พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีที่ดินพิพาท, อายุความ, การรับฟังพยานหลักฐาน, และการแก้ไขค่าทนายความ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้ บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องนั้น บังคับแก่คดีดังกล่าว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด" โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลใช้บังคับจึงไม่อาจนำบทบัญญัติที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วมาใช้บังคับ แก่คดีของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมก่อนที่ได้เสร็จ การสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาท เป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อ เอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็น ข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ในประเด็นดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณีการที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาล แต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสาร ดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริง ย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาท เป็นของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อ เอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยก ประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 183 เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าปัญหานี้เป็น ข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ในประเด็นดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนจะต้องคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณีการที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาล แต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารที่โจทก์นำสืบนั้นไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสาร ดังกล่าวแทนต้นฉบับได้
ข้อฎีกาที่เป็นการอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับความเป็นจริง ย่อมไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดวันเริ่มค่าเสียหายจากการบุกรุกที่ดิน ต้องสอดคล้องกับวันทำละเมิด
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่ปี2536 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์เมื่อเดือนมิถุนายน 2536 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่ปี 2536 ซึ่งมีความหมายว่านับแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป จึงไม่ชอบเพราะเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายก่อนวันทำละเมิด ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เนื่องจากตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปไถที่ดินวันใดแน่ จึงกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2536 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าและชิงทรัพย์ด้วยอาวุธปืน ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและแก้ไขคำพิพากษา
จำเลยร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนเล็กกลยิงมาทางผู้เสียหาย ทั้งหกในขณะนั่งมาในรถยนต์ซึ่งแล่นมาตามถนนสายพัทลุง-ตรัง โดยจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ากระสุนปืน ที่จำเลยกับพวกใช้ยิงอาจถูกผู้เสียหายทั้งหกซึ่งนั่งอยู่ ในรถยนต์ได้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งหก เพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ จำเลยกับพวกลงมือ กระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนถูกรถยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ได้รับความเสียหาย ถูกผู้เสียหายที่ 5 ได้รับบาดเจ็บและกลุ่มผู้เสียหายหลบหนีได้ทัน จำเลยกับพวก ไม่อาจชิงทรัพย์ได้สำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกัน พยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งหกเพื่อความสะดวกในการที่จะ กระทำความผิดอย่างอื่นและฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์ ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 5 ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนนอกจากที่กำหนดใน กฎกระทรวงไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าว ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกัน พยายามชิงทรัพย์ตามมาตรา 78 วรรคสาม ฐานร่วมกัน พยายามฆ่าผู้อื่น และฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิด ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: คำนวณค่าชดเชยได้ แม้จำนวนไม่แน่นอน ศาลแก้ไขจำนวนเงินฟ้องเกินสิทธิ
ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนแม้จะมีจำนวนไม่แน่นอน และไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็น การจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าว เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน โดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวม เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์ มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงิน ดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็น ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7598/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าเสียหายในคดีละเมิด: ศาลแก้ไขค่าเสียหายให้ตรงตามที่ฟ้องได้ แม้ไม่มีการฎีกา
จำเลยได้นำเสาปูนมาปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่ให้รถยนต์ของโจทก์ผ่านทางพิพาทไปยังที่ดินของโจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงสีและเลี้ยงเป็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนในการใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง 30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535 เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง 30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535 เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจพิจารณาแก้ไขค่าทดแทนได้ และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงิน
เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนพ.ศ. 2533 และยังเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วยดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงมีอำนาจควบคุมการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน และมาตรา 27 ให้อำนาจสั่งคณะกรรมการดังกล่าวทบทวนราคาอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนใหม่ได้ มาตรา 25 ให้อำนาจจำเลยที่ 4แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และยังเป็นผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย เช่นนี้การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำในหน้าที่แทนกระทรวงคมนาคมจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นต้นสังกัดที่มีอำนาจหน้าที่ในการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฉะนั้นเมื่อโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวเห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกกำหนดเป็นเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวยังไม่เป็นธรรมและยังไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยที่ 4 วินิจฉัยซึ่งมาตรา 26 ก็กำหนดให้โจทก์ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำเลยเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 9 กำหนด หรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยรัฐมนตรีหรือศาลแล้วแต่กรณีดังนั้นรัฐมนตรีหรือศาลจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีกชั้นหนึ่ง และหากรัฐมนตรีหรือศาลพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นสมควรกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนหรือจำนวนเงินค่าทดแทนมากกว่าที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดหรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยแล้วแต่กรณี ค่าทดแทนส่วนที่มากกว่าก็คือส่วนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามนั่นเอง เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้ทำสัญญารับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนกับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้นในวันครบกำหนด 120 วันดังกล่าว คือวันที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทางภารจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีทางสาธารณะ ศาลแก้ไขแนวทางผิดพลาด
โจทก์และบริวารเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1อย่างปรปักษ์ นานเกินกว่า 10 ปี แม้ที่ดินของโจทก์ด้านหนึ่งจะติดกับทางสาธารณะอยู่แล้วก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะได้สิทธิในทางภารจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบด้วยมาตรา 1382 ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภารจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่า: ศาลแก้ไขคำวินิจฉัยคชก.บางส่วนได้ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้มติคชก.จังหวัดได้ถึงที่สุดไปแล้ว แต่การพิจารณาของคชก.จังหวัดเฉพาะเรื่องราคาที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลบังคับตามมติในเรื่องนี้ของ คชก.จังหวัดไม่ได้ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 ประกอบ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 24 แต่คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบ ส่วนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทเป็นคำวินิจฉัยส่วนหลักนั้นชอบด้วยกฎหมายไม่เสียไป ดังนั้น ในส่วนประกอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ศาลมีอำนาจพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้วพิพากษาให้ถูกต้องได้ แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าราคาที่ดินพิพาทตามที่จดทะเบียนไว้เท่ากับราคาตลาดตรงกับราคาที่ คชก.จังหวัด แต่ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นศาลของศาลชั้นต้นเอง มิใช่เป็นการถือและบังคับตามการวินิจฉัยชี้ขาดของคชก.จังหวัด คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาข้อพิพาทในส่วนนี้ได้ ไม่เข้าข้อห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 26
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา54 บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาที่เช่าจากผู้รับโอนโดยตรง หากการขายนาที่เช่ามิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่านาที่ดินพิพาทและผู้ให้เช่านาขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ทั้งโจทก์ได้ร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้ผ่านขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าเดิมมีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบ้าง ที่จะต้องฟ้องเป็นจำเลยด้วย
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา54 บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาที่เช่าจากผู้รับโอนโดยตรง หากการขายนาที่เช่ามิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่านาที่ดินพิพาทและผู้ให้เช่านาขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ทั้งโจทก์ได้ร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้ผ่านขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าเดิมมีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบ้าง ที่จะต้องฟ้องเป็นจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค้ำประกันและค่าใช้จ่ายบังคับจำนอง: ศาลแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและรับรองค่าประกาศ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน 89,051.47 บาท นับแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2529จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด ในเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้ว แต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการละเมิดนับแต่วันเกิดเหตุ ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันละเมิด
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายในมูลละเมิดเป็นเงิน 18,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 31พฤษภาคม 2528 อันเป็นวันละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของค่าเสียหายที่ขอมาจำนวน 18,500 บาท และในส่วนของดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดถึงวันที่30 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องที่ขอมาเป็นทุนทรัพย์จำนวน1,387.50 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นสำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวตามอัตราในตาราง 1(1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คิดเป็นเงิน 35 บาท และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตในส่วนของคำขอที่ให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามตาราง 1(4) อีกที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตมา 100 บาท จึงเกินไป แต่ก็เท่ากับว่าโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยจำนวน 35 บาท ครบถ้วนแล้ว