คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้างรายวัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าสำหรับลูกจ้างรายวัน โดยหักวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน กำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 1 และ 16 ของเดือน วันทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 แม้วันที่ 16 พฤศจิกายน 2529จะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์และมีการจ่ายสินจ้างในวันที่ 17 ก็ตามการเลิกจ้างก็ย่อมมีผลในวันที่ 16 ธันวาคม 2529 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปและต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถึงงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2529 รวมเป็น 29 วัน แต่โดยที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีวันหยุดประจำสัปดาห์ 4 วัน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 25 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายวันเนื่องจากลาป่วยบ่อยจนหย่อนสมรรถภาพ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรมได้
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลย ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์โดยสารประจำทาง ในปีงบประมาณ 2530 โจทก์ลาป่วยทุกเดือนรวม 38 วัน และยังลากิจอีกเป็นบางเดือนซึ่งรวมแล้วเป็นเวลา 20 วัน การที่โจทก์ลาป่วยโดยไม่เว้นเดือนและยังลาป่วยเกินสิทธิตามข้อบังคับของจำเลยด้วย แสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ แม้เป็นการลาป่วยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย และโจทก์ยังสามารถทำงานต่อไปได้ ก็ถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานอันเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายวันฐานหย่อนสมรรถภาพจากลาป่วยบ่อย แม้ได้รับอนุญาต ย่อมชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลย ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์โดยสารประจำทาง ในปีงบประมาณ 2530 โจทก์ลาป่วยทุกเดือนรวม 38 วันและยังลากิจอีกเป็นบางเดือนซึ่งรวมแล้วเป็นเวลา 20 วัน การที่โจทก์ลาป่วยโดยไม่เว้นเดือนและยังลาป่วยเกินสิทธิตามข้อบังคับของจำเลยด้วย แสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ แม้เป็นการลาป่วยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย และโจทก์ยังสามารถทำงานต่อไปได้ ก็ถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานอันเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4217/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างและค่าครองชีพของลูกจ้างรายวันหยุดงาน-วันหยุดตามประเพณี-การจ่ายเบี้ยขยัน-สิทธิการพักผ่อนประจำปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่กำหนดว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเงินจำนวนหนึ่งต่อเดือนนั้น มิได้หมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าครองชีพตามกำหนดเต็มจำนวน ถึงแม้ลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้างก็ตาม
โจทก์สามร้อยแปดสิบสามคนเป็นลูกจ้างประจำรายวันของจำเลยมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์ทั้งหมดนัดหยุดงานแล้วตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นโดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2529 แต่จะกลับเข้าทำงานตามปกติในวันที่ 8 ธันวาคม 2529 ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้งหมดมิได้ทำงานระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2529 ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างรายวันแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพเฉพาะส่วนที่มิได้ทำงานจากจำเลย และเมื่อวันที่ 5ธันวาคม 2529 เป็นวันหยุดตามประเพณีซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังมิได้ทำงานให้แก่จำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีด้วย
การหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 โดยได้รับอนุมัติจากนายจ้างแล้วมิใช่เป็นการลาหยุด หรือเป็นเรื่องการขาดงานอันเป็นผลต่อหลักเกณฑ์ของการพิจารณาจ่ายเบี้ยขยันตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2126/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายวันฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำเข้าข่ายผิดวินัยร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำรายวันของจำเลย วันไหนไม่ไปทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้าง โจทก์ไม่ได้ไปทำงาน 1 วันโดยลาป่วยเท็จแต่รับค่าจ้างของวันที่ตนลาป่วยเท็จนั้นทั้งที่รู้ว่าไม่มีสิทธิจะได้รับ ดังนี้ การกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการลาป่วยเท็จอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ฝ่าฝืนต่อกฎระเบียบและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และจงใจเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หาใช่เป็นการแจ้งเท็จหรือรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาเพียงประการเดียวซึ่งมีโทษตัดค่าจ้างตามระเบียบของจำเลยเท่านั้นไม่ การที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานจึงชอบด้วยข้อบังคับที่ให้อำนาจจำเลยไล่ลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงออกจากงานได้แล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเช่นนี้จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายของลูกจ้างรายวันต่อคำสั่งหยุดงานเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันที่หยุด
จำเลยสั่งให้ลูกจ้างทั้งหมดหมุนเวียนกันหยุดงานเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสัปดาห์ละ 2 - 3 วัน ในช่วงที่ธุรกิจการทอผ้าของจำเลยประสบภาวะขาดแคลนงานให้ลูกจ้างทำ เพราะขาดวัสดุและงานที่ผลิตได้จำหน่ายไม่ออก ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันหยุดงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าวมาแล้วเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ จนกระทั่งมีวันหยุดทำงานในช่วงระยะเวลาดังกล่าวประมาณคนละ 10 วัน โดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของจำเลยจึงถือว่าโจทก์ได้ยินยอมโดยปริยายแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันที่หยุดงานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายของลูกจ้างรายวันต่อคำสั่งหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากภาวะขาดทุน ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันหยุดงานนั้นสิ้นสุดลง
จำเลยสั่งให้ลูกจ้างทั้งหมดหมุนเวียนกันหยุดงานเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสัปดาห์ละ 2-3 วัน ในช่วงที่ธุรกิจการทอผ้าของจำเลยประสบภาวะขาดแคลนงานให้ลูกจ้างทำ เพราะขาดวัสดุและงานที่ผลิตได้จำหน่ายไม่ออกทำให้ประสบปัญหาขาดทุนและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันหยุดงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าวมาแล้วเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์จนกระทั่งมีวันหยุดทำงานในช่วงระยะเวลาดังกล่าวประมาณคนละ 10 วัน โดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของจำเลยจึงถือว่าโจทก์ได้ยินยอมโดยปริยายแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันที่หยุดงานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรายวันยินยอมหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากนายจ้างขาดสภาพคล่อง ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันที่หยุด
จำเลยสั่งให้ลูกจ้างทั้งหมดหมุนเวียนกันหยุดงานเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสัปดาห์ละ2-3วันในช่วงที่ธุรกิจการทอผ้าของจำเลยประสบภาวะขาดแคลนงานให้ลูกจ้างทำเพราะขาดวัสดุและงานที่ผลิตได้จำหน่ายไม่ออกทำให้ประสบปัญหาขาดทุนและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยก็ได้ผลัดเปลี่ยนกันหยุดงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าวมาแล้วเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์จนกระทั่งมีวันหยุดทำงานในช่วงระยะเวลาดังกล่าวประมาณคนละ10วันโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของจำเลยจึงถือว่าโจทก์ได้ยินยอมโดยปริยายแล้วดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างในวันที่หยุดงานดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331-3340/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างรายวันไม่ต่อเนื่อง: ไม่มีสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การวินิจฉัยว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขการจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยว่า ลูกจ้างและนายจ้างประสงค์จะให้การจ้างมีผลผูกพันเพียงใด และต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคราวเดียวติดต่อกันตลอดระยะเวลาที่ทำงาน โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำความสะอาดสถานีและขบวนรถของจำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์มีสิทธิมาทำงานวันใดก็ได้ หรือไม่มาทำงานวันใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือลางานและโจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ดังนี้ การจ้างดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมีความประสงค์จะทำสัญญาจ้างกัน คราวละ1 วัน โดยจะเกิดสัญญาจ้างขึ้นในแต่ละวันที่โจทก์มาทำงานและสัญญาจ้างเป็นอันระงับไปเมื่อหมดเวลาทำงานของวันนั้น ๆ วันทำงานแต่ละวันของโจทก์จึงไม่ติดต่อกัน จะถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หรือข้อ 75 ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์ในหน้าที่ของลูกจ้างรายวัน และการพิพากษาความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารที่ไม่ชัดเจน
การที่จำเลยตั้งยอดเบิกเงินตามจำนวนทหารที่จะได้รับเงินเดือนนั้น จำเลยอาจต้องลงบัญชีไว้ก่อน เพื่อจะได้จ่ายในวันหลัง ดังจำเลยต่อสู้ก็ได้เมื่อไม่ได้ความว่าบัญชีไม่ตรงตามจำนวนทหารในเดือนใด การที่ทหารมารับเงินเดือนไม่ครบจำนวนจำเลยลงบัญชีจ่ายเต็มจำนวนให้ตรงกับบัญชีเงินสดประจำวันก็ไม่ได้หลักฐานว่ามีระเบียบข้อบังคับห้ามไม่ให้ทำเช่นนั้นดังนี้จะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการปลอมหนังสือไม่ถนัด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดหลายกระทงขอให้ลงโทษตามมาตรา 319, ข้อ (3) ฯลฯ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางราชการจัดให้จำเลยทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินจำเลยยักยอกเอาเงินรายนี้ไปจริงดังนี้ ก็ตรงกับคำฟ้องส่วนที่กล่าวว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานนั้นแม้ทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานโดยตรงก็ยังถือไม่ได้ว่าคดีได้ความตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
of 3