัน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงานแต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วันจึงออกจากงานแสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3627/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จ้างพิเศษแต่มีลักษณะงานประจำ มีสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างพิเศษหรือคนงานจร ทำงานแทนคนงานประจำ แต่เมื่อได้ความว่า ลูกจ้างพิเศษต้องมาทำงานทุกวันสัปดาห์ละ 6 วัน หยุดวันอาทิตย์เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำบางวันก็ต้องทำงานล่วงเวลา ประกอบกับเวลาทำงานก็ต้องลงชื่อในสมุดลงเวลาทำงานทุกคน เมื่อมาทำงานได้รับเลี้ยงอาหารกลางวันและมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของจำเลยเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำดังนี้ วัตถุประสงค์ที่จ้างก็เพื่อจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะงานเป็นงานประจำนั่นเอง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
of 4