พบผลลัพธ์ทั้งหมด 412 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินทดแทนของลูกจ้างที่ประสบอันตรายและการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 25 ที่ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแล้วขอรับเงินทดแทนคือจากสำนักงานประกันสังคมได้ มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้างผู้ประสบอันตรายตามมาตรา 49 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายได้ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมจำเลยตามมาตรา 49 และนายจ้างได้แจ้งการประสบอันตรายของโจทก์ต่อจำเลยตามมาตรา 48 เมื่อจำเลยแจ้งมติของคณะอนุกรรมการแพทย์ให้โจทก์และนายจ้างของโจทก์ทราบแล้ว แม้นายจ้างของโจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนอันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 52 เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ตามมาตรา 53 เป็นกรณีมีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: อธิบดีศาลแรงงานกลางมีอำนาจวินิจฉัยเด็ดขาด หากมีปัญหาเรื่องอำนาจศาล
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานและมีคำสั่งไม่รับฟ้องนั้น แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่ ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: โจทก์มีสิทธิวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของ ศ. ลูกจ้างและก่อนถึงแก่ความตาย ศ. ไม่ได้เลี้ยงดูโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตของ ศ. เนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ซึ่งจำเลยก็วินิจฉัยเฉพาะในปัญหานี้ว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในชั้นพิจารณาของจำเลยจึงไม่มีปัญหาว่าโจทก์ซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ศ. มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของจำเลยและนำคดีไปสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. หรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
การนำคดีไปสู่ศาลแรงงานกรณีผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน ฯ มาตรา 53 วรรคหนึ่ง ผู้อุทธรณ์สามารถกระทำได้เฉพาะในปัญหาที่ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น ผู้อุทธรณ์จะนำปัญหาอื่นที่ตนมิได้อุทธรณ์ไปสู่ศาลแรงงานย่อมมิได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่วินิจฉัยคำร้องที่โจทก์ขอรับเงินทดแทนกรณี ศ. เสียชีวิตว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. และโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตาย โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนเนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตายหรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นปัญหาเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องพิจารณาพยานหลักฐานจากทุกฝ่าย ไม่จำกัดเฉพาะสำนวนพนักงานตรวจแรงงาน
การพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายดังกล่าวหาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 หรือในกรณีที่เป็นคดีทำนองเดียวกับคดีปกครองแล้ว ในการพิจารณาคดีของศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น ศาลแรงงานจะพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใด ๆ ที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมในชั้นพิจารณาคดีของศาลแรงงานไม่ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานดังกล่าวคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนข้อเท็จจริงของพนักงานตรวจแรงงาน โดยมิได้นำพยานหลักฐานใดที่โจทก์นำสืบเพิ่มเติมไว้ในการพิจารณาคดีมาพิจารณาประกอบด้วย จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยแรงงานและการสืบพยานในศาลแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 บัญญัติว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ทันทีที่เลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ซึ่งจำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยในค่าชดเชยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
การสืบพยานในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ซึ่งในมาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แต่หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในอันที่จะให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร คดีนี้เมื่อศาลแรงงานภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงจากการที่ ศ. ตอบคำซักถามของศาล และคำเบิกความของ ว. ต่อศาลตามที่บันทึกไว้ได้ความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้แล้ว จึงไม่จำต้องเรียกพยานจำเลยทั้งสองมาสืบใหม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 ได้ซักถามตัวโจทก์โดยไม่อนุญาตให้ทนายความของคู่ความและตัวความซักถามโจทก์ เป็นการชอบด้วยมาตรา 45 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว ศาลแรงงานภาค 2 สามารถนำคำเบิกความของโจทก์มาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้
การสืบพยานในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ซึ่งในมาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แต่หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในอันที่จะให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร คดีนี้เมื่อศาลแรงงานภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงจากการที่ ศ. ตอบคำซักถามของศาล และคำเบิกความของ ว. ต่อศาลตามที่บันทึกไว้ได้ความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้แล้ว จึงไม่จำต้องเรียกพยานจำเลยทั้งสองมาสืบใหม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 ได้ซักถามตัวโจทก์โดยไม่อนุญาตให้ทนายความของคู่ความและตัวความซักถามโจทก์ เป็นการชอบด้วยมาตรา 45 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว ศาลแรงงานภาค 2 สามารถนำคำเบิกความของโจทก์มาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในคดีเลิกจ้าง: สั่งให้รับกลับทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้มิได้มีคำขอ
บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชยแรงงาน: ศาลยืนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน อัตรา 15% ต่อปี แม้โจทก์มิได้ขอ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์มิได้ขอมาในฟ้อง จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุจากไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงและให้เหตุผลไม่เพียงพอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง กระทำผิดซ้ำหนังสือเตือน ละทิ้งหน้าที่ ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำผิดของโจทก์ ศาลแรงงานกลางอ้างถึงหนังสือเลิกจ้างที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิด หลายประการ แต่ไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหานั้นว่า โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ กระทำผิดอะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร โดยศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงอื่นประกอบ แล้ววินิจฉัยคลุมไปที่เดียวว่า การกระทำของโจทก์ไม่น่าเป็นการกระทำผิดหากจะเป็นความผิดก็มิใช่ความผิดที่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์ไม่เชื่อฟังหรือดื้อดึง ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาอันเป็นกรณีร้ายแรงหรือเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นคำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้างและการฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้าง ขอให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม