พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีศาลวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องก่อนประเด็นอื่น เป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้อแรกเรื่องอำนาจฟ้องว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นอื่นที่ยังมิได้วินิจฉัย ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ แต่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเลิกแล้วไม่อาจใช้ลงโทษจำเลยได้ แม้โจทก์อ้างถึง
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 11 มีบัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 21 จึงถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาเวชกรรมถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 การที่โจทก์อ้างกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาขอให้ลงโทษจำเลย มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ไม่ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8278/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะที่ดินส่วนหนึ่ง ศาลวินิจฉัยเกินขอบเขตถือเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงข้อเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทด้านทิศใต้ เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน ถ้าคู่ความไม่เห็นด้วย ชอบที่จะคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงต้องถือว่าคดีมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงข้อเดียวดังกล่าว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและ บริวารออกจากที่ดินพิพาททั้งแปลง และให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7677/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การนับระยะเวลาครอบครองต้องเป็นไปตามที่ศาลรับฟังตามคำร้องขอเดิม การวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยบรรยายคำร้องขอว่า ส. และ น. เจ้าของเดิมยกให้ บ. กับ พ. แล้วเป็นมรดกตกทอดแก่ ภ. ต่อมาปี 2506 ภ. ขายให้แก่ ม. มารดาผู้ร้องม. เข้าครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนกระทั่งปี 2517 ม. ได้ยกให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้เข้าครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันเกินกว่า 10 ปี ดังนี้ คำร้องขอของผู้ร้องไม่อาจจะแปลได้ว่าผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องสามารถนับเวลาการครอบครองของ ม. กับของผู้ร้องรวมกันได้เพราะผู้ร้องได้รับโอนการครอบครองจาก ม. มาโดยการรับมรดกไว้ด้วยเพราะตามคำร้องขอ ม. ยังมีชีวิตอยู่หรือถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ร้องมิได้บรรยายไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จะฟังไม่ได้ว่า ม. ยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องแล้วเมื่อปี 2517 แต่หลังจากที่ ม. ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 ผู้ร้องก็ครอบครองที่ดินเรื่อยมา ผู้ร้องจึงมีสิทธินับเวลาที่ ม. ครอบครองรวมเข้ากับเวลาครอบครองของผู้ร้องได้ ซึ่งเป็นเหตุที่ผู้ร้องไม่ได้อ้างไว้ในคำร้องขอ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องขอนอกประเด็นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5580/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยครบทุกประเด็นข้อต่อสู้ จำเลยฎีกาไม่ขึ้น จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยมีข้อต่อสู้รวม 16 ประเด็น แต่คดีไม่มีการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นจึงนำประเด็นต่าง ๆ ในคำให้การของจำเลยบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกันมาวินิจฉัยรวมกันเป็น 9 ประเด็น โดยมิได้วินิจฉัยเรียงตามประเด็นในคำให้การของจำเลย ซึ่งจำเลยก็อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้ง 9 ประเด็น และขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่อ้างว่าขาดไป 7 ประเด็นด้วย ศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยโดยยกประเด็นที่เห็นว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยขึ้นมาวินิจฉัยให้ก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และในตอนท้ายศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าสำหรับอุทธรณ์นอกจากนี้ของจำเลยไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้แสดงว่าเมื่อจำเลยอุทธรณ์ตามข้อต่อสู้ในคำให้การทั้ง 16 ประเด็นศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนหนึ่งประเด็น เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีและศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จากนั้นได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาวินิจฉัยจนครบถ้วนทุกประเด็น และได้ตรวจวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เหลือแล้วเห็นว่าไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์จึงไม่วินิจฉัยให้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยครบทั้ง 16 ประเด็น ตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) จึงไม่มีเหตุให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภัยร้ายแรงต่อสังคม: ศาลวินิจฉัยได้แม้โจทก์มิได้นำสืบ หากเป็นที่รู้กันทั่วไป
การกระทำความผิดใดจะเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป โดยโจทก์มิต้องนำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1)ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และสภาพความผิดดังกล่าวศาลอาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้ไม่มีการนำสืบจำนวนเงินโดยละเอียด ศาลวินิจฉัยได้ตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จำนวน 1 เดือน กับ 16 วัน เป็นเงิน 107,333 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบถึงวิธีการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความถึงเงินจำนวนตามฟ้องเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างอัตราค่าจ้างเดือนละเท่าใด สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าย่อมเพียงพอที่ศาลแรงงานจะวินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่เพียงใด ไม่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่คู่ความนำสืบไว้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การชั้นจับกุม/สอบสวน, คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด, พยานหลักฐานประกอบ, การวินิจฉัยความผิด, การรอการลงโทษ
ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้น สุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้
โจทก์มีร้อยตำรวจโท ฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสารหมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธตามเอกสารหมาย จ.14และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18 ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด และระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ.ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตาย ประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับ บ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่า ส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ. เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อช่วย บ.จริง
ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของ ร.และ น.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของ ส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว
เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้
โจทก์มีร้อยตำรวจโท ฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสารหมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธตามเอกสารหมาย จ.14และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18 ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด และระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ.ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตาย ประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับ บ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่า ส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ. เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อช่วย บ.จริง
ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของ ร.และ น.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของ ส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว
เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การว่าจ้างทำของและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ศาลไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้องหากเชื่อมโยงกับการว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าว่าจ้างโจทก์ทำอุปกรณ์บรรจุเทปเพลง ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาจ้างทำของ ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ทำสินค้าตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ได้นำสืบถึงความเป็นมาแห่งคดีและได้แสดงเอกสารและวัตถุพยานเกี่ยวกับการว่าจ้างรายนี้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เป็นการเข้าหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและการรื้อถอนอาคาร ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นหากไม่ได้กำหนดไว้
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง