พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำครอบครองปรปักษ์: ประเด็นเดิม วินิจฉัยแล้ว ถึงที่สุด
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่เหตุที่อาศัยเป็นหลักแหล่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของและฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีซึ่งหมายความว่าฟังไม่ได้ว่าการครอบครองของผู้ร้องตั้งแต่ปี2508จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่29พฤศจิกายน2531เป็นการครอบครองปรปักษ์ดังนี้การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี2518จนถึงวันยืนคำร้องขอคดีนี้คือวันที่25มิถุนายน2533เป็นเวลาเกิน10ปีแล้วจึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)คู่ความหมายความว่าบุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลดังนี้เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลผู้ร้องก็คือคู่ความนั่นเองและเมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนคดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้ไม่จำต้องมีผู้คัดค้านในคดีก่อนจึงจะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีพิพาทที่ดิน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากประเด็นข้อพิพาทถูกวินิจฉัยแล้วในคดีอื่น
ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่1123/2534ที่จำเลยทั้งสองคดีนี้ฟ้องให้ขับไล่โจทก์เป็นจำเลยในคดีหลังมีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยทั้งสองคดีนี้ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่1123/2534ของศาลชั้นต้นก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้วกรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นเดียวกันเคยถูกวินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้อง
จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้ออกจากที่ดินพิพาทต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมว่า โจทก์ตกลงเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลย จำเลยตกลงให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืน หากไม่ซื้อภายในกำหนดยอมออกไปจากที่ดินพิพาทหากผิดสัญญายินยอมให้โจทก์บังคับคดีโดยจำเลยยอมออกจากที่ดินพิพาทคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเจตนาไม่ขายที่ดินพิพาท ขอให้ยกเลิกหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าตามสัญญา ยกคำร้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นนั้นอีก เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอให้พิจารณาคำร้องซ้ำ เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วและมีสิทธิอุทธรณ์ได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นไปโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องของจำเลยแล้วจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของจำเลยดังกล่าวใหม่ กรณีเช่นนี้หาได้มีบทกฎหมายรับรองให้จำเลยมีสิทธิจะกระทำได้ไม่ เพราะมิใช่การขาดนัดพิจารณาซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา197 วรรคสอง, 207 และ 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร? ศาลยกฟ้องเมื่อประเด็นเคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนมีประเด็นว่า พินัยกรรมที่ น. ทำขึ้นสมบูรณ์หรือไม่และทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง (โจทก์ในคดีก่อน) หรือเป็นของข. (จำเลยในคดีก่อน) ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนว่าพินัยกรรมดังกล่าวทำขึ้นโดยชอบ และทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง(โจทก์ในคดีก่อน) คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้สืบสิทธิของ ข. (จำเลยในคดีก่อน) จะกลับมาฟ้องใหม่ว่าทรัพย์พิพาทเป็นของภริยาเดิมของ น.ซึ่งเป็นมรดกตกทอดแก่ ข.มารดาของโจทก์ทั้งสามเมื่อ ข.ถึงแก่ความตายทรัพย์พิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสามย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เพราะประเด็นในคดีก่อนและคดีหลังก็คือทรัพย์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเดิมผู้ร้องทั้งสองฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่ารับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4754,4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 35,37,39 ที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมอยู่กับจำเลยในคดีนี้โดยไม่สุจริต ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวแต่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่จำนองแต่ผู้เดียว เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าทรัพย์สินที่จำนองมิใช่ของผู้ร้องทั้งสองการที่ผู้ร้องทั้งสองมาร้องขัดทรัพย์ ในคดีนี้ขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 37,39 เป็นของผู้ร้องทั้งสองตามลำดับ จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีเดิม การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยประเด็นแล้ว การฟ้องคดีใหม่ในประเด็นเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำแม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และโจทก์ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยแล้ว การฟ้องคดีใหม่ประเด็นเดิมถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำแม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และโจทก์ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นค่านายหน้าที่เคยถูกวินิจฉัยในคดีก่อนแล้ว ไม่อาจฟ้องใหม่ได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ตามสัญญาตั้งตัวแทน ต่อมาบริษัท ส.บอกเลิกสัญญาและฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ให้ชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการเป็นตัวแทน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ต่อสู้คดีหลายข้อ ข้อหนึ่งต่อสู้ว่า บริษัท ส.ยังไม่ได้คิดบัญชีค่านายหน้าและชำระค่านายหน้าให้ ในคดีดังกล่าว บริษัท ส. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.คิดบัญชีแล้วหักค่านายหน้าและค่าป่วยการอื่นๆ จากจำนวนหนี้ที่ฟ้อง ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.จึงมาฟ้องเรียกค่านายหน้าตามสัญญาตั้งตัวแทนฉบับเดิม โดยอ้างว่า เพิ่งรู้ว่ายังมีค่านายหน้าอีกจำนวนหนึ่งซึ่งบริษัท ส.ต้องชำระให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ตามสัญญาดังกล่าว ดังนี้ แสดงว่าสิทธิเรียกค่านายหน้ากันได้หรือไม่เป็นจำนวนเท่าใด เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับประเด็นซึ่งได้วินิจฉัยถึงที่สุดไปแล้วในคดีก่อนเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีค่านายหน้าถูกวินิจฉัยแล้วในคดีก่อน แม้จะอ้างเพิ่งทราบภายหลังก็ยังเป็นฟ้องซ้ำ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัทส. ตามสัญญาตั้งตัวแทน ต่อมาบริษัท ส.บอกเลิกสัญญาและฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ให้ชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการเป็นตัวแทน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ต่อสู้คดีหลายข้อข้อหนึ่งต่อสู้ว่า บริษัท ส. ยังไม่ได้คิดบัญชีค่านายหน้าและชำระค่านายหน้าให้ในคดีดังกล่าว บริษัท ส. และห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ตกลงทำสัญญาประนีประยอมยอมความกันโดยให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร. คิดบัญชีแล้วหักค่านายหน้าและค่าป่วยการอื่น ๆ จากจำนวนหนี้ที่ฟ้อง ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. จึงมาฟ้องเรียกค่านายหน้าตามสัญญาตั้งตัวแทนฉบับเดิม โดยอ้างว่าเพิ่งรู้ว่ายังมีค่านายหน้าอีกจำนวนหนึ่งซึ่งบริษัท ส.ต้องชำระให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ตามสัญญาดังกล่าว ดังนี้ แสดงว่าสิทธิเรียกร้องค่านายหน้ากันได้หรือไม่เป็นจำนวนเท่าใด เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับประเด็นซึ่งไว้วินิจฉัยถึงที่สุดไปแล้วในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148