คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลตัดสิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งมติที่ประชุมเจ้าหนี้ต้องทำตั้งแต่แรก หากเพิ่งยื่นหลังศาลตัดสินถือว่าสายเกินไป
คำร้องที่จำเลยยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นการโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการลงมติของโจทก์เป็นการประชุมหรือการลงมติที่ไม่ชอบ ทั้งจำเลยเพิ่งยื่นคำร้องดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยกเรื่องมติที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ชอบขึ้นโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือต่อศาลชั้นต้นมาก่อน จำเลยจึงไม่อาจยกปัญหาที่เกี่ยวกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้ว่าชอบหรือไม่ ขึ้นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกตกลงรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ศาลจะตัดสินเฉพาะบางส่วน และการสละประเด็นในชั้นศาล
เมื่อข้อความตามบันทึกการตกลงเอกสารหมาย จ.8 ปรากฏชัดว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.1, จ.3 และจ.5 และยอมชำระเงินให้โจทก์ตามที่ระบุไว้ในเช็ค แม้ทางพิจารณาของศาลฎีกาข้อเท็จจริงจะยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่า จำเลยไม่ต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.1 บันทึกการตกลงดังกล่าวก็ยังมีผลบังคับให้จำเลยต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.3และ จ.5 ที่ยังเหลืออยู่ได้ จำเลยจะให้การต่อสู้ในประเด็นที่ว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่สุจริตและคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วไว้ก็ตาม แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้เป็นประเด็นพิพาทในคดี และคู่ความก็มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ย่อมถือได้ว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: ศาลตัดสินอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลาชำระหนี้คืนไว้แน่นอนเมื่อไม่ปรากฏว่าธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้หลังจากนั้นธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แม้สัญญาสิ้นสุดลงแล้วธนาคารโจทก์ก็ยังคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราดังกล่าวไว้ต่อไปเพราะถือได้ว่าจำเลยตกลงให้คิดได้มาแต่ต้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดอายุความฟ้องอาญา ต้องพิจารณาจากอัตราโทษตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ไม่ใช่โทษที่ศาลตัดสิน
อัตราโทษที่จะนำมาพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 นั้น ถืออัตราโทษสูงสุดสำหรับความผิดที่บัญญัติไว้ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องเป็นหลักมิใช่ถือตามโทษที่ศาลกำหนดในคำพิพากษาลงแก่จำเลย แม้ศาลฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีจะต้องฟ้องภายในอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิตกำหนดอายุความยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(1) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 6ธันวาคม 2517 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2532 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งผู้ขับขี่และคนข้ามถนน ศาลตัดสินความรับผิด 2 ใน 3 ส่วน
จำเลยขับรถโดยประมาทชนโจทก์เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแต่โจทก์เดินข้ามถนนมาหยุดที่เกาะกลางถนนข้างป้ายโฆษณา แล้วก้าวลงจากเกาะกลางถนนเพื่อข้ามถนนขณะเดียวกับรถที่จำเลยขับอยู่ห่างเพียง3-4 เมตร เห็นได้ว่าโจทก์ข้ามถนนโดยไม่ได้ระมัดระวังรถที่แล่นอยู่ในทางเดินรถให้ดีตามสมควร นับได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วยแต่เมื่อเทียบกับความประมาทของจำเลยซึ่งต้องระมัดระวังคนข้ามถนนแล้ว จำเลยเป็นผู้ประมาทมากกว่า ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าสินไหมทดแทนเพียง 2 ใน 3 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานจริงหรือไม่? ศาลตัดสินคดีฉ้อโกงประชาชน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำการโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายและประชาชนไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนผู้ประสงค์จะไปทำงานในประเทศมาเลเซียได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใดจำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายวัตถุดิบยาที่ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีอากร ศาลตัดสินให้คืนภาษีพร้อมดอกเบี้ย
บัญชีท้าย พ.ร.ฎ. ที่กำหนดเรื่องเภสัช ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงหรือรักษาอนามัยมีอยู่ในบัญชีที่ 3 หมวด (1) ว่ายาทุกชนิดซึ่งแพทย์หรือประชาชนนำไปใช้โดยตรงทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักร ตามบัญชีที่ 3 นี้กำหนดเฉพาะยาที่แพทย์หรือประชาชนนำไปใช้ได้โดยตรง แต่ยากานาไมซินซัลเฟต หรือเจนตาไมซินซัลเฟตมิใช่ยาที่จะนำไปใช้ได้โดยตรง จึงเป็นสินค้าที่มิได้ระบุไว้ในบัญชีทั้งสามท้าย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2517 เมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงเทศบาลด้วย การคืนเงินภาษีอากรมาตรา 4 ทศ แห่ง ป.รัษฎากรให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยด้วยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน โดยไม่คิดทบต้นทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนและตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161(พ.ศ. 2526)ออกตาม ป.รัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากร ข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัด จากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2527 จึงครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2530และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในวันที่ 1 มีนาคม 2530 เป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างเพิ่มเติม หลังคดีก่อนศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20และมาตรา 31 ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และชำระค่าจ้างตั้งแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างและค่าชดเชย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมีสาเหตุเนื่องจากการเลิกจ้างของจำเลย โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องมาในคราวเดียวกันทั้งหมด การที่โจทก์ไม่เรียกร้องค่าเสียหาย และค่าชดเชยรวมไปกับคดีก่อน แต่กลับมาเรียกร้องเป็นคดีนี้โดยอาศัยเหตุการเลิกจ้างคราวเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายภรรยาและสามีด้วยมีด ศาลตัดสินลงโทษจำเลย
จำเลยใช้มีดปังตอฟันโจทก์ร่วมที่ ๑ ถูกที่หน้าผากด้านขวาได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยจะฟันซ้ำ โจทก์ร่วมที่ ๒ ซึ่งเป็นภรรยาของโจทก์ร่วมที่ ๑ วิ่งเข้ามาขัดขวางไว้จึงถูกจำเลยฟันที่ศีรษะ จำเลยจะฟันซ้ำ โจทก์ร่วมที่ ๒ ยกมือขึ้นรับจึงถูกฟันที่นิ้วมือเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ ๒ ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕และมาตรา ๒๙๗ ประกอบด้วยมาตรา ๗๒ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๗ ประกอบด้วยมาตรา ๗๒ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา ๙๐.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคืนสิทธิประโยชน์: สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างแต่ศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวับประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้.
of 10