พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอำนาจตัวแทนจัดการศาสนสมบัติของวัด และขอบเขตการตีความคำว่า 'พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง'
คำว่า "พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง" ในมาตรา 26 แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ.2486 ย่อมหมายความรวมถึงพระภิกษุในวัดอื่นด้วย
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่างๆ จะถอนการจัดการดังกล่าว นอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสงฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่างๆ จะถอนการจัดการดังกล่าว นอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสงฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินศาสนสมบัติยักยอกเงินเข้าตนเอง มีความผิดตามมาตรา 147
จำเลยมีตำแหน่งเป็นครูประชาบาลเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการแผนกศึกษาธิการ ให้ทำหน้าที่จัดการศาสนสมบัติอันเป็นราชการได้ เมื่อจำเลยเบิกเงินศาสนสมบัติมาแล้วเบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต จึงมีความผิดตามมาตรา 147 แม้เงินศาสนสมบัติที่ยักยอกไปเป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ก็หาใช่ข้อสำคัญแห่งคดีไม่ เพราะฟังได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยเบิกมาตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการบุกรุกศาสนสมบัติ ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายแม้โจทก์มิได้นำสืบ
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทและไม่บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขอ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 100 บาทและเดือนต่อๆไปอีกเดือนละ 2 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนเรือนออกไปจากที่พิพาท ดังนี้เป็นแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
ตาม พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ มาตรา 43 เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการวัดและสมบัติของวัด จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หรือจะมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องความแทนก็ได้
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง การวินิจฉัยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจจึงไม่เป็นการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากฟ้อง (นอกฟ้อง)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดแม้โจทก์จะนำสืบความเสียหายไม่ได้ว่ามีจำนวนแค่ใดแน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามที่เห็นสมควร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 (ฎีกาที่ 1499/2498 และ1494/2498)
ตาม พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ มาตรา 43 เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการวัดและสมบัติของวัด จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หรือจะมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องความแทนก็ได้
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง การวินิจฉัยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจจึงไม่เป็นการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากฟ้อง (นอกฟ้อง)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดแม้โจทก์จะนำสืบความเสียหายไม่ได้ว่ามีจำนวนแค่ใดแน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามที่เห็นสมควร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 (ฎีกาที่ 1499/2498 และ1494/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีศาสนสมบัติ, การแต่งตั้งทนาย, และการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินวัด
กรมการศาสนามีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาสนสมบัติของวัดได้เพราะมีระเบียบตราไว้ให้มีอำนาจจัดการผลประโยชน์ของวัด
อธิบดีผู้ซึ่งมีกระแสพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังไม่ได้รับทราบคำสั่งและยังไม่ได้ส่งมอบงานย่อมยังมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมได้
เมื่อตำแหน่งอธิบดีว่างลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงย่อมมีอำนาจตั้งข้าราชการชั้นใด ๆ ก็ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดี ในเมื่อเห็นเป็นการสมควรผู้รักษาการผู้ได้รับคำสั่งนั้นย่อมมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมนั้นได้.
อธิบดีผู้ซึ่งมีกระแสพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังไม่ได้รับทราบคำสั่งและยังไม่ได้ส่งมอบงานย่อมยังมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมได้
เมื่อตำแหน่งอธิบดีว่างลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงย่อมมีอำนาจตั้งข้าราชการชั้นใด ๆ ก็ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดี ในเมื่อเห็นเป็นการสมควรผู้รักษาการผู้ได้รับคำสั่งนั้นย่อมมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีศาสนสมบัติ, การแต่งตั้งทนายของผู้พ้นตำแหน่ง, และการบอกเลิกสัญญาเช่า
กรมการศาสนามีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาสนสมบัติของวัดได้เพราะมีระเบียบตราไว้ให้มีอำนาจจัดการผลประโยชน์ของวัด
อธิบดีผู้ซึ่งมีกระแสพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งแล้วแต่ยังไม่ได้รับทราบคำสั่งและยังไม่ได้ส่งมอบงาน ย่อมยังมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมได้
เมื่อตำแหน่งอธิบดีว่างลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงย่อมมีอำนาจตั้งข้าราชการชั้นใดๆ ก็ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดี ในเมื่อเห็นเป็นการสมควรผู้รักษาการผู้ได้รับคำสั่งนั้นย่อมมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมนั้นได้
อธิบดีผู้ซึ่งมีกระแสพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งแล้วแต่ยังไม่ได้รับทราบคำสั่งและยังไม่ได้ส่งมอบงาน ย่อมยังมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมได้
เมื่อตำแหน่งอธิบดีว่างลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงย่อมมีอำนาจตั้งข้าราชการชั้นใดๆ ก็ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดี ในเมื่อเห็นเป็นการสมควรผู้รักษาการผู้ได้รับคำสั่งนั้นย่อมมีอำนาจตั้งทนายแทนกรมนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของวัด: เจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการศาสนสมบัติและฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า ...ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกรณีทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี... และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงเป็นผู้แทนของวัด และมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งคำว่า จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดนั้น หมายถึง การบริหารจัดการวัดและศาสนสมบัติของวัดนั่นเอง โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดิน ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโจทก์โดยละเมิดได้ ส่วนบทบัญญัติมาตรา 40 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้น หาตัดสิทธิตัวการที่กระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ อีกทั้งคดีนี้เป็นการฟ้องให้รับผิดในข้อหาละเมิด เมื่อโจทก์หรือเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่แล้ว โจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ พ. หรือ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้น หาตัดสิทธิตัวการที่กระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ อีกทั้งคดีนี้เป็นการฟ้องให้รับผิดในข้อหาละเมิด เมื่อโจทก์หรือเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่แล้ว โจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ พ. หรือ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20664/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของเจ้าอาวาส กรณีที่ดินศาสนสมบัติ และการมอบอำนาจฟ้องคดี
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัด มีหน้าที่บำรุงรักษาวัด การบริหารจัดการกิจการและศาสนสมบัติของวัด โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโดยละเมิดได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้นหาตัดสิทธิตัวการที่จะกระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ และโจทก์โดยเจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้นหาตัดสิทธิตัวการที่จะกระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ และโจทก์โดยเจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460-6472/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินวัด การรวมวัด การครอบครองปรปักษ์ และการฟ้องขับไล่
วัดโคกเป็นวัดร้างที่รวมเข้ากับวัดโจทก์ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ รัตนโกสินทร์ศก 121 ออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรวมวัดที่ไม่ชอบหรือขัดต่อกฎหมายที่ดินวัดโคกที่รวมเข้ากับวัดโจทก์จึงเป็นศาสนสมบัติของโจทก์ มิใช่ศาสนสมบัติกลางซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาที่จะดูแลรักษาและจัดการ โจทก์ชอบที่จะขอออกโฉนดครอบคลุมที่ดินทั้งหมดอันเป็นศาสนสมบัติของตนได้
วัดโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านพักอาศัย ทั้งการฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของวัดโดยละเมิดไม่ได้อยู่ในบังคับที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาหรือได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
จำเลยทั้งสิบสามต่างคนต่างเป็นจำเลยในแต่ละสำนวนที่ถูกโจทก์ฟ้องเท่านั้น มิได้เป็นจำเลยในสำนวนอื่นที่ได้รวมพิจารณาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยมิได้สั่งแยกเป็นรายสำนวนจึงไม่ถูกต้อง
วัดโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านพักอาศัย ทั้งการฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของวัดโดยละเมิดไม่ได้อยู่ในบังคับที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาหรือได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
จำเลยทั้งสิบสามต่างคนต่างเป็นจำเลยในแต่ละสำนวนที่ถูกโจทก์ฟ้องเท่านั้น มิได้เป็นจำเลยในสำนวนอื่นที่ได้รวมพิจารณาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยมิได้สั่งแยกเป็นรายสำนวนจึงไม่ถูกต้อง