พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฟ้องคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจย่นหรือขยายได้เพื่อความยุติธรรม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง" ซึ่งกำหนดเวลาให้นำคดีขึ้นสู่ศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ เป็นการใช้สิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (4) จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า "ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม" ดังนั้น กำหนดเวลาให้ฟ้องคดีดังกล่าวจึงสามารถย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ไม่ครบถ้วน ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลจำหน่ายคดีชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องและคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ทั้งมิได้นั่งพิจารณาให้ครบองค์คณะไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ ย่อมมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไป ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิด จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท อย่างคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มและจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ไม่ยอมชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902-4904/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าตอบแทนผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาหลังยกเลิกคำสั่งฟื้นฟู
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ทำแผนในขณะคดีฟื้นฟูกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและเป็นการกำหนดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้นโดยให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 เช่นนี้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวจึงอาจถูกคัดค้านโต้แย้งได้ภายในกำหนด 14 วัน หาเป็นที่สุดไม่ แม้ในวันเดียวกันนั้นศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ผลของคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นและเมื่อบุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลแล้ว ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาคำร้องคัดค้านต่อไปได้ ทั้งคำร้องคัดค้านดังกล่าวที่ขอให้กลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
ผู้ทำแผนจะมีฐานะเป็นผู้ทำแผนและมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ก่อนหน้านั้นหาได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่างลูกหนี้ซึ่งมิได้เป็นผู้ร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการกับผู้ทำแผนไม่ แต่หากว่ามีหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนซึ่งเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนในฐานะเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 ประกอบมาตรา 90/27 ในส่วนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนนั้น ศาลจะพิจารณาให้ผู้ทำแผนมีสิทธิเบิกจ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ศาลต้องพิจารณาถึงผลสำเร็จในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการว่าแผนดังกล่าวมีหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายหรือไม่ แผนสามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ แผนดังกล่าวที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนและศาลได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ และศาลต้องพิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ทำแผนสมควรใช้ประกอบคุณภาพและความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสามารถของผู้ทำแผนในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าลูกหนี้มีสถานะหรือผลประกอบการดีขึ้นเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังให้การแล้ว ศาลต้องฟังจำเลยก่อนห้ามอนุญาตทันที
ในคดีที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) กำหนดให้ศาลฟังว่าจำเลยจะยินยอมให้โจทก์ถอนฟ้องหรือจะคัดค้านประการใด เพื่อประโยชน์ที่ศาลจะได้นำมาประกอบการพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรดังที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้นั้นต่อไป หากศาลยังมิได้ฟังจำเลยก่อนย่อมต้องห้ามตามกฎหมายไม่ให้ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ดังนั้นการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 ภายหลังจำเลยให้การต่อสู้คดีและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความในวันเดียวกันนั้น โดยปรากฏว่าจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องในวันที่ 22 ธันวาคม 2547 โดยไม่มีโอกาสได้คัดค้านหรือไม่คัดค้านในการที่โจทก์ถอนฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปก่อนที่จะได้ฟังจำเลยเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880-4881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมเครื่องหมายการค้า: ศาลพิพากษาชอบธรรมตามอำนาจและข้อตกลง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมด แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวร่วมกัน เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ตาม พ.ร.บ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 358909, 365222 และ 365223 และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่ 437187, 437188 และ 437189 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีหน้าที่โอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 50
เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 358909, 365222 และ 365223 และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่ 437187, 437188 และ 437189 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีหน้าที่โอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษตามฟ้องได้ จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ฐานความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการให้บริการฉายหรือให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและมิได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และ 20 วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละฐานความผิดและมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว การที่จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในข้อหาใด โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงที่ได้ความมาปรับบทลงโทษได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงเจตนาในชั้นศาลไม่ถือเป็นข้อตกลงผูกพัน การบังคับคดีต้องเป็นไปตามคำพิพากษา
การที่ทนายจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยจะนำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลในวันที่ 14 มิถุนายน 2545 เวลา 9 นาฬิกา โดยในวันดังกล่าวโจทก์จะนำโฉนดที่ดินเลขที่ 32270, 32271, 32272 และ 32273 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มามอบให้กับจำเลยเพื่อให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนโอนโดยเสียค่าธรรมเนียมเองและหากจำเลยไม่ดำเนินการตามที่ได้แถลง ให้ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับผลตามคำพิพากษาโจทก์และทนายโจทก์แถลงไม่ค้านนั้น การแถลงของทนายจำเลยและโจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำต่อศาลชั้นต้นตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (7) มิใช่การแสดงเจตนาต่อกันในฐานะคู่สัญญาที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับระหว่างกันได้ แม้จำเลยไม่ได้นำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลตามที่แถลงก็ตาม ก็จะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับผลตามคำพิพากษามิได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่สามารถหาเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลได้ จึงไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันในนัดที่แล้ว ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับตามผลคำพิพากษานั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับ ย่อมเป็นการไม่ชอบเพราะแม้ว่าจำเลยไม่ได้นำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลตามที่แถลง ก็จะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับตามผลคำพิพากษาไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษา ทั้งมิใช่ข้อตกลงของโจทก์และจำเลย หากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาโจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การรับเงินเพื่อไม่ต้องควบคุมตัวจำเลยในศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นำตัวจำเลยทั้งสามมาที่ศาลชั้นต้นเพื่อส่งตัวตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์แล้ว น. ภริยาของจำเลยที่ 3 ได้มอบเงิน 300 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เพื่อไปดำเนินการให้จำเลยทั้งสามไม่ต้องถูกนำตัวเข้าห้องควบคุม และผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 บอกให้จำเลยทั้งสามรออยู่บริเวณหน้าห้องควบคุมโดยมิได้ส่งตัวจำเลยทั้งสามให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจประจำศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางหลังศาลมีคำสั่งริบทรัพย์แล้วเกิน 1 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 36
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ซึ่งเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" หมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้นในคดีก่อนกับคดีนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางเป็นกรณีเดียวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกันทรัพย์สินต่างๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้น ก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีหลังที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2542 ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 จึงเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกศาลไม่อ้างได้เพื่อขอถอนการบังคับคดี การลดหนี้ต้องมีหลักฐานชัดเจน
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งถอนการบังคับคดีโดยอ้างว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยยอมลดหนี้ตามคำพิพากษาลงเหลือ 150,000 บาท จำเลยชำระให้โจทก์ไว้ก่อนแล้ว 20,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 130,000 บาท จำเลยผ่อนชำระให้โจทก์ครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว การที่จำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับการลดยอดหนี้ดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องที่กระทำนอกศาลโดยศาลมิได้รับรู้ด้วย เมื่อโจทก์ปฏิเสธ จำเลยจะยกมาเป็นเหตุเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งถอนการบังคับคดีหาได้ไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่ง