พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ล่ามในการให้การสอบสวนของผู้เสียหาย ไม่ขัดต่อกฎหมาย
แม้คำร้องทุกข์และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายคนหนึ่งจะมีผู้เสียหายอีกคนหนึ่งเป็นล่ามแปล ก็เป็นคำร้องทุกข์และคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนใช้ผู้เสียหายเป็นล่าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสาบานตัวพยานและคุณสมบัติของล่ามในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ตามแบบพิมพ์คำให้การของ จ.พยานโจทก์ว่า พยานได้สาบานตัวแล้ว จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านในขณะที่พยานเบิกความว่า พยานไม่ได้สาบานตัวเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา กรณี จึงต้องฟังว่าพยานได้สาบานตัวก่อนเข้าเบิกความแล้ว
ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกไว้ในคำให้การพยานว่า ล่ามได้สาบานตนแล้วทั้งล่ามก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น อันเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 เมื่อพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่สุดในคดีเพียงปากเดียว ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกไว้ในคำให้การพยานว่า ล่ามได้สาบานตนแล้วทั้งล่ามก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น อันเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 เมื่อพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่สุดในคดีเพียงปากเดียว ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยานสำคัญต้องมีการสาบานตัวและใช้ล่ามตามกฎหมาย หากไม่ถูกต้อง ศาลต้องย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่
ตามแบบพิมพ์คำให้การของ จ.พยานโจทก์ว่า พยานได้สาบานตัวแล้ว จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านในขณะที่พยานเบิกความว่าพยานไม่ได้สาบานตัว เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา กรณี จึงต้องฟังว่าพยานได้สาบานตัวก่อนเข้าเบิกความแล้ว
ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกไว้ในคำให้การพยานว่า ล่ามได้สาบานตนแล้วทั้งล่ามก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นอันเป็น การขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 เมื่อพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่สุดในคดีเพียงปากเดียว ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกไว้ในคำให้การพยานว่า ล่ามได้สาบานตนแล้วทั้งล่ามก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นอันเป็น การขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 เมื่อพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่สุดในคดีเพียงปากเดียว ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10449/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานต่างด้าวผ่านล่ามต้องมีการสาบานตนของล่าม มิฉะนั้นกระบวนการสืบพยานไม่ชอบ
ผู้เสียหายทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเบิกความโดยไม่ปรากฏว่าล่ามได้สาบานหรือปฏิญาณตนแล้ว และไม่ปรากฏว่าผู้ที่ลงลายมือชื่อในคำให้การพยานในฐานะล่ามนั้นเป็นใคร การสืบพยานปากผู้เสียหายทั้งสามจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.อ. มาตรา 13 ชอบที่จะต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว และย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหายทั้งสามและพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18538/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยาน, การแปลคำเบิกความของพยานชาวต่างชาติ และบทบาทของล่าม
ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่...พยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย...และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่าม...ให้ถามตอบหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร" จากบทบัญญัติดังกล่าวบ่งชี้ว่า "ผู้ที่จะเป็นล่ามจะเป็นบุคคลใดก็ได้ที่มีความสามารถในการเป็นล่ามแต่จะต้องมิใช่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการหรือศาลซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการสอบสวนหรือซักถามพยานนั้น ได้ความว่าในการสอบสวน จ. และ ม. ผู้ทำการสอบสวนคือร้อยตำรวจตรี ค. ส่วนร้อยตำรวจโท ธ. ทำหน้าที่เป็นล่าม และในการที่ จ. เบิกความต่อศาล ร้อยตำรวจโท ธ. ก็เป็นเพียงล่าม ดังนี้ ร้อยตำรวจโท ธ. จึงเป็นเพียงล่ามที่พนักงานสอบสวน และศาลเป็นผู้จัดหาล่ามให้แก่ จ. และ ม. ตามกฎหมาย แม้ทนายจำเลยได้แถลงคัดค้านเรื่องที่ร้อยตำรวจโท ธ. เป็นล่ามดังกล่าวในวันสืบพยานโจทก์ แต่ทนายจำเลยก็มิได้แสดงเหตุแห่งคำคัดค้านว่าร้อยตำรวจโท ธ. เป็นล่ามแปลไม่ถูกต้องอย่างไร การที่ร้อยตำรวจโท ธ. ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลในชั้นสอบสวนจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังถ้อยคำของพยานที่แปลนั้นเป็นพยานหลักฐานแต่อย่างใด ส่วนการพิจารณาสืบพยานบุคคลปาก จ. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลนั้น ปรากฏว่าร้อยตำรวจโท ธ. ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามได้สาบานตนก่อนแปลคำเบิกความของ จ. ต่อศาลแล้ว การให้การและเบิกความของ จ. ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำสารภาพของจำเลยชาวเขาที่ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีล่ามแปลตามกฎหมาย หากไม่มี ถ้อยคำรับสารภาพนั้นใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
จำเลยเป็นชาวเขาเผ่าว้าไม่เข้าใจภาษาไทยและต้องสื่อสารกันด้วยภาษามือ กับจำเลยต้องเบิกความผ่านล่าม เชื่อว่าจำเลยไม่รู้และเข้าใจภาษาไทย การที่พันตำรวจโท ช. สอบปากคำจำเลยโดยไม่ได้จัดหาล่ามแปลให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 13 จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ ถ้อยคำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/4