คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของพระภิกษุ: การตกเป็นของวัดตามกฎหมาย แม้ผู้ซื้อจะสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุ ส.ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ และพระภิกษุ ส.ไม่ได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือทำพินัยกรรมไว้เป็นอย่างอื่น ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ซึ่งเป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์พ.ศ.2505 มาตรา 34 ที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของพระภิกษุตกเป็นของวัดเมื่อมรณภาพ โจทก์ซื้อต่อจากผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุส. ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ และพระภิกษุส. ไม่ได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือทำพินัยกรรมไว้เป็นอย่างอื่น ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดซึ่ง เป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ดังนี้ไม่ว่าโจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: การครอบครองและสิทธิในที่ดินของวัด vs. เทศบาล
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้ว แม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรอง โดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมาย ล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11 ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย ล.1 และล.8 จึงรับฟังได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นธรณีสงฆ์ของวัด โจทก์ขอสิทธิครอบครองมิได้ การพัฒนาพื้นที่เป็นอำนาจหน้าที่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้วแม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตามแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรองโดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมายล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมายล.1 และ ล.8 จึงรับฟังได้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งสิทธิครอบครองที่ดินและข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินของวัด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวาอารามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับ จึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้ พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ พ. ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่า ใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรจัดการทรัพย์สินวัด: หนังสือมอบหมายและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ระบุว่า "ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้ง..และจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป. ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 8 จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่า นาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนาม และในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้
ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน การดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง นาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้ คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรในการจัดการทรัพย์สินวัดและอำนาจศาลในการตั้งผู้จัดการมรดกนอกพินัยกรรม
ไวยาวัจกรของวัดมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด การดำเนินคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกของพระภิกษุที่มรณภาพที่ตกแก่วัดเป็นการจัดการทรัพย์สินของวัดอย่างหนึ่งไวยาวัจกรย่อมมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีดังกล่าวได้ วัดผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของพระครู ส. และตั้ง ป. ในฐานะไวยาวัจกรของผู้คัดค้าน เป็นผู้จัดการมรดกด้วย ปรากฎว่าศาลได้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเท่านั้นส่วนทรัพย์นอกพินัยกรรมยังไม่มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกการที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลไปจัดการทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมอันตกได้แก่ผู้คัดค้านเป็นการกระทบสิทธิผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ได้โดยไม่ต้องไปยื่นคำร้องเป็นคดีใหม่ ศาลจึงมีอำนาจตั้ง ป. เป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์นอกพินัยกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์พระพุทธรูปในวัด ไม่เข้าข่ายทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาประชาชน ความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคหนึ่ง
พระพุทธรูปของกลางทั้ง7องค์ที่ถูกลักไปนั้นเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กเก็บรักษาอยู่ในตู้ของวัดแต่ไม่ปรากฏว่าเอาไว้ทำอะไรพระพุทธรูปของกลางจึงเป็นพระพุทธรูปธรรมดาเช่นพระพุทธรูปบูชาทั่วไปถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335ทวิวรรคหนึ่งเมื่อพระราชบัญญัติของกลางมิใช่ทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนแม้จำเลยที่4กับพวกจะลักพระพุทธรูปของกลางในวัดการกระทำของจำเลยที่4กับพวกก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา335วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645-5646/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินโต้แย้ง: เพิกถอนโฉนดที่ดินธรณีสงฆ์วัด โดยพิจารณาจากสภาพพื้นที่ การครอบครอง และประวัติวัด
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบและได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใดทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาลล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครองโดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้าซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบและโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินของวัดให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย และการไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
วัดโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา โดยใช้เป็นที่จัดงานประเพณีของวัด ขณะที่ไม่มีงานโจทก์ก็ใช้เป็นที่จอดรถของผู้มาจ่ายตลาดและโจทก์เป็นผู้ดูแลรักษาความสะอาด แต่ที่ดินพิพาทมีบ่อน้ำ 2 บ่อ บ่อหนึ่งเป็นวงเวียนให้รถขับอ้อม อีกบ่อหนึ่งอยู่ติดกำแพงวัด ราษฎรได้ช่วยกันสร้างป้อมตำรวจคร่อมบ่อน้ำดังกล่าวไว้ โดยเรี่ยไรเงินมาทำ ซึ่งต่อมาสุขาภิบาลจำเลยได้ให้งบประมาณมาเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทให้เป็นผืนเดียวกันกับถนนสาธารณะเพื่อใช้เป็นที่สัญจรและจอดรถ อันเป็นลักษณะยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายแล้ว วัดอุทิศที่ดินของวัดให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 หรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น
of 13