คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลมีอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่สมเหตุผล และการงดสืบพยานในคดีล้มละลาย ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
กรณีที่คู่ความจะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา207 ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 จะต้องเป็นคู่ความซึ่งศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณา พอถือได้ว่าจำเลยมุ่งหมายจะให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้ว ให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบตามที่จำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ จึงต้องพิจารณาว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีมีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้วจะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยเคยได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีมาแล้ว 2 ครั้ง โดยปกติจำเลยไม่มีสิทธิขอเลื่อนคดีได้อีก ที่จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีในนัดที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยป่วยมีอาการท้องร่วงเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 แม้จะมีใบรับรองแพทย์และท้ายคำร้องจะระบุว่า "เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต"คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสองเช่นนี้ มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ในการเลื่อนคดีครั้งที่ 1 และที่ 2 ศาลชั้นต้นได้กำชับทนายความจำเลยว่า หากจำเลยขอเลื่อนคดีอีกไม่ว่าด้วยเหตุใด จะถือว่าจำเลยประวิงคดีและจะงดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยก็หาได้นำพาไม่ และจำเลยก็ไม่ได้นำพยานอื่นมาศาล ทั้งที่ตามบัญชีพยานจำเลยระบุพยานนำไว้หลายปากพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองส่อถึงความไม่เอาใจใส่หรือไม่ให้ความสำคัญแก่คดีของจำเลยเท่าที่ควรถือได้ว่าจำเลยทั้งสองประวิงคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 88: ศาลมีอำนาจหากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ยื่นฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่ในมาตรา 87 (2) นั่นเองได้บัญญัติต่อไปว่า "?แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" เมื่อปรากฏว่าพยานบุคคลที่โจทก์ทั้งสองอ้าง เป็นพนักงานขายซึ่งมีหน้าที่ติดตามหนี้สินรายนี้จากจำเลยที่ 3 อันเป็นพยานสำคัญในคดี ทั้งจำเลยที่ 3 ก็มีโอกาสถามค้านและนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนี้ได้ ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้นั้น จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเช่นนั้น ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของพยานบุคคลที่โจทก์ทั้งสองอ้างเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายอนุญาต
อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การลดนั้นจะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าตามปกติที่สัญญากำหนดไว้ ซึ่งไม่เกินอัตราที่กฎหมายอนุญาตให้โจทก์คิดได้ มิใช่ลดลงมาต่ำกว่าอัตราดังกล่าว สัญญากู้ข้อ 2 ระบุให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญา และโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญา แต่หลังจากวันที่ประกาศของโจทก์ลงวันที่ 5 มีนาคม 2541 ข้อ 2 ที่ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นลดจำนวนเบี้ยปรับโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องร้อยละ 15 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราที่ระบุในประกาศข้อ 2 ดังกล่าว จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ต่อเนื่องกัน ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษแม้โจทก์มิได้ฟ้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายนั้นนาฬิกาของผู้เสียหายหลุดจากข้อมือ จำเลยที่ 1 กับพวกมิได้เข้าหยิบฉวยนาฬิกาแต่อย่างใด กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปจนถึงปากซอย แสดงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แต่เมื่อทำร้ายผู้เสียหาย แล้วเห็นนาฬิกาของผู้เสียหายตกอยู่จึงมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน และเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและฐานลักทรัพย์เท่านั้น การทำร้ายร่างกายและการลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องให้ลงโทษในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์อันเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยอื่นที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างบทมาตราผิดพลาดในฟ้องอาญา ศาลปรับบทลงโทษตามความผิดที่สืบได้ตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด และการพาทรัพย์นั้นไป ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ แต่โจทก์กลับอ้างบทมาตรา 336 ซึ่งเป็นบทมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับฐานความผิดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตรา 336 ทวิ ผิดพลาดไป เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนและให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ได้โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า สั่งและวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง คดีนี้ต่อศาลได้ คำว่า "CONCERT" ซึ่งมีความหมายว่าการแสดงดนตรีสากลโดยใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่และอาจมีนักร้องประสานเสียงด้วยหรือมโหรีสังคีตและการประสานเสียงเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอและเครื่องขยายเสียง คำว่า "CONCERT" หาใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรงไม่เพราะสินค้าวิทยุและตู้ลำโพงมิใช่สินค้าที่ใช้รับฟังได้เฉพาะเสียงการแสดงดนตรี มโหรีสังคีตหรือการประสานเสียงเท่านั้น หากแต่ใช้รับฟังเสียงอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงคนหรือสัตว์เดินหรือวิ่งเสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเล ฟ้าร้องเสียงการทำและปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม และเสียงอื่น ๆอีกมากมาย เสียงดนตรีจึงเป็นเพียงเสียงอย่างหนึ่งในบรรดาเสียงอื่นอีกมากมายที่รับฟังได้จากวิทยุและตู้ลำโพงส่วนโทรทัศน์และเครื่องเล่นวีดีโอก็ใช้ได้ทั้งชมภาพและฟังเสียงทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรี เครื่องขยายเสียงก็สามารถขยายเสียงได้ทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรีเช่นกันความหมายของคำว่า "CONCERT" เน้นไปที่การแสดงดนตรีวงใหญ่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรีขึ้นมา แต่เสียงอื่นที่มิได้เกิดจากการแสดงมีได้มากมายหลายกรณี คำว่า "CONCERT"จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าวิทยุตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอ และเครื่องขยายเสียง โดยตรงย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง(2)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534เครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์จึงมีลักษณะพึงรับการจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากรกระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์พ.ศ. 2535 มาตรา 3 กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ เกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียนรวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุ ทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการ และเผยแพร่มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการ เกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำสารบบ และกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 ที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมดจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและอธิบดีกรมจำเลยมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้แม้โจทก์มิได้ฟ้องข้าราชการในกรมจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ผู้อื่นเป็นจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีนี้ เพื่อให้รับผิดได้ เมื่อคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์ต่อไปเท่านั้นศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทันทีได้ เพราะจำเลยต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนของโจทก์ตามขั้นตอนตามกฎหมายคือพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 อันได้แก่การที่นายทะเบียนต้องมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบและให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาต่อไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และการที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาประกันตัว: ศาลมีอำนาจลดจำนวนลงได้หากผู้ถูกประกันได้รับโทษทางอาญาครบถ้วน
จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเมื่อมีการผิดสัญญาโดยส่งตัวผู้ที่ขอประกันให้ตามกำหนดมิได้นั้นเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ถึงปัญหาแห่งความผิดที่อ้างว่า พ. ผู้ต้องหากระทำความผิดฐานลักลอบนำของหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติศุลกากรประกอบกับโจทก์ได้ตัว พ. ไปดำเนินคดีจนได้ค่าปรับตามบทบัญญัติกฎหมายครบถ้วนแล้ว โจทก์ไม่ได้เสียหายอะไรอีกจึงเห็นควรลดจำนวนเงินค่าปรับลงให้เหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่เคลือบคลุมของฟ้องอาญาและการสั่งแก้ฟ้องเพื่อตรวจสอบอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2536 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม2536 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองกับ ป. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญา โจทก์เพิ่งทราบความจริงเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2537"เป็นคำฟ้องที่ระบุวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วและจำเลยทั้งสองก็นำสืบต่อสู้คดีโจทก์ไว้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาได้ดีโดยมิได้หลงต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วันที่รู้เรื่องความผิดไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดและไม่ใช่รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งในชั้นตรวจคำฟ้องแม้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเพื่อทราบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน และการคิดดอกเบี้ยคืนภาษีที่ชำระเกิน
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 33เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการที่โจทก์จะขอลดภาษีต่อกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ไว้มิใช่บทบัญญัติถึงขั้นตอนในการที่ศาลจะมีอำนาจพิจารณาค่ารายปีที่พิพาท ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ค่าเช่าที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำมากำหนดเป็นค่ารายปีนั้น มิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่ารายปีให้เท่าจำนวนที่สมควรจะให้เช่าได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่ารายปีและคืนภาษีที่โจทก์ชำระเกินมาให้โจทก์นั้น เป็นการพิพากษาลดค่าภาษีให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง ตามที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณา
การที่ศาลภาษีอากรกลางให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินไปชำระนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคสอง เพราะเมื่อศาลให้ลดค่าภาษีต้องคืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายใน 3 เดือน หากไม่คืนในกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย ปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการไถ่ที่ดินคืนจากผู้รับจำนอง แม้เสนอราคาไถ่ไม่ตรงกับจำนวนหนี้จริง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ไถ่ได้ตามจำนวนหนี้
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โจทก์จะขอไถ่ที่ดินพิพาทคืนในราคา4,400บาทก็ตามแต่ความประสงค์หลักตามฟ้องของโจทก์ก็คือขอไถ่ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1เนื่องมาจากล. มอบที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1ทำกินต่างดอกเบี้ยดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าล. เป็นหนี้จำเลยที่1จำนวน99,900บาทโจทก์ก็ต้องไถ่ที่ดินพิพาทคืนในราคา99,900บาทและศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้ไถ่คืนตามจำนวนเงินที่เป็นหนี้กันจริงได้โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 8