คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลทรัพย์สินทางปัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13335/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิจารณาคดีโกงเจ้าหนี้: ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนอกเหนือจากความผิดเกี่ยวกับการค้าตามที่กฎหมายกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 บัญญัติให้ความผิดในประมวลกฎหมายอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีเฉพาะในส่วนคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ถึงมาตรา 275 อันเป็นบทความผิดในภาค 2 ลักษณะ 8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า เท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้รวมถึงความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 อันเป็นความผิดในภาค 2 ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ซึ่งกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไว้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12598/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจังหวัดในการบังคับสัญญาประกันหลังศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯมีคำพิพากษา และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้ศาลจังหวัดนครราชสีมาดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ อันมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีแทนตามความจำเป็นไปตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวในวรรคสองด้วยแล้ว ดังนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมาย่อมมีอำนาจดำเนินการออกหมายขังหรือปล่อยชั่วคราวจำเลยได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวในวรรคสาม ซึ่งเมื่อศาลจังหวัดนครราชสีมาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยเพื่อไปหาเงินมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาโดยผู้ประกันได้ทำสัญญาประกันให้ไว้ต่อศาลดังกล่าว แต่ต่อมาผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดส่งตัวจำเลย ศาลจังหวัดนครราชสีมาย่อมมีอำนาจพิจารณาและมีคำสั่งในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือบังคับตามสัญญาประกันต่อผู้ประกันซึ่งเป็นคู่สัญญาได้
การที่จำเลยขออนุญาตให้ขยายระยะเวลาการชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและผู้ประกันขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างระยะเวลาที่จะชำระค่าปรับ ก็เพื่อที่จะไม่ต้องถูกกักขังไปพลางก่อน จึงไม่ใช่กรณีที่เมื่อมีการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและยื่นอุทธรณ์แล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ประกันไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาประกันในอันที่จะต้องส่งตัวจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อนุญาตฟ้องได้ แม้ไม่มีภูมิลำเนาในไทย
นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้โดยไม่มีข้อจำกัดว่านิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศนั้นต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อโจทก์เป็นผู้ขนส่งและเป็นเจ้าของตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากผู้ขายที่สาธารณรัฐเกาหลีมายังประเทศไทย โดยใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่ง และเงื่อนไขการขนส่งเป็นแบบซีวาย/ซีวาย ซึ่งหมายความว่า เมื่อสินค้าถึงท่าปลายทางจำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งมีหน้าที่รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจรับสินค้าที่สถานที่ของตนแล้วนำตู้สินค้ามาคืนแก่ผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อรับสินค้าแล้ว แต่ไม่นำต้นฉบับใบตราส่งไปเวนคืนหรือให้ประกันเพื่อรับมอบสินค้า ทำให้ตัวแทนโจทก์ไม่สามารถออกใบปล่อยสินค้าได้ เป็นเหตุให้ตู้สินค้าของโจทก์คงค้างที่ท่าเรือ โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในตู้สินค้าดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายและเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลทรัพย์สินทางปัญญา
ความผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาใช้บังคับแก่คดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ให้โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302-6303/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การไม่ส่งปัญหาเขตอำนาจให้ประธานศาลฎีกา ไม่ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 9 บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดขึ้นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ศาลนั้นรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวแล้วเสนอปัญหานั้นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุดคำว่า ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย กรณีมีปัญหาหมายถึงกรณีมีข้อสงสัย ย่อมหมายถึงศาลที่รับพิจารณาคดีนั้นๆ ไว้แล้ว มีความสงสัยว่าคดีนั้นจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาในศาลของตน จึงต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 โดยไม่มีข้อสงสัย การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คำร้องของจำเลยทั้งสองย่อมต้องมีเหตุอันสมควรให้ศาลเกิดข้อสงสัยว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาการพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจริงหรือไม่ ไม่ใช่ว่าถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนั้น ศาลนั้นจะต้องเสนอไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยทุกเรื่อง เพราะจะทำให้การพิจารณาคดีต้องล่าช้าออกไปเนื่องจากจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ขณะส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย จึงน่าจะไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ที่ประสงค์จะให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม
ตามบทบัญญัติ มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ที่ให้ศาลรอการพิจารณาคดีไว้ซึ่งศาลนั้น หมายถึง กรณีที่ศาลนั้นเสนอปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย หากศาลนั้นมิได้เสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ศาลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือมีความมุ่งหมายเพื่อจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิจารณาให้แก่โจทก์ไม่ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: จำเลยไม่โต้แย้งในชั้นพิจารณาณา ถือยอมรับอำนาจศาลชั้นต้น
แม้ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ถือเป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาเพียงผู้เดียวจะเป็นผู้วินิจฉัยและศาลที่รับคดีไว้ต้องเสนอปัญหาให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 แต่คดีนี้หลังจากจำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้ว่า คดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแล้วเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นไม่ใช่กรณีที่มีปัญหาว่าอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้งดชี้สองสถานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยทั้งสองก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งและมิได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวเพื่อเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยอีกแต่อย่างใดแสดงว่าจำเลยทั้งสองยอมรับอำนาจศาลชั้นต้นและคดีไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลที่ต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยอีกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: จำเลยไม่โต้แย้งหลังศาลชั้นต้นเห็นต่างเรื่องอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ย่อมถือว่ายอมรับอำนาจศาลชั้นต้น
หลังจากจำเลยให้การว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีชัดแจ้งอยู่แล้วว่าอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้น ไม่ใช่กรณีที่มีปัญหาว่าอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้งดชี้สองสถานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยทั้งสองมิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งและมิได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวเพื่อเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย แสดงว่าจำเลยทั้งสองยอมรับอำนาจศาลชั้นต้นและคดีไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลที่ต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยอีกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล & การแก้ไขอุทธรณ์: จำเลยยอมรับอำนาจศาลเมื่อไม่โต้แย้งในชั้นพิจารณา & แก้ไขอุทธรณ์นอกกรอบเวลา
แม้จำเลยให้การว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศและนิติกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาต้องเสนอปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 แต่หลังจากจำเลยยื่นคำให้การ ดังกล่าว ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยายังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปและในวันนัดพร้อมเพื่อไกล่เกลี่ย ชี้สองสถานหรือสืบพยาน จำเลยก็มิได้โต้แย้ง กลับแถลงว่ามีพยานพร้อมจะสืบจำนวน 3 ปาก ตามวันที่ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยากำหนดนัดซึ่งเป็นวันว่างของคู่ความ และเมื่อศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยมิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้งอีกเช่นกัน จึงถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาจนล่วงเลยเวลาที่จะเสนอปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่แล้ว
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเพิ่มเข้ามาจำนวนมากมิใช่เป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดเพียงเล็กน้อยจึงต้องตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และมาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 ซึ่งจำเลยจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เสียภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2546 อันเป็นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ การที่จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เช่นนี้ เป็นการยื่นอุทธรณ์ที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลาง: เจ้าของแท้จริงต้องพิสูจน์ได้ และค่าใช้จ่ายในการแจ้งคู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียม
คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลาง: เจ้าของแท้จริงต้องพิสูจน์ได้ & ค่าธรรมเนียมการส่งหมายแจ้งไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่กฎหมายยกเว้น
คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก
of 3