คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้อมรั้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การล้อมรั้วเพื่อรักษาสิทธิเดิมระหว่างข้อพิพาท ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันผู้กระทำจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 นั้น ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมิได้มีสิทธิครอบครองหรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อน แล้วเกิดข้อพิพาทกันขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับสุขาภิบาล ว่าสิทธิครอบครองของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในที่พิพาทนี้ยังอยู่แก่จำเลยหรือว่าตกเป็นของสุขาภิบาลไปเสียแล้ว การที่จำเลยเข้าล้อมรั้วเพื่อครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่เกิดโต้แย้งสิทธิกันอยู่เช่นนี้ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้อมรั้วทับทางสาธารณะโดยเข้าใจผิดตามใบเหยียบย่ำ: จำเลยไม่มีความผิดหากสืบไม่ได้ว่ารู้ว่าเป็นทางสาธารณะ
แม้ทางพิพาทเป็นที่สาธารณะแต่อำเภอได้ออกใบเหยียบย่ำให้จำเลยคร่อมทางสาธารณะนี้ เมื่อจำเลยทำการล้อมรั้วในที่ดินของจำเลยตามใบเหยียบย่ำนั้นโดยทางเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินตามใบเหยียบย่ำและโจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยรู้มาก่อนว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะดังนี้จำเลยไม่มีความผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.336(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: การล้อมรั้วและการทำประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรื้อรั้วเก่าทำรั้วใหม่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินซึ่งโจทก์ครอบครองมาตั้ง 19 ปีแล้วโดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ล้อมรั้วครอบครองมาเป็นเวลาตั้ง 19 ปี และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้ขอให้ศาลแสดงว่าเขตต์ที่ดินของโจทก์ด้านติดต่อกับจำเลยมีตามแนวรั่วเดิมดังนี้ ถือว่าได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องตามเขตต์รั่วเดิมที่โจทก์ครอบครองมา ที่ดินที่เป็นที่บ้านและเป็นที่มีโฉนดแล้ว การที่ได้ล้อมรั้วครอบครองมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก็เป็นการครอบครองตามประมวลแพ่งฯแล้ว หาต้องทำประโยชน์อย่างอื่นอีกไม่
of 2