คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันเกิดเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยมีข้อผิดพลาดเรื่องวันเกิดเหตุ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นการฟ้องล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสและกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก ปรากฏในบันทึกคำฟ้องของศาลว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 มิถุนายน 2524 อันเป็นวันภายหลังที่โจทก์ฟ้อง แต่ปรากฏตามบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายและคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2524 และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2524 จำเลยมอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยก็ยังได้ยื่นคำร้องยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของจำเลยทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ การที่ศาลบันทึกวันกระทำผิดของจำเลยผิดพลาดไปเป็นเรื่องของความพลั้งเผลอจึงหาใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้องไม่ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างของวันเกิดเหตุในฟ้องและคำเบิกความ ไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญ ศาลลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในวันที่ 4 มิถุนายน 2522 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดวันที่ 14 มิถุนายน 2522 ดังนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2522 มาตรา 5 บัญญัติว่ามิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับก่อนหลังของกฎหมาย: ผลของการใช้กฎหมายใหม่ก่อนวันเกิดเหตุ และความผิดตามกฎหมายเดิมที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2520 เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุที่ออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ลงวันที่ 18 มกราคม 2520 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2520 เป็นต้นไป เมื่อเหตุคดีนี้เกิดในวันที่ 19 เมษายน 2520 ซึ่งเป็นวันก่อนประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ในระหว่างที่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2520 ยังไม่มีผลใช้บังคับ การกระทำของจำเลยก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 20ทวิ แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษดังกล่าวโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัย: เริ่มนับจากวันเกิดเหตุวินาศภัย ไม่ใช่จากคำพิพากษา
รถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยได้ชนกับรถยนต์ของบริษัท ร. เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2517 โจทก์มาฟ้องคดีขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2521 พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัย ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 882 การที่โจทก์ได้ถูกบริษัท ร.ฟ้องและศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท ร.เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2520 นั้น ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยจะเพิ่งมาตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาดังกล่าวเพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นนับแต่วันวินาศภัยจึงจะนำอายุความตามมาตรา 168 มาใช้บังคับในกรณีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ – จำเลยอุทธรณ์วันเกิดเหตุต่างจากฟ้อง ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทำละเมิดโดยปล่อยกระบือของจำเลยให้ขวิดกระบือของโจทก์ขาหักในวันที่ 17 ตุลาคม 2517 ตรงตามที่กล่าวในฟ้อง จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าวันเกิดเหตุทำละเมิดเป็นวันอื่นนอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นฟังมา ข้อเท็จจริงจึงต่างกับฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิด: การคำนวณค่าเสียหายและดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุ
จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมื่อครั้งภริยาโจทก์มีชีวิตอยู่เป็นแม่บ้านจัดการบ้านเรือนด้วยตนเอง เมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ต้องจ้างคนทำงานแทน 2 คนโดยทำหน้าที่ซักผ้า ตักน้ำ ถางหญ้า คนหนึ่งทำครัวกวาดถู-บ้านอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค3 ประกอบด้วย มาตรา 1453
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างวันเกิดเหตุในฟ้อง ไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากจำเลยไม่หลงต่อสู้
ในคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าเกิดเหตุวันที่ 8 ธันวาคม 2513 แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดเหตุวันที่ 7 ธันวาคม 2513ก็จริง แต่ก็มิใช่เป็นข้อแตกต่างในสารสำคัญ เพราะวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 เท่านั้นและเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ก็จะยกฟ้องด้วยเหตุนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ามนุษย์และการบังคับข่มขืน ศาลฎีกาวินิจฉัยความถูกต้องของวันเกิดเหตุและพิพากษาลงโทษจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2512 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2513 ผู้เสียหายเบิกความว่า ในเดือนธันวาคม 2512 มีผู้มาชักชวนผู้เสียหายไปทำงานพาผู้เสียหายไปค้าง 2 คืน แล้วจำเลยก็มาชวนผู้เสียหายไปทำงานผู้เสียหายก็ไปกับจำเลยไปถึงบ้านจำเลยวันที่ 23 พฤษภาคม 2512 ต่อจากนั้นจำเลยก็บังคับให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีกับชายอื่นผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยก็นำผู้เสียหายไปขายให้บุคคลอื่น ดังนี้ เห็นชัดว่าผู้เสียหายเบิกความผิดไป ความจริงผู้เสียหายมาถึงบ้านจำเลยวันที่ 23 ธันวาคม 2512ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุที่ได้ความทางการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับฟ้อง
เมื่อการกระทำของจำเลยต่อผู้เสียหายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 และ 284. ย่อมถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุในคดีอาญา หากคำให้การชั้นสอบสวนสอดคล้องกับฟ้อง แม้ผู้เสียหายเบิกความไม่ตรงกัน
ในกรณีที่ผู้เสียหายเบิกความถึงวันที่ที่เกิดเหตุไม่ตรงกับในฟ้อง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำวันเกิดเหตุไม่ได้แน่นอน แต่ตามคำของผู้เสียหายว่าได้แจ้งความในวันเกิดเหตุและพนักงานสอบสวนจดคำให้การในวันรุ่งขึ้น เมื่อปรากฏว่าในคำให้การชั้นสอบสวน ผู้เสียหายให้การวันที่ที่เกิดเหตุตรงกับในฟ้อง ทั้งพยานโจทก์อีกผู้หนึ่งที่เบิกความว่าเกิดเหตุวันที่เท่าใดจำไม่ได้นั้น ก็ให้การไว้ในคำให้การชั้นสอบสวนถึงวันที่ที่เกิดเหตุตรงกับในฟ้อง เช่นนี้ ถือว่าทางพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุไม่ต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเกิดเหตุสำคัญในการพิพากษาคดีอาญา แม้ผู้เสียหายจำวันไม่ได้แต่คำให้การชั้นสอบสวนยืนยันฟ้อง
ในกรณีที่ผู้เสียหายเบิกความถึงวันที่ที่เกิดเหตุไม่ตรงกับในฟ้อง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำวันเกิดเหตุไม่ได้แน่นอน แต่ตามคำของผู้เสียหายว่าได้แจ้งความในวันเกิดเหตุและพนักงานสอบสวนจดคำให้การในวันรุ่งขึ้น เมื่อปรากฏว่าในคำให้การชั้นสอบสวนผู้เสียหายให้การวันที่ที่เกิดเหตุตรงกับในฟ้อง ทั้งพยานโจทก์อีกผู้หนึ่งที่เบิกความว่าเกิดเหตุวันที่เท่าใดจำไม่ได้นั้น ก็ให้การไว้ในคำให้การชั้นสอบสวนถึงวันที่ที่เกิดเหตุตรงกับในฟ้อง เช่นนี้ถือว่าทางพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุไม่ต่างกับฟ้อง
of 6