คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล่าช้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ล่าช้าและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัย ไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีการับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, เบี้ยปรับ, การริบเงินประกัน, ความล่าช้าของเจ้าของงาน
++ เรื่อง จ้างทำของ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งกันว่า
++ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2532 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนประชาบำรุงตามแบบ สปช.105/29 ขนาด 1 ชั้น 4ห้องเรียน 1 หลัง กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 ในราคา1,036,000 บาท ตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน250,000 บาท งวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3เป็นเงิน 486,000 บาท โดยจะเริ่มลงมือทำงานในวันที่ 1 สิงหาคม2532 หากจำเลยที่ 1 มิได้ลงมือทำงานภายในกำหนด หรือมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหรือล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วเสร็จไปแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีอำนาจว่าจ้างผู้อื่นทำงานต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยจำเลยที่ 1ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าสิ่งของ ค่าคุมงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามจำนวนที่โจทก์จ่ายไปโดยสิ้นเชิง ถ้าจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดแต่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 1,036 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาถึงวันที่ทำงานเสร็จบริบูรณ์ ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าเห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญา ข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญา และถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาและเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะโจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อจนแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างเอกสารหมาย จ.3
++ ต่อมาวันที่ 19มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วันโจทก์อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างเพราะปัญหาปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นขาดแคลน วันที่ 19เมษายน 2533 จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ได้ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1ขอขยายเวลาการสร้างออกไปอีก 180 วัน โจทก์ก็อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างหลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองเร่งรัดการก่อสร้างต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 และริบเงินประกันตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 วางไว้ต่อโจทก์จำนวน 51,800 บาท เป็นค่าปรับ
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่โจทก์ว่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่ให้ทำงานก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองหรือไม่
++ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแก่จำเลยทั้งสองและขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาดังกล่าวเป็นค่าปรับและค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นแก่โจทก์จากการที่โจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง มิใช่เรื่องที่ผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานเรียกเอาคืนซึ่งเงินทดรองที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (17) ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
++ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 กันยายน 2537จึงยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องตามสัญญา คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
++
++ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการที่ 2 มีว่าค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคา 1,429,200 บาท สูงเกินไปหรือไม่
++ พยานโจทก์มีนายณรงค์ ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี เบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่าในการว่าจ้างผู้อื่นมาดำเนินการก่อสร้างแทนจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการโดยวิธีพิเศษและมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบเพราะมีความจำเป็นต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อเด็กนักเรียนจะได้ใช้เป็นอาคารเรียนและเบิกความตอบทนายความโจทก์ถามติงว่า ช่วงที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างนั้น ภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นเริ่มผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคาก็ยังสูงอยู่ และนายสุรพลประเสริฐชัยกุล หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเบิกความว่า ช่วงที่พยานเข้าทำสัญญากับโจทก์ ราคาวัสดุก่อสร้างสูงกว่าราคาเมื่อต้นปี 2532 ประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 และในช่วงปี 2533วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นยังขาดแคลนอยู่บ้าง และเบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่า วัสดุก่อสร้างขาดแคลนถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาและมีมติให้ปรับราคาค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากสัญญาที่ตกลงกันไว้ด้วย
++ ส่วนนายสุรพล ชัยสดมภ์ ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายความโจทก์ถามค้านว่า ในช่วงปี 2538 วัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย จำเลยทั้งสองรับเหมาก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ในราคาต่ำกว่าที่โจทก์ว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัด เนื่องจากขณะนั้นไม่มีผู้ใดรับเหมาและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองช่วยรับเหมา
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อจำเลยทั้งสองยอมรับว่าตกลงรับจ้างเหมาจากโจทก์ในราคาต่ำกว่าปกติ และขณะนั้นไม่มีผู้ใดยอมรับเหมา ประกอบกับเมื่อปี 2535 ในช่วงที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง แม้ภาวะขาดแคลนวัสดุก่อสร้างจะผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคายังสูงอยู่ จึงไม่อาจนำราคาที่จ้างเหมาจำเลยทั้งสองมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างได้ ส่วนค่าว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัดเมื่อปี 2538 แม้จะมีราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง ก็เนื่องจากในขณะนั้นวัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย ภาวะการตลาดย่อมแตกต่างกัน และคำเบิกความของนายสุรพลในเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างมิได้สับสนดังจำเลยทั้งสองอ้างจึงไม่อาจนำค่าว่าจ้างดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างมิใช่กรณีตามปกติ แต่เป็นการว่าจ้างด้วยวิธีพิเศษต้องดำเนินงานต่อจากผู้รับเหมาเดิมซึ่งละทิ้งงาน 2 งวดเดิมไว้ และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ย่อมต้องมีราคาสูงขึ้น
++ ประกอบกับในการตกลงว่าจ้างก็ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการโจทก์ด้วยแล้ว และเมื่อพิจารณารายละเอียดในใบเสนอราคาเกี่ยวกับบัญชีปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.33 และจ.34 ราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างจึงมิได้สูงเกินไปดังจำเลยทั้งสองอ้าง แต่เหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
++ ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างในราคาตามอำเภอใจเพื่อให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าปรับรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามที่โจทก์ขยายเวลาให้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน นอกจากนั้นในวรรคท้ายของสัญญาข้อ 19 ดังกล่าวยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างเห็นว่าจำเลยทั้งสองผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย
++ ซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายใดบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองหากโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาจ้างเหมาข้อ 19และข้อ 20 ดังกล่าว
++ เห็นได้ว่า หากจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นหากโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยทั้งสองตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายได้อีกด้วย
++ ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง
++ ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของพยานโจทก์ คือ นายณรงค์ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุของโจทก์ประกอบหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.15 ว่า ก่อนที่โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนี้ย่อมถือได้ว่า การสงวนสิทธิเรียกค่าปรับดังกล่าวเป็นการที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว
++ เพราะปรากฏตามคำเบิกความของนายณรงค์พยานโจทก์ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง
++ ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ได้
++ อย่างไรก็ดี ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า สัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 มีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 จ้างเหมากันในราคา 1,036,000 บาทตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทงวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3 เป็นเงิน 486,000 บาทเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วัน โจทก์อนุมัติ ต่อมาวันที่ 19 เมษายน 2533 จำเลยที่ 1ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์ คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1เป็นเงิน 250,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1 ขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปอีก180 วัน โจทก์อนุมัติและกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 16 ธันวาคม 2533
++ หลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสามมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่ขยายให้ได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 จากนั้นวันที่ 22มิถุนายน 2535 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเข้าดำเนินการก่อสร้างที่ค้างอยู่ในราคา 1,439,200 บาท
++ ดังนี้ เห็นได้ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ครั้งสุดท้ายเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ โจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ดังกล่าวแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุผลสมควรที่แสดงให้เห็นถึงเหตุที่ต้องล่าช้าในการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างให้เข้าดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ค้างอยู่ในงวดที่ 2 และที่ 3ความล่าช้าดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์เองรวมอยู่ด้วยแม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมายจ.3 ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อจากจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่เงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 19 (1) และเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 20 (2)ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่ง และ 383 วรรคหนึ่ง
++ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 2 และที่ 3 ที่ค้างอยู่ตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ถึงเกือบเท่าตัวประกอบกับเหตุแห่งความล่าช้าของโจทก์ในการดำเนินงานของโจทก์เองแล้ว เห็นว่า เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั้นมีจำนวนสูงพอสมควรแล้วไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) ให้โจทก์อีก
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์จะต้องนำเงินประกันตามสัญญาที่โจทก์รับไว้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
++ เห็นว่า หลักประกันดังกล่าวเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งจำเลยทั้งสองนำมามอบแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 3โดยธนาคารจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น หากจำเลยทั้งสองพ้นจากความรับผิดตามสัญญาแล้ว โจทก์จะต้องคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งมอบไว้เป็นหลักประกันแก่จำเลยทั้งสอง
++ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาและโจทก์ริบหลักประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแก่โจทก์จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ มิใช่ว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20 (1) จึงไม่อาจนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหาย ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการนำส่งเอกสารอุทธรณ์ล่าช้าและการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา70 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา174 (2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132 (1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริง ก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่
แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายในกำหนดเวลาสิบปี: การดำเนินการขอให้บังคับคดีถือเป็นไปตามกฎหมาย แม้การบังคับคดีจะล่าช้า
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12พฤศจิกายน 2528 การที่โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน 2538 โดยโจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันเดียวกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของคณะกรรมการตรวจรับและผู้เบิกจ่ายเงิน กรณีผู้รับเหมาส่งมอบงานล่าช้าและประมาทเลินเล่อ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาโดยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์ช้ากว่าวันเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องถูกปรับตามสัญญาข้อ 10 รวมเป็นเงิน ค่าปรับทั้งสิ้น 268,056 บาท มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดแต่เพียงอย่างเดียว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคท้ายที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" นั้น หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องทราบว่ามีการผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาหรือใบสั่งซื้อแล้วยังยินยอมที่จะรับเอายางแอสฟัลต์นั้นไว้โดยไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิ โจทก์จึงจะหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จากจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเอกสารให้เห็นเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่ง ยางแอสฟัลต์ ให้แก่โจทก์ตามกำหนด กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับ ตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5กระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นคดีต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในข้อเท็จจริงแล้ว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกา ต่อมา แม้ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาข้อเท็จจริงมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทราบว่าจำเลยที่ 1 ส่งของล่าช้า แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสิ่งของล่าช้าในทันทีตามหน้าที่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ แม้จะไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการส่งของล่าช้าหรือมีหน้าที่ในการบอก สงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องตรวจรับยางแอสฟัลต์ให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายทุกประการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จะต้องบันทึกแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออย่างน้อยก็จะต้อง บันทึกแจ้งเหตุไว้ให้ปรากฏเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจะได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกค่าปรับ จากจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่ได้บันทึก แจ้งเหตุไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้นถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมา ในฟ้องแล้ว หาใช่เป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จำเลยที่ 5 เป็นผู้อำนวยการกองการบัญชีและการเงินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยังส่งยางแอสฟัลต์ไม่ครบได้แจ้งกองการพัสดุให้ระงับการคืนหลักประกันของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน จำเลยที่ 5 จึงชอบที่จะระงับหรือชะลอการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน การที่จำเลยที่ 5 ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว หาใช่เป็นผลที่ไกลเกินกว่าเหตุ หรือมิใช่เป็นผลโดยตรงไม่ และจำเลยที่ 5 ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการนัดจ่ายเงินเหลือปีงบประมาณ จะต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้ เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกานั้นเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 แต่เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วม คนหนึ่งได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้วจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการใช้สิทธิยื่นฎีกานี้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงไม่ถูกต้อง สมควรสั่งให้คืนเงิน ค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดก: เหตุผลที่ศาลอาจไม่ถอนผู้จัดการมรดก แม้จะล่าช้าในการทำบัญชีทรัพย์สิน
แม้ทรัพย์มรดกบางอย่าง เช่น ที่ดินจะมีการเปลี่ยนชื่อจากชื่อของเจ้ามรดกที่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่มาเป็นชื่อผู้ร้องก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้ามรดกในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกไม่ได้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องแต่อย่างใด การมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกก็เท่ากับมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคนของเจ้ามรดก พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปกปิดหรือเบียดบังทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกส่วนทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดกผู้ร้องก็ได้ต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นแบ่งปันมรดกผู้คัดค้านจะยกเอาเหตุดังกล่าวข้างต้นทั้งสองกรณีมาเป็นเหตุร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกไม่ได้ การที่ผู้ร้องมีเอกสารถึง ว. ให้จดทะเบียนโอนหุ้นของบริษัทที่เจ้ามรดกมีหุ้นอยู่ทั้งหมดและจัดการรวบรวมที่ดินที่มีชื่อของเจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมมาเป็นชื่อของผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกการดำเนินการดังกล่าวถือว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก ของเจ้ามรดกได้ดำเนินการรวบรวมทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเพื่อ แบ่งปันแก่ทายาทของเจ้ามรดกทุกคนภายในเวลาที่กฎหมาย กำหนดแล้วแม้จะยังรวบรวมไม่เสร็จก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องละเลยไม่ยอมดำเนินการรวบรวมทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมาแบ่งปันแก่ทายาท ผู้ร้องไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1728(2) และ 1729 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องก็นำสืบได้ถึงเหตุที่ไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นว่าไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต หรือความไม่สามารถ อันเห็นประจักษ์ของผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้บังคับให้ต้องถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกทำการรวบรวมทรัพย์มรดกต่อไปและผู้คัดค้านเป็นบุคคลผู้สูงอายุมากแล้ว จึงไม่ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นขอชำระภาษีล่าช้าและสิทธิในการหักค่าใช้จ่าย: หลักเกณฑ์และขอบเขต
ปัญหาว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรตามประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แล้วทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่จำเลยที่ 1หรือไม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเพื่อเพิ่มเติมปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นประเด็นในศาลภาษีอากรกลางแม้ศาลภาษีอากรกลางได้ยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ไปแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539กระทรวงการคลังได้มีประกาศ เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากรเพื่อให้โอกาสผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนได้ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรให้ถูกต้องตามแบบชำระภาษีอากรที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และโจทก์ได้ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวแล้ว คดีจึงมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในคดีนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการ ชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 2 นั้น ผู้ยื่นขอ ชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังจะได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเฉพาะภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือนำส่งนั้นเท่านั้นแต่ในกรณีของโจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับการประเมินภาษีในปี 2528(ครึ่งปี) และปี 2529(ครึ่งปี) และสำหรับปี 2529 คงเรียกเก็บเบี้ยปรับร้อยละ50 ส่วนเงินเพิ่มเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์จึงเป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากภาษีอากรที่โจทก์ยังคงยื่นเสียไว้ไม่ครบถ้วนจากการที่โจทก์ยื่นขอชำระภาษีไว้ดังกล่าวแล้วหาใช่เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไม่ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(5) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2520 มาตรา 4 การประกอบกิจการของโจทก์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70แต่ถ้าโจทก์แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นมีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)เงินได้พึงประเมินของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้วจึงเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 48 ดังนั้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ต้องเริ่มมาจากเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักออก มิใช่คำนวณมาจากกำไรสุทธิ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มาหัก แต่จะหักตามความจำเป็นและสมควร โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ การที่โจทก์นำสืบอ้างว่าโจทก์มีกำไรจากการประกอบกิจการร้อยละ 10 นั้น ไม่เพียงพอจะถือว่ากำไรร้อยละ 10 ของโจทก์นั้นเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณเสียภาษี เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ารายได้ทั้งหมดของโจทก์จะต้องมีรายจ่ายที่จะหักได้ตามกฎหมาย เป็นอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด โจทก์ต้องการให้หักค่าใช้จ่ายอีกเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้เท่าที่ตรวจพบจึงเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน, การกำหนดค่าทดแทนที่ดิน, และดอกเบี้ยกรณีเวนคืนล่าช้า
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
การดำเนินการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530 อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่องปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 โดย พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย รวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืน อันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ. 2530 มีราคาตารางวาเท่าใด ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็น โดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21
ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคสาม มาตรา 10 วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2532 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้น ต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9538/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ล่าช้าและการเพิกเฉยคดี: ศาลฎีกาพิจารณาว่าโจทก์มิได้ทิ้งอุทธรณ์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 ทนายโจทก์มอบฉันทะให้ อ.เสมียนทนายนำอุทธรณ์ของโจทก์มายื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ทำคำแถลง ชำระค่าธรรมเนียมและรับทราบคำสั่งศาลแทน เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาได้ใช้ตรายางประทับไว้ที่ริมซ้ายของอุทธรณ์ว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว และ อ.เสมียนทนายลงชื่อไว้แล้ว ต่อมาวันที่6 ตุลาคม 2537 อ.ได้ไปวางเงินเป็นค่านำหมายคำฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามไว้ล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อรับเงินและประทับตรายางวันเดือนปีไว้ตามเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่รายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 ว่า ศาลได้ส่งหมายนัดมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2537 บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้น ซึ่งไม่ตรงกับความจริง คงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับผู้แทนโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายนัดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสามไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ถึง 1 วัน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาหาได้ไม่ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุดล่าช้า: เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนมิอาจใช้แก้ตัวได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี2532เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการจำเลยและผู้รับเหมาของจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดีโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่9เมษายน2533เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน24เดือนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิดแต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้วจำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารขุดให้เสร็จภายใน24เดือนนับแต่วันทำสัญญาคือภายในวันที่9เมษายน2535โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่27มีนาคม2535ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ13วันและในเดือนมีนาคม2535นั้นจำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน2536ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ1ปี8เดือนดังนั้นแม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
of 10