พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ดังนั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 1558 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะ และผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ว. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะ โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลอุทธรณ์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ต่อเมื่อมีบุคคลเข้าแทนที่ผู้มรณะก่อน และจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 , 44 การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งเรื่องการขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่และพิพากษาคดีไปจึงไม่ชอบ แต่เนื่องจากคดีนี้ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องขอเข้าเป็นผู้แทนจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนค่าธรรมเนียมศาลและค่าคำร้องที่ชำระเกินจำนวนที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยโดยมิได้สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ต่อมาเมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยชำระค่าคำร้องมา 200 บาท ซึ่งความจริงต้องชำระเพียง 40 บาท การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมและสั่งคืนค่าคำร้องที่เกิน 40 บาท ให้จำเลยเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 167 และตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ การนำเสนอข้อเท็จจริงต้องชอบด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ จึงไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมาย เพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยมิชอบ จำเลยจึงไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงนี้นำมาสู่ข้อกฎหมาย เพื่อยกขึ้นอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์และการดำเนินคดีไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ การที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งแล้ว และโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยทั้งสองไม่ได้การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งแล้ว และโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยทั้งสองไม่ได้การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคสาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293(ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า"คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4พฤษภาคม 2542 ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9657/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) กรณีเพิกถอนการขายทอดตลาด
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้เพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง จะยังไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดก็ตาม แต่ในขณะที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นฎีกาต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 นั้น ป.วิ.พ. ได้ถูกแก้ไข เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 แล้ว โดยมาตรา 296 วรรคสอง กำหนดให้ความในวรรคนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง กับวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เนื่องจากราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นอันต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9263/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามเวลาที่ฟ้องคดี, การวินิจฉัยนอกประเด็น, และการรับสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับและให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด..." โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วมาใช้บังคับแก่คดีของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมก่อนที่ได้เสร็จการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงเป็นการปฏิบัติตามป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับ หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณี การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาลแต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาของจำเลยที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริงย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับ หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณี การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาลแต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาของจำเลยที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริงย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา