พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีตาม ม.293 ว.พ.พ. ต้องมีเหตุที่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้จริง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับมรดกของนางทองอยู่ภรรยาจำเลยซึ่งถึงแก่กรรม ซึ่งตามกฎหมายจำเลยไม่ต้องรับผิดเกินกว่ามรดกที่จำเลยจะพึงได้รับจึงมิใช่ลูกหนี้ในฐานะส่วนตัว ส่วนคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ เป็นเรื่องที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ในฐานะส่วนตัวรับผิดฐานละเมิด ซึ่งหากจำเลยชนะคดีก็ไม่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขใบแต่งทนายความหลังยื่นฟ้อง ผลต่อการสมบูรณ์ของอำนาจฟ้อง และการใช้ดุลยพินิจของศาลตามมาตรา 66 ว.พ.พ.
ทนายความของบริษัทโจทก์เป็นผู้ลงนามเป็นโจทก์ในคำฟ้องแต่ใบแต่งทนายความลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจตามที่จดทะเบียนไว้ จำเลยยื่นคำให้การคัดค้านอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว ครั้นสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเสร็จ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ลงนามกรรมการ 2 นายและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ถูกต้องตามที่ได้จดทะเบียนไว้ ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจสั่งรับใบแต่งทนายความใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 66 และเนื่องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าศาลจะมีคำสั่งได้ภายในเมื่อใด ศาลจึงสั่งรับใบแต่งทนายความใหม่ภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วก็ได้ ทั้งการที่มาตรานี้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสอบสวนถึงอำนาจฟ้องได้ ก็ย่อมเป็นเวลาภายหลังยื่นฟ้องแล้ว เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือำนาจฟ้องบกพร่อง แต่ศาลไม่ใช่อำนาจยกฟ้องโดยสั่งให้โจทก์แก้ไขอำนาจฟ้องให้สมบูรณ์หรือยอมรับการแก้ไขอำนาจฟ้องให้สมบูรณ์ ก็ย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์นั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก เพราะมิฉะนั้นแล้วก็เท่ากับให้ศาลใช้อำนาจยกฟ้องอย่างเดียว ถ้อยคำที่ว่า "หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม"ก็จะไม่มีความหมายอะไรไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องเดิม: ประเด็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 ว.พ.พ.
โจทก์ฟ้องจำเลยในประเด็นอย่างเดียวกับคดีที่จำเลยเคยฟ้องโจทก์และศาลได้พิพากษาแล้วเช่นนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(อ้างฎีกาที่ 1165/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ถือเป็นที่สุดตามมาตรา 236 ว.พ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 บัญญัติไว้ชัดว่า ในกรณีที่การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ก็ดี ให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณา และศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณา และศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นต่างกัน แม้เคยเป็นบริวาร ไม่ถือฟ้องซ้ำตามมาตรา 148(1) ว.พ.พ.
ชั้นบังคับคดีแพ่งคดีหนึ่งจำเลยเคยถูกศาลสั่งให้ขับไล่ให้ออกจากห้องเช่าโดยว่าเป็นบริวารนายงักย้งจำเลยในคดีแต่จำเลยได้ต่อสู้ว่าไม่ใช่ซึ่งศาลได้ไต่สวนแล้วสั่งว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของนายงักย้งแต่จำเลยได้เข้าอยู่อาศัยโดยเช่าจากโจทก์และสามีต่อมาโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยอีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะมีประเด็นคนละประเด็นเพราะในคดีก่อนประเด็นมีเพียงว่าจำเลยเป็นบริวารนายงักย้งหรือไม่ทั้งคดีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 ว.พ.พ. กรณีโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท 4,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าสามีโจทก์และโจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่พิพาทให้แก่จำเลยโจทก์จะฎีกาว่าเป็นการซื้อขายเด็ดขาด โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าได้ชำระเงินและรับเงินไปแล้ว ไม่ได้เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าสามีโจทก์และโจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่พิพาทให้แก่จำเลยโจทก์จะฎีกาว่าเป็นการซื้อขายเด็ดขาด โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าได้ชำระเงินและรับเงินไปแล้ว ไม่ได้เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 ว.พ.พ. เมื่ออ้างเหตุผลจากฟ้องอุทธรณ์โดยไม่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในฎีกา
คู่ความที่ฎีกากล่าวท้าวเหตุผลรายละเอียดตามฟ้องอุทธรณ์โดยขอให้ถือเอาเป็นส่วนหนึ่งแห่งฎีกาเช่นนี้ จะถือว่าเป็นการกล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งในฎีกาหาได้ไม่ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้เช่า vs. ผู้ครอบครอง: คดีขับไล่และการบังคับใช้มาตรา 189(1) ว.พ.พ.
โจทก์ฟ้องกล่าวว่าจำเลยเข้าอยู่ในห้องเช่าของโจทก์ในฐานะเป็นบริวารของผู้เช่า ผู้เช่าออกจากห้องเช่าไปแล้วจำเลยไม่ยอมออกจึงขอให้ขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้เช่าเองดังนี้ ย่อมเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 189(1)เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มาตรา 144 ว.พ.พ. ไม่ห้ามคดีฟ้องใหม่ หากไม่ใช่คดีเดิม แม้ประเด็นข้อพิพาทคล้ายคลึงกัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคต้นที่ว่า"เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น อันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น" เป็นบทบัญญัติห้ามไม่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมอีกเท่านั้น ถ้าเป็นคดีฟ้องใหม่ไม่ใช่คดีเดิมบทบัญญัติดังกล่าวไม่บังคับถึง
พี่สาวโจทก์เคยฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลย โดยอ้างว่าเป็นมรดกของมารดา ศาลตัดสินว่าทรัพย์พิพาทไม่ใช่มรดกของมารดาแต่เป็นของจำเลยกับสามีมาครั้งหนึ่งแล้ว บัดนี้โจทก์มาฟ้องขอแบ่งทรัพย์นั้นจากจำเลยโดยอ้างว่าเป็นมรดกของมารดาอีก ดังนี้ คดีไม่ต้องข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
พี่สาวโจทก์เคยฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลย โดยอ้างว่าเป็นมรดกของมารดา ศาลตัดสินว่าทรัพย์พิพาทไม่ใช่มรดกของมารดาแต่เป็นของจำเลยกับสามีมาครั้งหนึ่งแล้ว บัดนี้โจทก์มาฟ้องขอแบ่งทรัพย์นั้นจากจำเลยโดยอ้างว่าเป็นมรดกของมารดาอีก ดังนี้ คดีไม่ต้องข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับอำนาจฟ้องต้องทำก่อนวันชี้สองสถานหรือไม่ และไม่เข้า ม.24 ว.พ.พ.
คำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับคนอื่นไม่มีอำนาจฟ้องตามลำพังนั้น ต้องร้องขอก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพะยาน เพราะไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคำตัดฟ้องเช่นนี้ไม่เข้าอยู่ในม.24 แห่งวิธีพิจารณา.