คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยนอกประเด็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7197/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องสินสมรส: การให้การไม่ชัดเจนทำให้ศาลไม่ถือว่าเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยให้การเพียงว่า พ.ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนเนื้อที่ 1 งานในโฉนดเลขที่ 4866 ให้แก่ ย.สามีจำเลย และที่ดินดังกล่าวต่อมาทำการแบ่งแยกเป็นที่ดินพิพาทแปลงโฉนดเลขที่ 10442 จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ย.และจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจาก พ.หรือที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ย.และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันที่จำเลยให้การว่า ย.ซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ก็ได้ความว่าย.อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยภายหลัง ป.พ.พ.บรรพ 5 ใช้บังคับ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส ย.กับจำเลยจึงไม่ใช่สามีภริยากันตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ใช่การกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากันถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ย.ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นฟ้องเคลือบคลุมและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกคำอุทธรณ์ของศาลอุทธรณ์ และการพิจารณาความเสียหายจากการยึดทรัพย์
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ และการไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยหากไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
ปัญหาว่าเอกสารใดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9263/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามเวลาที่ฟ้องคดี, การวินิจฉัยนอกประเด็น, และการรับสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับและให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด..." โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วมาใช้บังคับแก่คดีของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมก่อนที่ได้เสร็จการสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงเป็นการปฏิบัติตามป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับ หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณี การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาลแต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาของจำเลยที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริงย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน และการรับฟังพยานหลักฐานของศาล
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า เงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่ายเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540 ส่วนที่ขาดอีกครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน40,582 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ที่จำเลยกำหนด โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสครึ่งปีหลังของปี2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน
ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ. โดยยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของ อ. ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาล และหมายเอกสารดังกล่าวไว้ แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยานเอกสารดังกล่าวโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็ตามแต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย ล.7 และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จึงรับฟังเอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะการที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ จะเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุแห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่โจทก์เรียกเงินจากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวนกี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณาคำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและประเด็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลฎีกายกประเด็นสุจริตเนื่องจากไม่ได้กำหนดในชั้นชี้สองสถาน
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิครอบครองก่อนโอนกรรมสิทธิ์ & ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเรื่องปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินพิพาทรุกล้ำโดยสุจริต และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ นอกจากนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นที่ดินของโจทก์เพียงแต่จำเลยมีสิทธิเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนได้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่มีที่ดินส่วนใดที่เป็นของจำเลยกรณีจึงไม่อาจปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4และมาตรา 1312 วรรคหนึ่ง ได้ ดังนี้ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวให้ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นในเรื่องความสุจริตตามบทมาตราดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเข้าไปถมที่ดินและปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยโจทก์ก็ทราบและไม่ได้คัดค้าน การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยได้เพราะการแบ่งแยกไม่เสร็จ จำเลยจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและกรณีไม่จำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเพราะสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดไว้ ดังนั้นโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องไปบังคับแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทจำกัด: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความแถลงร่วมกันเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าคำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในประเด็นที่ยกขึ้นต่อสู้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 หรือไม่นั้นไม่เป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยวินิจฉัยว่า คำให้การของจำเลยขัดแย้งกันเอง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับจากการผิดสัญญาและการวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญา รับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลย ที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่า ที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทน ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้าย ที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรค ในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงาน แก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมาก จนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์ และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การ ถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึง กรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลงและเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้าง ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหา ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงิน ค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกา ต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิด ต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
of 10