คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลไม่อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีใหม่เพื่อแก้ไขผลจากหมายห้ามชั่วคราว ศาลไม่อนุญาต ต้องใช้สิทธิในคดีเดิม
บุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวในคดีเดิมหากประสงค์จะขอให้ศาลถอนหมายห้ามชั่วคราวก็ชอบที่จะยื่นคำขอในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 วรรคหนึ่ง ไม่อาจฟ้องขอให้หมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวไม่มีผลบังคับเป็นคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติคดีสามัญ หากไม่ปฏิบัติตามศาลไม่อนุญาต
แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้อง แต่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะใน ป.วิ.พ.ลักษณะ 2 หมวดที่ 1ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ จึงต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179 (3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์คดีสามัญ หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีสิทธิไม่อนุญาต
แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้องแต่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้นเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวดที่ 1ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ จึงต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179(3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไข เพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าว โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องชัดเจนตามประกาศ ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยกเหตุอื่นที่ไม่แจ้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงค่าชดเชย
ตามประกาศของจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากงาน จำเลยอ้างเหตุ เพียงว่าโจทก์ละทิ้งการปฏิบัติงานเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในประกาศเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาลเพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้ประเด็นข้อนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ได้แก่ 1. เล่นการพนัน 2. ดื่มสุราในโรงงาน3. ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4. ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกันดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 178มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อนโดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่ขัดแย้งกับการบังคับคดี ศาลไม่อนุญาตให้เพิกถอนการจดทะเบียน
ในขณะที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนให้จำเลยที่1โอนที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์นั้นเป็นช่วงเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังประกาศขายทอดตลาดที่ดินส่วนของจำเลยที่1และพ. ตามคำสั่งศาลในคดีหลังจึงเป็นกรณีที่จำเลยที่1ไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาคดีก่อนได้และปรากฎว่าจำเลยที่1ได้คืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยนำมาวางไว้ต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการปฎิบัติตามขั้นตอนของการบังคับคดีที่กำหนดไว้ก่อนหลังตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายดังนั้นการที่จำเลยที่2ซื้อที่ดินส่วนของจำเลยที่1และพ. จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลและจดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลไม่อนุญาต
ที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับจำนวน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นกรณีเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ โดยไม่แสดงเหตุผลอันสมควร และการหักกลบลบหนี้จากหนี้ที่มีข้อพิพาท
ครั้งแรกจำเลยขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยอ้างว่าพยานไปงานแต่งงานญาติที่จังหวัดนครปฐม ศาลสั่งให้เลื่อนคดีไป แต่ในการนัดสืบพยานนัดต่อมาจำเลยขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สองอ้างว่าพยานไปโอนที่ดินที่จังหวัดนครนายกศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาผ่อนผันอนุญาตให้เลื่อนคดีไป ในการพิจารณาคดีต่อมาจำเลยกลับขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สาม อ้างว่าพยานป่วย โดยมิได้อ้างเหตุผลว่าป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อย่างไร อันเป็นเหตุผลตามกฎหมายในข้อที่ว่าไม่อาจก้าวล่วงเสียได้อย่างไร นอกจากนี้จำเลยไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 40วรรคหนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงข้อที่จำเลยไม่อ้างเหตุขอเลื่อนดคีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว ประกอบกับคำแถลงของทนายจำเลยในนัดที่ขอเลื่อนคดีครั้งที่สองว่าหากจำเลยไม่นำพยานมาศาลในการพิจารณานัดต่อไปถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต่อไปได้
จำเลยอ้างว่า โจทก์ค้างชำระค่าจอดรถเดือนละ 5,000 บาทปรากฏว่าโจทก์เคยเจรจากับจำเลยแล้วว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าส่วนนี้เพราะเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนที่จำเลยไม่ให้โจทก์ใช้ถนนหน้าโกดัง เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยอ้างดังกล่าวโจทก์ได้โต้แย้งและไม่ยอมรับสิทธิเรียกร้องที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ เป็นหนิ้ที่ยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิได้ ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 344


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์โดยผู้ร้องต่างกรรมสิทธิ์ ศาลไม่อนุญาตรับคำร้องหากไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
โจทก์นำยึดที่ดิน 1 แปลงของจำเลยที่ 1 และบ้าน 1 หลังของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์รวมมาในคำร้องฉบับเดียวกันโดยผู้ร้องที่ 1 ร้องขอให้ปล่อยที่ดินแห่งหนึ่ง ส่วนผู้ร้องที่ 2 ร้องขอให้ปล่อยบ้านอีกแห่งหนึ่งผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันไม่ใช่ข้อที่จะแสดงว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาและการขอถอนตัวจากตำแหน่งผู้อนุบาล ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฎีกา แต่สั่งถอนจำเลยจากตำแหน่งตามความประสงค์
จำเลยขอถอนฎีกาและขอถอนตัวจากการเป็นผู้อนุบาลส.แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ค้านศาลฎีกาก็ใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาและสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลส ตามความประสงค์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่ยากจน และเป็นการประวิงคดี
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดเวลาให้ผู้ร้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมถึง 7 วัน ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าผู้ร้องไม่ใช่คนยากจนโดยไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้ว การที่ผู้ร้องกลับมาขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องเป็นคนยากจน ระยะเวลาที่กำหนดให้ไม่เพียงพอ จึงมีลักษณะเป็นการประวิงคดีถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอให้ขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
of 9