พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง: มึนเมาในที่ทำงาน, ก้าวร้าว, ละทิ้งหน้าที่
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงาน พูดจาก้าวร้าวท้าทาย ส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไป เป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัย ทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท เสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชา และเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไป ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรงจากการมึนเมาและประพฤติตนไม่เหมาะสม
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงานพูดจาก้าวร้าวท้าทายส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไปเป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัยทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทเสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชาและเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไปถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้แต่งตั้งเป็นคู่กรณีและกรรมการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
นอกจากโจทก์ร้องเรียนในกรณีที่โจทก์ไม่ได้รับยศร้อยตำรวจเอกแล้ว ยังกล่าวหาผู้บังคับบัญชาชั้นสูงและจำเลยในฐานะอธิบดีกรมตำรวจว่าเป็นผู้ไม่อยู่ในศีลธรรมอันดีทำลายภาพพจน์ของกรมตำรวจให้เสื่อมทรามลงโจรผู้ร้ายชุกชุมก็ไม่มีความสามารถปราบปรามบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง หย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโจทก์แต่อย่างใดกรณีเช่นนี้จึงมีเหตุที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เห็นว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจึงชอบที่จำเลยแต่งตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์และไม่มีกฎหมายใดห้ามผู้บังคับบัญชาที่เป็นคู่กรณีตั้งผู้ใต้บังคับบัญชาสอบสวนคู่กรณีแต่อย่างใด
ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้แก่จำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 แม้พนักงานอัยการจะเป็นทนายแก้ต่างให้จำเลย
ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้แก่จำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 แม้พนักงานอัยการจะเป็นทนายแก้ต่างให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17582/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอแนะให้แบ่งซื้อพัสดุเกินอำนาจเพื่อหลีกเลี่ยงระเบียบ เป็นการทุจริตและผิดวินัยร้ายแรง
องค์การค้าของคุรุสภาโอนมาเป็นองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 โดยพนักงานยังคงได้รับเงินเดือนจากองค์การค้าของคุรุสภาไม่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน เมื่อ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ไม่ได้บัญญัติยกเว้นการนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้บังคับแก่กิจการของจำเลยที่ 1 ทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ก็ไม่ได้บัญญัติยกเว้นไม่ให้นำมาใช้บังคับแก่หน่วยงานอื่นใดของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ จำเลยที่ 1 จึงอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น จึงใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บังคับแก่จำเลยที่ 1 ในส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาได้
ตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการบริหารองค์การค้าของคุรุสภา พ.ศ.2503 กำหนดให้การสั่งซื้อสินค้าตามใบสั่งหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 10 ล้านบาท ลงมา ให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นผู้อนุมัติ แต่หากเกินกว่า 10 ล้านบาท ขึ้นไปถึง 20 ล้านบาท ให้ประธานกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นผู้อนุมัติ โจทก์ทำงานด้านจัดซื้อมา 10 ปีเศษ การที่โจทก์เสนอให้แบ่งการจัดซื้อออกเป็นงวด ๆ เพื่อให้แต่ละงวดมีวงเงินไม่เกินอำนาจของผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา จนในที่สุดมีการอนุมัติตามที่โจทก์เสนอแนะ เป็นกรณีที่โจทก์มีเจตนาเสนอให้มีการหลีกเลี่ยงระเบียบคำสั่งเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งเป็นระเบียบที่ใช้เพื่อป้องกันความเสียหายด้านการเงิน ทั้งการกระทำของโจทก์เปิดช่องให้มีการทุจริตในการจัดซื้อได้โดยง่ายจึงเป็นการกระทำผิดวินัยเป็นกรณีที่ร้ายแรง โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้อง
ตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการบริหารองค์การค้าของคุรุสภา พ.ศ.2503 กำหนดให้การสั่งซื้อสินค้าตามใบสั่งหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 10 ล้านบาท ลงมา ให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นผู้อนุมัติ แต่หากเกินกว่า 10 ล้านบาท ขึ้นไปถึง 20 ล้านบาท ให้ประธานกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นผู้อนุมัติ โจทก์ทำงานด้านจัดซื้อมา 10 ปีเศษ การที่โจทก์เสนอให้แบ่งการจัดซื้อออกเป็นงวด ๆ เพื่อให้แต่ละงวดมีวงเงินไม่เกินอำนาจของผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา จนในที่สุดมีการอนุมัติตามที่โจทก์เสนอแนะ เป็นกรณีที่โจทก์มีเจตนาเสนอให้มีการหลีกเลี่ยงระเบียบคำสั่งเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งเป็นระเบียบที่ใช้เพื่อป้องกันความเสียหายด้านการเงิน ทั้งการกระทำของโจทก์เปิดช่องให้มีการทุจริตในการจัดซื้อได้โดยง่ายจึงเป็นการกระทำผิดวินัยเป็นกรณีที่ร้ายแรง โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13524/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ - ความผิดทางวินัยร้ายแรง - การนำเงินค่าไฟฟ้าไปฝากบัญชี
โจทก์เป็นพนักงานการเงินของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่เก็บเงินค่าไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้า แต่ไม่ดำเนินการนำเงินค่าไฟฟ้าที่เก็บมาได้ฝากเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคารด้วยตนเอง ให้ถูกต้องตามระเบียบการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยสูญเสียรายได้ในกิจการไป ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของนายจ้าง และเป็นความผิดทางวินัยกรณีที่ร้ายแรง จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างหรือมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงาน โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6943/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง และการปฏิบัติอันเป็นวินัยร้ายแรง ทำให้สิทธิในการได้รับบำเหน็จสิ้นสุดลง
โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำงานในห้องศูนย์บริการลูกค้าขององค์การ ร. ได้รับโทรศัพท์ว่าจ้างงานจากบริษัท อ. แล้วมิได้ส่งงานต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบขององค์การ ร. แต่กลับส่งงานที่รับไว้ให้สหกรณ์ ค. อันเป็นหน่วยงานอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าเช่นเดียวกับองค์การ ร. และโจทก์มีหุ้นอยู่ในสหกรณ์ ค. ด้วยจึงเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำเนินงานขององค์การ ร. อย่างร้ายแรง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงต่อองค์การ ร. ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์การ ร.