พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9872/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการหักเป็นรายจ่าย การจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวกเจ้าหน้าที่ศาลพิจารณาว่าไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้
ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ต้องชำระเพิ่มเติมในปีภาษี 2533 และ 2534 เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงานประเมินเมื่อปี 2538 เห็นว่าโจทก์ชำระภาษีการค้าไม่ถูกต้องและจะต้องชำระภาษีการค้าเพิ่มเติม ภาระภาษีการค้ากรณีนี้ยังไม่สามารถกำหนดจ่ายได้จริงและแน่นอนจนกว่าหนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นที่ยุติโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น รายจ่ายค่าภาษีการค้าที่พิพาทในคดีนี้จึงมิใช่รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และ 2534
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. นำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการขอคืน เงินค่าภาษีอากรนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้น การจ่ายเงินในลักษณะเช่นนี้อาจจะเป็นการจ่ายในลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเฉพาะตัว เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าเพื่อหากำไรอันเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์ และการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเช่นนี้เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อการให้สินบนเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้น แม้ ส. จะรับเงินจำนวนดังกล่าว แต่ ส. ก็มิได้รับเงินไว้เองต้องนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ ส. อ้างว่าได้รับเงินไว้ โจทก์ไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้ เมื่อโจทก์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รายจ่ายดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. นำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการขอคืน เงินค่าภาษีอากรนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้น การจ่ายเงินในลักษณะเช่นนี้อาจจะเป็นการจ่ายในลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเฉพาะตัว เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าเพื่อหากำไรอันเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์ และการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเช่นนี้เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อการให้สินบนเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้น แม้ ส. จะรับเงินจำนวนดังกล่าว แต่ ส. ก็มิได้รับเงินไว้เองต้องนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ ส. อ้างว่าได้รับเงินไว้ โจทก์ไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้ เมื่อโจทก์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รายจ่ายดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9714/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลพิจารณาความเหมาะสมตามระยะเวลาที่ได้รับและเหตุผลประกอบ
นับจากวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ และขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น รวมเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ นับว่าจำเลยมีเวลาเตรียมเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนานเพียงพอแล้ว ตามคำร้องของจำเลยก็ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะทำให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดเวลาที่ขอขยายไว้ กรณียังไม่อาจถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาวางเงินตามคำร้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาช่องทางฟื้นฟูที่แตกต่างจากคดีก่อน หากมีเหตุใหม่สนับสนุน
แม้ว่าในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทุกคดีจะต้องระบุถึงช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/6(3) แต่การที่จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้พิจารณาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนแนวทางการฟื้นฟูกิจการอย่างเดียวกันด้วยในคดีล้มละลายคดีก่อนซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้อ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเกือบทุกรายมีการประชุมเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำวินิจฉัยว่านอกจากสัญญาเช่าที่ลูกหนี้ทำกับผู้เช่าอาคารซึ่งมีกำหนดเวลา 1 ปี ถึง 3 ปี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถปรับอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นหรือจัดหาผู้เช่าให้เช่าให้เต็มพื้นที่ได้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่มีแนวทางหรือมาตรการอื่นใดที่จะดำเนินการให้มีกำไรหรือรายได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจึงเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้ส่วนที่ลูกหนี้คาดว่าจะสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้และเพิ่มวงเงินหมุนเวียนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอนจึงไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินส่วนใหญ่ของลูกหนี้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันและมีหนี้รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.40 ของจำนวนหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมด ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งสามรายมีมติร่วมกันในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดจำนวนหนี้ลงให้เหมาะสมไม่เกินกำลังความสามารถของลูกหนี้จึงเห็นได้ว่าสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ รวมทั้งยังมีหนังสือของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่าขอให้การสนับสนุนในการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการ และยินยอมที่จะลดยอดหนี้ให้ลูกหนี้ถึงร้อยละ 80 ของจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างในช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อน การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งผู้ร้องขอได้ยื่นไว้พิจารณาจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอาญาอื่น แม้ไม่ได้ระบุหมายเลขคดีในคำฟ้อง ศาลสามารถพิจารณาจากรายงานสืบเสาะและพินิจได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งที่ฟ้องมาพร้อมกัน ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโจทก์จำเลยในคดีอาญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ระบุหมายเลขคดีไว้เนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบหมายเลขคดีจนกว่าโจทก์จะได้ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นได้นัดฟังคำพิพากษาในวันอื่น ข้อเท็จจริงที่ได้จากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลชั้นต้นให้คู่ความทราบแล้วคู่ความไม่ติดใจคัดค้านปรากฏว่าจำเลยถูกดำเนินคดีในความผิดตามคดีอาญาของศาลชั้นต้น เท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงใน ข้อที่ว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยถูกฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีนี้ภายหลังจากที่มี คำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลพิจารณาเหตุผลที่กว้างกว่าความผิดร้ายแรงตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้
การเลิกจ้างของนายจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควร ที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ เหตุดังกล่าวอาจเกิดจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่มิใช่การกระทำหรือความผิด ของลูกจ้างก็ได้ ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ มีขอบเขตกว้างกว่าที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ก็ตาม แต่โจทก์ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ และโจทก์ทำงานบกพร่องหลายครั้ง ผู้บังคับบัญชา เตือนแล้วยังไม่ดีขึ้นทำให้จำเลยเสียหาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นการ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แต่โจทก์และจำเลยยังมีข้อโต้เถียงกันว่า จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงิน ที่ค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคสอง
ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ มีขอบเขตกว้างกว่าที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นความผิดร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ก็ตาม แต่โจทก์ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ และโจทก์ทำงานบกพร่องหลายครั้ง ผู้บังคับบัญชา เตือนแล้วยังไม่ดีขึ้นทำให้จำเลยเสียหาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นการ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างชำระและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แต่โจทก์และจำเลยยังมีข้อโต้เถียงกันว่า จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์หรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละ 15 ของเงิน ที่ค้างจ่ายทุกระยะ 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลไม่อาจพิจารณาได้
คดีอาญา โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานและการบุกรุก หากข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง ศาลต้องพิจารณาตามความผิดที่มีอัตราโทษเบากว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 265 , 268 , 335 (3) (8) , 336 ทวิ และกล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดกุญแจประตูหน้าบ้านพักอาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย และเข้าไปในเคหสถานงัดประตูห้องนอนของผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักสายยู 1 อัน ซึ่งใช้ล่ามบานประตูให้ติดกับกุญแจของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานไปโดยทุจริต ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยพยายามเข้าไปลักทรัพย์ที่มิใช่สายยูที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องในเคหสถานของผู้เสียหาย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง และเป็นข้อสาระสำคัญในความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของ ผู้เสียหายเพื่อลักทรัพย์อื่นที่อยู่ในเคหสถานนั้นด้วย ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อย่างอื่นของผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อื่นของผู้เสียหายไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่ แต่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดประตูบ้านและประตูห้องนอนเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหาย ซึ่งนอกจากจะเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ในเคหสถานโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์แล้ว ยังเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 รวมอยู่ด้วยซึ่งโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องด้วยแล้ว ทั้งมีอัตราโทาเบากว่าความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลล่างทั้งสองโทษจำเลยทั้งสองมา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 , 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ความผิดฐานทำเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้มาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานทำเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้มาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการประวิงคดี ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์โดยรวม
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทนายจำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นทนายความเรื่องนี้ก่อนวันครบกำหนดยื่นคำให้การเพียงหนึ่งวัน จึงไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเหตุให้ปรากฏแล้วว่า จำเลยมิได้ยื่นคำให้การเพราะเหตุใด แต่ตัวจำเลยกลับเพิ่งแต่งตั้งทนายความเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคหนึ่ง แล้ว มิใช่แต่งตั้งทนายก่อนวันครบกำหนดยื่นคำให้การเพียงหนึ่งวันดังจำเลยอ้าง พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าตัวจำเลยไม่สนใจต่อการดำเนินคดี จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยทราบนัดสืบพยานครั้งแรกโดยชอบแล้วไม่มาศาลและมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีออกไปตามคำร้องของโจทก์และปิดหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการใดๆ ทนายความของจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าตนติดว่าความที่ศาลอื่นในวันดังกล่าวทนายจำเลยกลับให้ตัวจำเลยนำคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ และคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นในวันนัด ซึ่งคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก็มิได้แสดงเหตุให้ปรากฏ และก่อนหน้านี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นคำให้การมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
จำเลยทราบนัดสืบพยานครั้งแรกโดยชอบแล้วไม่มาศาลและมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีออกไปตามคำร้องของโจทก์และปิดหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการใดๆ ทนายความของจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าตนติดว่าความที่ศาลอื่นในวันดังกล่าวทนายจำเลยกลับให้ตัวจำเลยนำคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ และคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นในวันนัด ซึ่งคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก็มิได้แสดงเหตุให้ปรากฏ และก่อนหน้านี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นคำให้การมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่อย่างไร และศาลจะพิจารณาถอนผู้จัดการมรดกเมื่อใด
เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ทั้งผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้าน และเป็นภริยาเจ้ามรดกทุกฝ่ายจึงทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดก มีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่า ผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียก ประชุมทายาทนั้นก็ปรากฏว่าทายาทบางคนอยู่ต่างประเทศ บางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุม ดังนั้น แม้ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 และ 1729บัญญัติไว้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีของจำเลยที่อ้างว่าวิกลจริต ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และหลักฐานเพื่อยืนยันความสามารถในการต่อสู้คดี
จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 จะต้องปรากฏว่า เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติวิปลาสในทำนองเป็นคนบ้า โรคจิตพวกจิตเภท อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคคลิกภาพผิดปกติ ไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต หรือโรคทางจิต ชนิดที่มีความผิดปกติของความรู้สึกหรือพฤติกรรมอย่างแรง ถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ แต่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลย มีอาชีพค้าขาย ซึ่งปกติของคนมีอาชีพค้าขายจะต้องเป็น ผู้เฉลียวฉลาด รู้จักการแสวงหากำไรประกอบกับตามคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ปรากฏว่าจำเลยสามารถ ลงลายมือชื่อได้ถูกต้อง และตามคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ลงวันที่วันเดียวกันจำเลยสามารถลงลายมือชื่อและนามสกุล ได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังมีลักษณะเหมือนคนปกติ นอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านท้ายฎีกาก็ปรากฏอีกว่าจำเลย สามารถเป็นเจ้าบ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น ท. โดยเมื่อปี 2533 และ 2538 ก่อนจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีบุตรชายได้ตามปกติ ถึง 2 คน จำเลยจึงมิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว