พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนศาลปกครองเปิดทำการ
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯจะมีผลเป็นการจัดตั้งศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองก็ตาม แต่ศาลปกครองเหล่านั้นจะเปิดทำการเมื่อใดต้องเป็นไปตามประกาศของประธานศาลปกครองสูงสุด เมื่อยังไม่มีประกาศดังกล่าวก็ต้องถือว่ายังไม่มีศาลปกครองกลางที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ได้มิฉะนั้นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้โจทก์จะใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ก็ตาม แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีปกครองต่อศาล ศาลยุติธรรมชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9500/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมวินิจฉัยคำโต้แย้งสิทธิเสรีภาพก่อนส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ - มาตรา 264 รธน.
คำโต้แย้งของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้น เป็นคำสั่งที่ล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการดำเนินคดีของโจทก์ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 26,27,28,233 และ 249 นั้น มิใช่เป็นคำโต้แย้งว่า ตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ศาลยุติธรรมจะใช้บังคับแก่คดีขัดต่อรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 6 บัญญัติไว้คำร้องของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา 264 วรรคหนึ่ง แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณา จะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่า คำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง มิใช่ว่าโจทก์มีคำโต้แย้งอย่างไรแล้ว ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุม: ศาลยุติธรรมผูกพันตามคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2535 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 ว่า การออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคมพ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ซึ่งออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2535 เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามมาตรา 268
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ.2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ตกไปเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะ พ.ร.ก. ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพ.ร.บ.ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่ง พ.ร.ก. บัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ.2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ตกไปเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะ พ.ร.ก. ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพ.ร.บ.ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่ง พ.ร.ก. บัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิรโทษกรรมความผิดชุมนุม 17-21 พ.ค. 35: ศาลยุติธรรมผูกพันตามคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญ ที่ 2/2535 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 ว่า การออกพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ซึ่งออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2535 เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามมาตรา 268
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ. 2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ตกไป เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะพระราชกฤษฎีกาก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่งพระราชกฤษฎีกาบัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ. 2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ตกไป เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะพระราชกฤษฎีกาก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่งพระราชกฤษฎีกาบัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความตอบคำถามค้าน และองค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบตามกฎหมาย
จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เช็คพิพาทจำเลยมิได้ลงวันที่สั่งจ่าย แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายในภายหลังและจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์ร่วมเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าเช็คพิพาทจำเลยกรอกข้อความและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาเรียบร้อยแล้ว คงมาลงวันที่ในเช็คดังกล่าวต่อหน้าโจทก์ร่วมโดยจำเลยเป็นผู้เขียนด้วยตนเอง คำเบิกความของโจทก์ร่วมดังกล่าวแม้โจทก์ร่วมมิได้เบิกความไว้แต่ต้น แต่ก็เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับหรือไม่ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงแล้วหยิบยกมาวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานขัดต่อกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผู้พิพากษาลงนามคนเดียว เนื่องจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อีก 2 คน ซึ่งลงนามเป็นองค์คณะในต้นร่างคำพิพากษาย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นเสียก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษา แต่ผู้พิพากษา 2 คนนั้นได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้บันทึกต่อท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8486/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองก่อนมีศาลปกครอง และความชอบด้วยกฎหมายของระเบียบพนันชนไก่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จำเลยคัดค้านว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงปนข้อกฎหมาย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 223 ทวิ แห่ง ป.วิ.พ. ขอให้ยกคำร้อง ซึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยแปลความหมายได้ว่า หากอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงปนอยู่ด้วยก็ไม่คัดค้าน เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยไม่คัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกใช้บังคับ โดยอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นคดีปกครอง เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับฟ้องคดีปกครองเพื่อเยียวยาตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ฝ่ายบริหารตราออกใช้บังคับโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
การที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอให้โจทก์ได้เพราะขัดต่อระเบียบของจำเลย เป็นการปฏิบัติภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบของจำเลย ถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 โดยมีพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ และการออกระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดแหล่งอบายมุข มิให้ประชาชนลุ่มหลงมัวเมาในการพนันอันจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมและความยากจนของประชาชน โดยลดจำนวนบ่อนและลดวันอนุญาตเล่นการพนันชนไก่และกัดปลา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตว่าต้องมีฐานะมั่นคงพอเชื่อถือได้และมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมให้อนุมัติได้เดือนละหนึ่งครั้ง และห้ามอนุมัติการอนุญาตเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเหตุผลของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่ต้องการควบคุมแหล่งอบายมุขโดยมิได้วางระเบียบห้ามเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาเสียเลย ระเบียบกระทรวง-มหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกใช้บังคับ โดยอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นคดีปกครอง เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับฟ้องคดีปกครองเพื่อเยียวยาตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ฝ่ายบริหารตราออกใช้บังคับโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
การที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอให้โจทก์ได้เพราะขัดต่อระเบียบของจำเลย เป็นการปฏิบัติภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบของจำเลย ถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 โดยมีพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ และการออกระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดแหล่งอบายมุข มิให้ประชาชนลุ่มหลงมัวเมาในการพนันอันจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมและความยากจนของประชาชน โดยลดจำนวนบ่อนและลดวันอนุญาตเล่นการพนันชนไก่และกัดปลา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตว่าต้องมีฐานะมั่นคงพอเชื่อถือได้และมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมให้อนุมัติได้เดือนละหนึ่งครั้ง และห้ามอนุมัติการอนุญาตเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเหตุผลของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่ต้องการควบคุมแหล่งอบายมุขโดยมิได้วางระเบียบห้ามเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาเสียเลย ระเบียบกระทรวง-มหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การยื่นฎีกาที่มีเนื้อหาดูหมิ่นและท้าทายอำนาจศาลยุติธรรม
การที่โจทก์ทั้งสองนำเรื่องราวกล่าวโทษผู้พิพากษาซึ่งมีข้อความก้าวร้าวและดูหมิ่นเสียดสีศาลมารวมเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาและลงนามเป็นผู้ฎีกาและผู้เรียงร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นทนายความของโจทก์ทั้งสองนั้น แสดงว่าโจทก์ทั้งสองมีเจตนาให้ข้อความที่ฎีกานั้นปรากฏต่อศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหานำฎีกามายื่นต่อศาลชั้นต้นจึงสมเจตนาของโจทก์ทั้งสอง การกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่ขณะผู้ถูกกล่าวหายื่นฎีกาดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น ประกอบกับฎีกาของโจทก์ทั้งสองและผู้ถูกกล่าวหามีลักษณะเป็นการท้าทายอำนาจศาลยุติธรรมอย่างรุนแรงและแจ้งชัดไม่มีข้อที่น่าสงสัยว่าได้กระทำไปโดยเลินเล่อหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การที่ศาลลงโทษไปโดยไม่สั่งให้โจทก์ทั้งสองและผู้ถูกกล่าวหาแก้ไขถ้อยคำเสียก่อน จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว เมื่อฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยชัดเจนอยู่แล้ว ข้อความที่กล่าวไว้ในฎีกาว่าพร้อมจะแก้ไขถ้อยคำใด ๆ ตามคำสั่งศาลทุกประการนั้น ถูกลบล้างโดยการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเองโดยสิ้นเชิง จะฟังว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8902/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่: ศาลต้องพิสูจน์การกระทำผิดก่อน
การที่โจทก์ทำการสืบสวนสอบสวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 โจทก์จึงมีคำวินิจฉัยสั่งการให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปีและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 96 นั้น โจทก์เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการที่เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้ง เมื่อโจทก์พิจารณารายงานการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด โดยใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำการเป็นการฝ่าฝืน ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 57 มีผลให้การเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำเลยมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และโจทก์ได้มีคำวินิจฉัยสั่งการ โดยให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่ไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใหม่ รวมทั้งให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยด้วย คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลบังคับเด็ดขาดเฉพาะกรณีการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปีและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันเกี่ยวกับในส่วนวิธีการและการจัดการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์เท่านั้น แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลบังคับจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งนั้น ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 99 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรับผิดในทางแพ่ง เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้มอบเงิน 20 บาท ให้แก่ ค. เพื่อจงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งจำเลยเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใหม่ ดังนั้น การที่โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใหม่ จึงมิได้เกิดจากการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 57 จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีการเลือกตั้งนั้นให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญต่อศาลยุติธรรม: ประเพณีการปกครองและฐานะเทียบเท่าศาลรัฐธรรมนูญ
องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มีที่มาจากองค์กรตุลาการคือศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมและจากศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นศาลปกครอง ในส่วนขององค์คณะในการพิจารณาพิพากษา วิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยก็มีข้อกำหนดของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรฐานในการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ต่ำไปกว่ามาตรฐานการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดอันเป็นการประกันความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดีของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ดังนี้ จึงถือได้ว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีฐานะเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จะมิได้บัญญัติถึงผลบังคับของคำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไว้ แต่โดยผลของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มาตรา 38 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 268 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 216 วรรคห้า ก็ถือได้ว่าคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 มีผลผูกพันศาลยุติธรรมเนื่องจากเป็นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18820/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสิทธิในที่ดิน: ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาคดี ไม่ใช่ศาลปกครอง และฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์ขอรังวัดเพื่อสอบเขต แบ่งแยกในนามเดิมและรวมโฉนดที่ดิน โดยโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดแนวเขต แต่จำเลยที่ 1 เห็นว่าแนวเขตด้านทางหลวงเทศบาลไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรองนายกเทศมนตรีทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรีขอยกเลิกการลงลายมือชื่อระวังแนวเขตของจำเลยที่ 3 และยื่นคำคัดค้านการรังวัดที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ศาลจึงต้องพิจารณาก่อนว่าที่ดินในส่วนที่พิพาทคดีนี้เป็นสิทธิของฝ่ายใด ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม มิใช่คำสั่งทางปกครองที่จะทำให้คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันเพิกถอนคำคัดค้านและรับรองแนวเขตที่ดินพิพาท แม้จะเรียกค่าเสียหายมาด้วย แต่สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ย่อมมีอยู่ตลอดไปตราบเท่าที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการเพิกถอนคำคัดค้านและรับรองแนวเขตที่ดินพิพาทเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ดำเนินการเพิกถอนคำคัดค้านและรับรองแนวเขตที่ดินพิพาทต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ