คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศีลธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของเพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดิน: ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นได้ ดังนี้กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็นกิจการที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น โดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น เงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587ตามปกติ และหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของเพื่อขอค่าเวนคืนที่ดินเพิ่ม ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม ไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดิน เพิ่มขึ้นได้ ดังนี้ กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์ กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็น กิจการ ที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะ ขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ตามปกติและหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหา ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าจ้างทนายความที่เป็นโมฆะเนื่องจากขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
จำเลยว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้องคดีขับไล่ ตกลงให้ค่าจ้างโจทก์ 250,000 บาท มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี กับให้โจทก์ออกเงินทดรองเป็นค่าขึ้นศาลจำนวน20,400 บาท ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง เช่นนี้ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความหรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบ-เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. 133(เดิม)(มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9259/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพทนายความว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานทนายความ บ.ว่าความเรียกร้องที่ดินคืนจาก พ. ทั้งนี้จำเลยให้สำนักงานทนายความ บ. โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไปก่อน หากได้เงินหรือที่ดินคืน จำเลยจะใช้คืนและจะให้บำเหน็จค่าจ้าง โดยหากได้ที่ดินกลับคืนมาจำนวน 5 ไร่เศษ จะแบ่งที่ดินให้จำนวน 2 ไร่หากได้ที่ดินน้อยกว่านี้จะแบ่งให้ลดหย่อนลงตามส่วนสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ผู้แทนสำนักงานทนายความ บ. กับจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้ทำสัญญาดังกล่าวแทนทนายความในสำนักงานทนายความ บ.แม้ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528มาตรา 27(3)(จ) และมาตรา 51 จะมิได้มีข้อห้ามทนายความเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ตาม แต่การเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีดังกล่าวเป็นการให้ทนายความเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำนองเป็นการซื้อขายความกันและเป็นการยุยงส่งเสริมให้เป็นความกันสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9259/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะเนื่องจากขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
จำเลยทำสัญญากับโจทก์ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพทนายความว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานทนายความบ.ว่าความเรียกร้องที่ดินคืนจากพ. ทั้งนี้จำเลยให้สำนักงานทนายความบ. โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไปก่อนหากได้เงินหรือที่ดินคืนจำเลยจะใช้คืนและจะให้บำเหน็จค่าจ้างโดยหากได้ที่ดินกลับคืนมาจำนวน5ไร่เศษจะแบ่งที่ดินให้จำนวน2ไร่หากได้ที่ดินน้อยกว่านี้จะแบ่งให้ลดหย่อนลงตามส่วนสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ผู้แทนสำนักงานทนายความบ. กับจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้ทำสัญญาดังกล่าวแทนทนายความในสำนักงานทนายความบ.แม้ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา27(3)(จ)และมาตรา51จะมิได้มีข้อห้ามทนายความเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ตามแต่การเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีดังกล่าวเป็นการให้ทนายความเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำนองเป็นการซื้อขายความกันและเป็นการยุยงส่งเสริมให้เป็นความกันสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งเงินรางวัลแจ้งเบาะแสการเลือกตั้ง ไม่ขัดศีลธรรม ไม่เป็นโมฆะ
คำมั่นที่จะให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแส ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา35(1)มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมดังนั้น ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเงินรางวัลจึงไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งเงินรางวัลจากการแจ้งเบาะแสการเลือกตั้ง ไม่ขัดต่อศีลธรรมและมีผลผูกพัน
การที่หนังสือพิมพ์ ท. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและองค์กรกลางให้คำมั่นจะให้รางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 เป็นคำมั่นที่ประกาศแก่คนทั่วไป ซึ่งโจทก์ แม้จะได้รับแต่งตั้งจากองค์กรกลางให้เป็นประธานองค์กรกลางอำเภอ หากเป็นผู้แจ้งเบาะแสก็มีสิทธิจะได้รับรางวัลดังกล่าวได้จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะแบ่งเงินรางวัลตามที่จำเลยจะได้รับจากการแจ้งเบาะแสให้แก่โจทก์ในการกล่าวโทษต่อ พนักงานสอบสวนและเป็นผู้ติดต่อประสานงานรับเงินรางวัลในคดีที่จำเลยเป็นผู้แจ้ง การที่โจทก์กล่าวโทษ น.ต่อพนักงานสอบสวนตามที่ตกลงกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมดำเนินการแจ้งเบาะแสผู้กระทำผิดกับจำเลยต่อพนักงานสอบสวน ดังนั้นข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเงินรางวัล จึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งเงินรางวัลแจ้งเบาะแสการเลือกตั้งไม่ขัดศีลธรรม ไม่เป็นโมฆะ
คำมั่นที่จะให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522มาตรา35(1)มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมดังนั้นข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเงินรางวัลจึงไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งเงินรางวัลแจ้งเบาะแสการเลือกตั้ง ไม่ขัดศีลธรรม ไม่เป็นโมฆะ
คำมั่นที่จะให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522มาตรา35(1)มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมดังนั้นข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเงินรางวัลจึงไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระภิกษุให้กู้ยืมเงินพร้อมดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ไม่ขัดศีลธรรมหรือกฎหมาย
ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พระภิกษุนำเงินส่วนตัวออกให้บุคคลกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย พระภิกษุก็เป็น บุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายทั้งการให้ กู้ยืมเงินเป็นการสงเคราะห์ผู้เดือดร้อนได้ทางหนึ่งการที่โจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุให้จำเลยที่1กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ย่อมมีสิทธินำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ได้
of 8