คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลชั้นต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 926 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอนาถา: ต้องยื่นภายใน 7 วันนับจากคำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ใช่นับจากกำหนดวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งยกคกร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง มิใช่ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ภายในวันที่ 19กรกฎาคม 2547 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 เกินกำหนดเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางเงินค่าธรรมเนียมเมื่ออุทธรณ์ ทำให้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ และจำเลยยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไปแล้วมีคำพิพากษาใหม่ จึงอยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินดังกล่าวมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับเปิดโอกาสให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จำเลยยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ เพราะมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยตรง โดยกล่าวมาในอุทธรณ์ว่าขออุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวตามคำร้องของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นก็ยกคำร้องเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อันเป็นการยืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ทั้งในอุทธรณ์ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.ม.216 โต้แย้งเฉพาะศาลชั้นต้น ไม่โต้แย้งศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 1 กล่าวถึงคำฟ้องโจทก์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จากนั้นเริ่มเนื้อหาเหตุผลของฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และลงท้ายว่าด้วยเหตุผลดังที่ได้กราบเรียนมาข้างต้นขอศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยที่ 1 พ้นข้อกล่าวหา ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ข้อความเนื้อหาในฎีกาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแล้ว ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยคำฎีกาในส่วนนี้คัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. ม.216 โต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เนื้อหาในฎีกาของจำเลยที่ 1 ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยคำฎีกาในส่วนนี้คัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8575-8576/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับของกลาง
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้จำเลยทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1 บัญญัติให้ผู้ต้องโทษซึ่งไม่มีเงินชำระค่าปรับต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดี และเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นเป็นการสมควร ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้นั้นทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดี จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้
จำเลยกระทำละเมิดสิทธิ์ของผู้เสียหาย โดยนำวิดีโอซีดีภาพยนตร์ (วีซีดี) และดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดี) ที่บันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์ของกลางซึ่งเป็นของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และต้องตกเป็นของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาริบของกลางจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดี: ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาสองคนขึ้นไปในการพิจารณาคำร้องขอคืนของกลาง
คดีนี้ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัด การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้และมีคำสั่งยกคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจวินิจฉัย ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อน
การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานและ มีคำสั่งไม่รับฟ้องนั้น แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่ ซึ่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษา ศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย ศาลชั้นต้นหามีอำนาจวินิจฉัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลบังคับคดี: คำร้องรับชำระหนี้ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี (ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดี)
คำร้องของผู้ร้องที่ขอรับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง คำร้องเช่นนี้ มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีโดยมีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น มาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ย่อมหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น และแม้มาตรา 15 วรรคสอง จะบัญญัติให้ศาลที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีดำเนินไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา 32 วรรคสาม แต่ก็หาได้บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งว่า ศาลที่บังคับคดีแทนเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลที่บังคับคดีแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 และให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ จึงต้องคืนค่าคำร้องแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6234/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา – ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน
คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีผู้พิพากษานายเดียวลงนามให้จำคุกจำเลย 1 ปี ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ซึ่งจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5777/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมคำฟ้องฎีกา ไม่สามารถระบุในคำฟ้องได้
กรณีที่จำเลยที่ 1 มีความจำนงจะขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถามาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จะขอมาในคำฟ้องฎีกาไม่ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอดังกล่าว คำขอของจำเลยที่ 1 ที่ขอมาในคำฟ้องฎีกาจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 93