พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6039/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยภารจำยอมเกินขอบเขตประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำดินถมลำรางสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างตึกแถว โดยชายคาตึกแถวรุกล้ำลำรางสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์เสียหายนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าร่องน้ำพิพาทเป็นภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความแต่อย่างใดเมื่อจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธว่าร่องน้ำพิพาทมิใช่ลำรางสาธารณประโยชน์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าร่องน้ำพิพาทเป็นภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องภารจำยอมขึ้นวินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาทเป็นภารจำยอม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องเรื่องตัวแทนเชิด และข้อจำกัดการฎีกาฟ้องขับไล่
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างใดและที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามยินยอมแสดงออกยอมรับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการกิจการเข้าหุ้นส่วนกันนั้น ก็มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จำเลยทั้งสามเข้าหุ้นส่วนกันนั้นเท่านั้นมิได้หมายความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3อีกด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามมิได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทนั้นจากโจทก์ครบถ้วนแล้วจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55, 142, 142(5), 246, 247
แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือจะต้องเป็นไปโดยชอบตามที่อ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้บุคคลที่สาม นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มี โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากบุคคลที่สามที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาทที่กำหนด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือจะต้องเป็นไปโดยชอบตามที่อ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้บุคคลที่สาม นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มี โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากบุคคลที่สามที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาทที่กำหนด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบ: นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับเช็คเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้
แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือจะต้องเป็นไปโดยชอบตามที่อ้างเมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้บุคคลที่สามนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มี โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากบุคคลที่สามที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาทที่กำหนด ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบเท่านั้นในการวินิจฉัยอำนาจฟ้อง
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามมาตรา 142(5)ไม่ได้ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ชายตลิ่งหรือไม่ศาลไปเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทเป็นไปตามที่โจทก์จำเลยนำสืบต่อสู้ในประเด็นว่าฝ่ายใดครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากการเดินเผชิญสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ชายตลิ่ง จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ที่ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ชายตลิ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าสัญญาขายฝากที่ดิน ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานก็มิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ฉะนั้นที่โจทก์จำเลยนำสืบถึงปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องและคำให้การ ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงแห่งคดี แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลอาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีเองได้ แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่มิได้เกิดจากข้อเท็จจริงในประเด็นในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ไม่สมควรที่จะยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องและนอกประเด็นแห่งคดี ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินขอบเขตที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็น
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยโดยอ้างว่ามีเหตุที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง อยู่ต่อไป และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า สัญญาเข้าหุ้นส่วนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินกิจการของหุ้นส่วนตามที่ตกลงกัน ทำให้กิจการของหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น และการพิพากษาคดีหุ้นส่วนที่มิได้ยกเหตุเลิกสัญญา
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยโดยอ้างว่ามีเหตุที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไป และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า สัญญาเข้าหุ้นส่วนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินกิจการของหุ้นส่วนตามที่ตกลงกัน ทำให้กิจการของหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการต่อสู้คดีภารจำยอม การวินิจฉัยนอกคำฟ้อง และประเด็นฟ้องซ้ำ
จำเลยให้การว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภารจำยอมเพราะไม่เคยมีใครใช้ ทางดังกล่าว คำให้การของจำเลยย่อมมีความหมายไปถึง ว่าไม่ใช่ทางภารจำยอมแม้แต่ วาเดียว หรือศอกเดียว ไปด้วย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปถึง ว่าความกว้างยาวของทางภารจำยอมมีขนาดไหนจึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การของจำเลยแล้วไม่ใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิม โจทก์ได้ใช้ ที่ดินของจำเลยดังกล่าวส่วนหนึ่งมีขนาดกว้าง 2 วา ยาว 10 วา ใช้ เป็นทางเดินเข้าออกของที่ดินโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะเป็นระยะเวลาติดต่อ กันประมาณ35 ปีแล้ว โดย สงบ โดย เปิดเผย มีเจตนาให้ได้ ทางภารจำยอม เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าโจทก์ได้ ภารจำยอมโดย อายุความ คดีก่อนประเด็นพิพาทมีว่า จำเลยสละการครอบครองที่พิพาทแล้วหรือไม่ ทั้งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยยังครอบครองที่พิพาทไม่ได้สละการครอบครองโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมซึ่ง มีประเด็นต่าง กันและเหตุที่วินิจฉัยก็ต่าง กัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การฟ้องก่อนเกิดข้อพิพาทจริง และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2526 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 10ตุลาคม 2526 ดังนี้ ขณะฟ้องยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง