พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7592/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 ได้บัญญัติวิธีดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีของศาลแขวงไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 มาใช้บังคับได้ ศาลชั้นต้นบันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพ และคำพิพากษาในบันทึกฉบับเดียวกันและอ่านให้คู่ความฟังในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมทั้งโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ลงชื่อทราบไว้โดยไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้วจึงรับสารภาพ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลคำให้การจำเลยต่างด้าวโดยล่ามที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามมาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง
การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาขัดขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอรับรองฎีกาของจำเลยว่ากรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งรับฎีกาและการรับรองฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงความผิดละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นรับรองฎีกาของจำเลยได้ตามมาตรา 221 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอรับรองฎีกาของจำเลยว่ากรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจที่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันสุดท้ายของกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 บัญญัติว่า"ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดีในศาลแขวง แม้ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง แต่ต้องใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 กับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตามแต่เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับการที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากมิได้ระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายที่ต้องการอ้างอิงในการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกาขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 216,225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแขวง การใช้บทบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้เหตุเกิดที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นศาลชั้นต้น และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนและวันเปิดทำการของศาลแขวงในบางจังหวัด พ.ศ. 2500 มาตรา 18 บัญญัติว่า"ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีศาลแขวงหนึ่งศาล มีเขตอำนาจในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี" ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสุราษฎร์ธานีอีกหลายฉบับซึ่งได้กำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภออื่นนอกจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภอเกาะสมุยด้วย ดังนี้บทบัญญัติมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาใช้บังคับแก่คดีนี้มิได้และจะนำบทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากมาตรา 2แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 3 จะใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา" สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการและมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 ดังกล่าวบังคับคงมีเฉพาะท้องที่อำเภอไชยาอำเภอท่าฉางและอำเภอท่าชนะเท่านั้น จึงนำบทบัญญัติมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ที่ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอเกาะสมุย ได้ และมีปัญหาว่าคดีของโจทก์นี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงและศาลจังหวัด
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับเพื่อชำระหนี้เงินกู้การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กู้เงินจากโจทก์และไม่เคยรับเงินใดจากโจทก์เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เพื่อนำไปกู้เงินมิได้มีเจตนาให้มีผลผูกพันกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาและเป็นยุติแล้วจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181นั้น โจทก์จะต้องร้องขอภายใน 15 วันนับแต่วันศาลยกฟ้องมิใช่วันที่โจทก์ทราบคำสั่ง ปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โจทก์มายื่นคำร้องขอเมื่อวันที่12 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์อ้างในคำร้องว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จดวันนัดผิดและแจ้งให้ทนายโจทก์ทราบก็ไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะไม่ต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วัน