คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องอาศัยความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันฟ้อง การรับสารภาพหลังวันฟ้องจึงไม่เป็นความผิด
การฟ้องขอให้ลงโทษผู้ใด ต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นได้กระทำผิดมาแล้วก่อนวันเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้อง การที่โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นพิจารณาวินิจฉัยได้อีกทั้งการที่จำเลยรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด จึงพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องอาศัยการกระทำความผิดก่อนวันฟ้อง การรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด
การที่จะลงโทษจำเลยในคดีที่จำเลยรับสารภาพนั้นต้องอาศัยคำฟ้องและการจะฟ้องขอให้ลงโทษผู้ใดตามกฎหมายต้องเป็นเรื่องที่ผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง จะฟ้องล่วงหน้าว่าจำเลยกระทำความผิดหาได้ไม่ แม้จำเลยจะรับสารภาพก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิดและแม้จำเลยจะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุวันละเมิด หากการละเมิดยังต่อเนื่อง และโจทก์ขอค่าเสียหายเฉพาะหลังฟ้อง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1674 พร้อมห้องแถวไม้ชั้นเดียวจำนวน 2 ห้อง เลขที่249 และ 251 จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3052พร้อมห้องแถวไม้ชั้นเดียวเลขที่ 253 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ปรากฏว่าห้องแถวเลขที่ 253 และรั้วสังกะสีของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินเลขที่ 1674 ของโจทก์ รวมเนื้อที่รุกล้ำประมาณ 9ตารางเมตร โจทก์แจ้งให้จำเลยแก้ไขหลายครั้งหลายหนแต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์เสียหายแม้ว่าสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์จะเป็นเรื่องละเมิดก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า ห้องแถวไม้และรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ซึ่งตราบใดที่จำเลยยังไม่ยอมรื้อถอนห้องแถวไม้และรั้วส่วนที่รุกล้ำออกไปการละเมิดก็ยังคงมีต่อเนื่องกันตลอดมาอีกทั้งโจทก์ก็ขอเพียงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการขาดประโยชน์ นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนห้องแถวไม้และรั้วส่วนที่รุกล้ำเสร็จเท่านั้น หาได้เรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องคำฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้แม้จะมิได้บรรยายว่าเหตุละเมิดเกิดเมื่อใดก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่มีกรณีที่จำเลยจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถแท็กซี่ต่อการละเมิดของคนขับ และการคิดดอกเบี้ยจากวันฟ้อง
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีใจความเพียงว่า จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนในข้อหาขับขี่รถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสาระสำคัญแสดง การที่จำเลยที่ 1 เจรจาตกลงกับคนขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ในเรื่องการชำระค่าเสียหายให้ชัดแจ้งจึงไม่มีผลเป็นการประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ออกแล่นรับคนโดยสารในนามบริษัทจำเลยที่ 2 โดยเปิดเผย และโดยจำเลยที่ 2 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์และรอยตราของจำเลยที่ 2 สุจริตชนย่อมเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 เองพฤติการณ์ดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1เชิดตัวเองออกแสดงเป็นพนักงานหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ซึ่งจำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดในคดีนี้ตามมาตรา 427 โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายโดยตรงมิได้ จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทน โจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนไปในวันใด โจทก์จึงควรได้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวัน แต่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่16 สิงหาคม 2532 แต่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533ซึ่ง เป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคิดค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: เริ่มนับจากวันฟ้องหรือวันบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 40,200 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี ีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำตอนหนึ่งกับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 1,340 บาทจนกว่าจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จอีกตอนหนึ่งข้อความสองตอนดังกล่าวมีคำว่า 'กับ' (และ) เชื่อมประโยคอยู่เมื่อฟังรวมกันแล้วย่อมได้ความว่าโจทก์ขอให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายอีกวันละ 1,340 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: เริ่มนับจากวันฟ้องหรือวันบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 40,200 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำตอนหนึ่งกับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 1,340 บาท จนกว่าจะ รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จอีกตอนหนึ่งข้อความสองตอนดังกล่าวมีคำว่า 'กับ'(และ) เชื่อมประโยคอยู่เมื่อฟังรวมกันแล้วย่อมได้ความว่าโจทก์ขอให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายอีกวันละ 1,340 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะ รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้มูลละเมิด: การคำนวณดอกเบี้ยจากวันละเมิด/วันฟ้อง และการคิดดอกเบี้ยรายเดือน
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ฉะนั้น ค่าเสียหายคำนวณเป็นเงินก้อนจากวันละเมิดจนถึงวันฟ้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้ตั้งแต่วันละเมิดแต่ถ้าคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุมาไม่ชัดแจ้งว่า ให้จำเลยชำระตั้งแต่วันใดศาลอาจให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องก็ได้
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดด้วยการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา การคิดดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง
พฤติการณ์ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ด.ผู้กู้ ให้โจทก์ผู้ให้กู้ทำนา ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ด้วยการให้โจทก์ได้ทำนา จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้ โจทก์จะมีสิทธิทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนา และเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิติดตามเอาคืน ด. เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระดอกเบี้ย โดยไม่ยอมให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อนโจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1,3/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้: ศาลแยกจำนวนดอกเบี้ยออกจากต้นเงินได้ และคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
ผู้กู้ย่อมนำสืบได้ว่า ผู้ให้กู้เอาจำนวนดอกเบี้ยเกินอัตรามารวมเป็นต้นเงินในสัญญากู้ล่วงหน้าเป็นการผิดกฎหมายได้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เป็นโมฆะเพราะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้ และไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องได้มีการผิดนัด ลูกหนี้จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
of 4