คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการขาดนัดพิจารณา: ศาลแพ่งมีอำนาจอนุญาตเลื่อนคดีได้ แม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน
วันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ไม่ได้ไปศาลเจ้าของคดีตามนัด แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์และทนายโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ อ้างเหตุว่าทนายโจทก์ป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และความเห็นของแพทย์แนบไปด้วยศาลแพ่งจึงสั่งให้โจทก์เลื่อนคดีและได้แจ้งให้ศาลเจ้าของคดีทราบอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลแพ่งมีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง แม้โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก่อนวันสืบพยาน 3 วันก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลเจ้าของคดีสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาก่อนทราบคำสั่งของศาลแพ่งดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ศาลเจ้าของคดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลบังคับจำนอง: ที่ดินตั้งอยู่ ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณา
การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 นั้น จะต้อง พิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ หรือไม่ จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์หรือไม่ และจำเลยที่ 2ต้อง ร่วม รับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ อันเป็นการพิจารณาถึง สิทธิที่โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำนอง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วย อสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัด เชียงใหม่ ก็ตาม แต่ เมื่อที่ดินที่จำนองอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองต่อ ศาลแพ่งซึ่ง เป็นศาลที่ทรัพย์ตั้ง อยู่ในเขตได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ศาลแพ่งยกฟ้องคดีละเมิด การชำระหนี้ตามสัญญาเป็นไปโดยมีมูล
โจทก์ขับรถยนต์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชนกับรถยนต์โดยสารปรับอากาศของบุคคลภายนอก คณะกรรมการสอบสวนของจำเลยมีมติว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาท โจทก์จึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนและเงินอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรายนี้เจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศได้ฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่รถชนกันไม่ได้เกิดจากความประมาทของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ดังนี้การที่จำเลยหักเงินของโจทก์ไว้ตามสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายของรถยนต์จำเลยและค่าช่วยเหลือผู้โดยสารในรถยนต์ของจำเลยที่บาดเจ็บที่จำเลยจ่ายไป จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินมาโดยมีมูลจะอ้างกฎหมายได้ คำพิพากษาในคดีระหว่างบุคคลภายนอกกับโจทก์และจำเลยย่อมผูกพันระหว่างบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น ความเสียหายของจำเลยที่โจทก์ยอมรับชดใช้ยังคงมีอยู่ หามีผลทำให้การชำระหนี้ของจำเลยกลับเป็นไม่มีมูลจะอ้างกฎหมายได้อีกไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการรับคำร้อง: ศาลแพ่งมีอำนาจรับคำร้องแม้มีข้อโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจ หากได้เริ่มกระบวนการพิจารณาแล้ว
การที่ศาลแพ่งได้รับคำร้องของผู้ร้อง ส่งสำเนาให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามคัดค้าน และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จนกระทั่งมีการนัดไต่สวนพยานของผู้คัดค้านไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ให้อำนาจไว้แล้ว ศาลแพ่งชอบที่จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลเฉพาะ และเขตอำนาจศาลที่คู่ความมีภูมิลำเนา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7(4) ศาลที่คู่กรณีพึงตกลงกันให้ฟ้องคดีจะต้องเป็นศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือมูลคดีเรื่องนั้นได้เกิดขึ้น หรือทรัพย์สินที่พิพาทกันนั้นตั้งอยู่ในเขตศาลอย่างใดอย่างหนึ่ง คดีนี้โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันและตกลงกันว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ให้เสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพมหานคร เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และขณะที่ทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ภูมิลำเนาของโจทก์ขณะทำสัญญาจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง กรณีพึงเห็นเจตนาของโจทก์จำเลยที่ระบุในสัญญาว่าให้เสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพมหานครก็คือศาลแพ่งนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพฯ และเขตอำนาจศาลเมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองได้กำหนดไว้ด้วยว่า ให้เสนอคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าวต่อศาลในกรุงเทพมหานคร และเมื่อขณะทำสัญญานั้นโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรณีย่อมพึงเห็นเจตนาของโจทก์จำเลยทั้งสองได้ว่า ศาลในกรุงเทพมหานครที่ระบุในสัญญาให้เสนอคดีนั้นก็คือศาลแพ่งนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แม้แก้ฟ้องภายหลัง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างต่อศาลแพ่งโดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร ศาลแพ่งสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสมุทรสาคร โจทก์จึงแก้ฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองใหม่ ศาลแพ่งอนุญาตและในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองที่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต เมื่อศาลแพ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) ได้ด้วยและศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งได้ตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว แม้คำร้องขอของโจทก์จะยื่นเข้ามาภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้วก็ตามย่อมแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ศาลใช้ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครโจทก์ขอแก้ฟ้องโดยแก้ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง และยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต ดังนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 4 เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่ศาลแพ่งยังมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจของศาลแพ่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) เมื่อศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามคำร้องขอของโจทก์ ก็แสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจ ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แล้ว คำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลแพ่งของโจทก์ แม้ข้อความในคำร้องของโจทก์บางตอนเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) ศาลแพ่งก็มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งได้ หากคดีเชื่อมโยงกับจำเลยที่ 2 ผู้มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งนอกเขต, การใช้ทรัพย์ผิดวัตถุประสงค์, การเลิกสัญญาเช่า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา4 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่สำหรับอำนาจของศาลแพ่งนั้นยังมีอำนาจที่จะพิจารณา พิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งด้วยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.14(4) คดีที่เกิดนอกเขตศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่ง เมื่อศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จ ดังนี้แสดงว่า ศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.14(4) แล้ว
of 4