พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองฝิ่นเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับสถานที่และเจตนา
จำเลยเป็นผู้เช่าแพปลาอันเป็นสถานที่ค้นพบฝิ่นของกลางโดยลักษณะแพปลาที่เกิดเหตุนั้นสภาพภายนอกก่อสร้างด้วยอิฐบล็อกและอีกส่วนหนึ่งเป็นกำแพง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ มีประตูเข้าออกได้สองทาง ประตูหน้าเป็นประตูเหล็กปิดไว้อย่างแน่นหนาและใส่กุญแจไว้ ส่วนประตูอีกด้านหนึ่งปิดตายไว้ซึ่งจะเปิดจากด้านนอกไม่ได้ต้องเปิดจากด้านในเท่านั้น ในวันที่ตรวจค้นนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้งัดกุญแจก่อนแล้วจึงเข้าไปได้ แสดงให้เห็นว่าแพปลาที่เกิดเหตุนี้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปได้โดยลำพังเพราะสถานที่มิดชิดแน่นหนากับใส่กุญแจที่ประตูเหล็กด้านหน้าด้วย ดังนั้น จึงมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าฝิ่นดิบของกลางที่ค้นพบในแพปลา เป็นของจำเลยโดยจำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวนมากเพื่อนำไปจำหน่ายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เขตอำนาจศาลอยู่ที่สถานที่ทำข้อตกลง
จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1520 และมาตรา 1566 (6)เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนเอกชน เหตุไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สถานที่และการเช่าที่ดิน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความในพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ข้อ 6 กำหนดว่า ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้ คือ ถ้าเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปีและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา พ.ศ.2528 ข้อ 5 (1)ระบุว่าที่ดินของโรงเรียนต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,200ตารางเมตร หรือ 2 ไร่ และมีบทเฉพาะกาล ข้อ 16 ระบุว่าโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันใช้ระเบียบนี้ เกี่ยวกับสถานที่และอาคาร ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 5 (1) ถ้าโรงเรียนใดได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้วให้ใช้ต่อไปได้ แต่ถ้าจะขอจัดตั้งใหม่หรือขอเปลี่ยนแปลงจะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เห็นได้ว่าแม้ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนของโจทก์จะมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวก็ตามแต่ต่อมาปรากฏว่าที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายเจ้าของมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และเจ้าของที่ดินที่อาคารของโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไป ทั้งไม่ยินยอมให้โจทก์เช่าที่ดินดังกล่าวด้วยดังนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมิใช่เจ้าของที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียน ทั้งโจทก์ก็มิได้มีสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดิน ย่อมขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าวข้อ 6 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 55 บัญญัติว่า ในกรณีที่สถานที่หรือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนมีสภาพขัดต่อหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18 ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาเอกชนได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ดำเนินการให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงได้มีการออกคำสั่งให้หยุดทำการสอนชั่วคราวและเพิกถอนใบอนุญาตในเวลาต่อมา ฉะนั้นไม่ว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังที่อ้างหรือไม่ ก็ไม่ทำให้กรณีของโจทก์ถูกต้องตามเงื่อนไขในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 แต่อย่างใด กรณีต้องด้วยมาตรา 85 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่บัญญัติให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามมาตรา 18 ได้ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.นี้ หรือกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.นี้ และทำให้เกิดผลเสียหายกล่าวคือ เมื่อเจ้าของที่ดินที่อาคารเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้ใช้ที่ดินต่อไป การเปิดการเรียนการสอนในอาคารดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทำได้ต่อไป ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เด็กนักเรียนและครูผู้สอน คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับระดับประถมศึกษาจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนชอบด้วยกฎหมายเมื่อสถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และเจ้าของที่ดินไม่อนุญาตใช้พื้นที่
ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนของโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2528 แต่ต่อมาที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกไป มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไปจึงมีสภาพขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 55ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจำเลยซึ่งเป็นผู้อนุญาต ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม และทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่นักเรียนและครูผู้สอน กรณีต้องด้วยมาตรา 85(3) ที่ให้อำนาจจำเลยสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ กว้างถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร แม้ไม่มีอาคารถาวร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็น ตัวการ ในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืน ตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คำว่า อาการสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดย ไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9สั่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่องมีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่ เกลือ หิน ขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์ อันเป็นการแปรสภาพ หรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้น ไปถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อ ไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5,8,12,43 วรรคหนึ่ง,44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันฆ่าโดยมีพยานหลักฐานยืนยันช่วงเวลาและสถานที่เกิดเหตุ ทำให้ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด
จำเลยทั้งสองเข้าไปพักในห้องเกิดเหตุกับผู้ตายเวลาประมาณ1 น. ออกจากห้องไปเวลาประมาณ 11 น. พบศพผู้ตายเวลาประมาณ13 น.เศษ แพทย์ทำการผ่าศพตรวจพิสูจน์เมื่อเวลา 18.40 น.สันนิษฐานว่าผู้ตาย ตายมาแล้วอย่างน้อย 12 ชั่วโมง อย่างมากไม่เกิน 15 ชั่วโมง ฉะนั้นเวลาที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นช่วงเวลาระหว่าง 4 ถึง 7 น. ของวันเดียวกันอันเป็นเวลาที่จำเลยทั้งสองยังมิได้ออกไปจากห้องที่เกิดเหตุ ไม่มีเหตุทำให้คิดได้ว่าจะมีผู้อื่นใดฆ่าผู้ตายพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีบ่งชี้อย่างใกล้ชิดว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมกันฆ่าผู้ตาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรในการไม่มาศาลตามนัด: อายุ, ความคุ้นเคยสถานที่, และระยะเวลาค้นหาห้องพิจารณา
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องทนายโจทก์มาศาลหลังจากศาลยกฟ้องโจทก์ไปแล้วการที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่อ้างว่ามาถึงห้องพิจารณาล่าช้าเพราะต้องเสียเวลาไปกับการค้นหาห้องพิจารณาจนเลยกำหนดเวลาไปประมาณ30นาทีนั้นเป็นเหตุที่เป็นไปได้เนื่องจากทนายโจทก์มีอายุ73ปีอยู่ในวัยชราและไม่คุ้นเคยกับห้องพิจารณาของศาลอาญาซึ่งมีจำนวนมากกรณีจึงยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่มีเหตุสมควรศาลต้องดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญาฐานรับของโจร: วันเวลาและสถานที่กระทำความผิดไม่จำเป็นต้องระบุชัดเจนทั้งหมด
โจทก์บรรยายฟ้องวันเวลาเกิดเหตุความผิดฐานรับของโจรไว้ว่าเมื่อระหว่างวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1 จนถึงวันเวลาดังกล่าวในข้อ 2 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยกับพวกได้บังอาจรับของโจร ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดฐานรับของโจรพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุรับของโจรเกิดในท้องที่สองแห่งเกี่ยวพันกันและจำเลยกับพวกร่วมกันรับของโจรทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกลักไป แต่ทางพิจารณาได้ความว่าพบรถยนต์ของกลางอันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่ถูกลักไปในอีกท้องที่หนึ่งซึ่งต่างไปจากที่โจทก์ฟ้องข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กระทำความผิดและทรัพย์ที่จำเลยรับไว้ มิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามิใช่ข้อแตกต่างกันในสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุรับของโจรเกิดในท้องที่สองแห่งเกี่ยวพันกันและจำเลยกับพวกร่วมกันรับของโจรทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกลักไป แต่ทางพิจารณาได้ความว่าพบรถยนต์ของกลางอันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่ถูกลักไปในอีกท้องที่หนึ่งซึ่งต่างไปจากที่โจทก์ฟ้องข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กระทำความผิดและทรัพย์ที่จำเลยรับไว้ มิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามิใช่ข้อแตกต่างกันในสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีรับของโจร: วันเวลาและสถานที่กระทำผิดที่ไม่ชัดเจนไม่ทำให้ฟ้องเคลือบคลุม หากจำเลยไม่หลงต่อสู้
โจทก์บรรยายฟ้องวันเวลาเกิดเหตุความผิดฐานรับของโจรไว้ว่าเมื่อระหว่างวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1 จนถึงวันเวลาดังกล่าวในข้อ 2วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยกับพวกได้บังอาจรับของโจรซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดฐานรับของโจรพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุรับของโจรเกิดในท้องที่สองแห่งเกี่ยวพันกันและจำเลยกับพวกร่วมกันรับของโจรทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกลักไป แต่ทางพิจารณาได้ความว่าพบรถยนต์ของกลางอันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่ถูกลักไปในอีกท้องที่หนึ่งซึ่งต่างไปจากที่โจทก์ฟ้องข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กระทำความผิดและทรัพย์ที่จำเลยรับไว้มิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ถือได้ว่ามิใช่ข้อแตกต่างกันในสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องผิดพลาดเรื่องปริมาณยาเสพติดและสถานที่เกิดเหตุ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าฝิ่นที่จำเลยมีไว้ในความครอบครองราคา64,500 บาท ฝิ่นราคากรัมละ 10 บาท ที่ว่าฝิ่นหนัก 6.450 กรัมจึงเป็นเพราะพิมพ์ผิดที่ถูกน่าจะเป็น 6,450 กรัม หรือ 6.450 กิโลกรัมจึงจะลงตัวกับราคาข้างต้นดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ในทางพิจารณาต่างกับฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องระบุสถานที่เกิดเหตุไว้หลายท้องที่ แม้จะฟังว่าของกลางที่ยึดได้จากบ้านจำเลยไม่ใช่ฝิ่นจึงไม่มีความผิดเกิดขึ้นที่แขวงสามเสนนอกตามที่ระบุไว้ก็ตาม แต่สถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง ก็ไม่แตกต่างกับที่ได้ความในทางพิจารณาเพราะซอยคลังมนตรีที่ตำรวจจับจำเลยได้พร้อมฝิ่นและเฮโรอีนของกลาง ก็อยู่ในแขวงลาดยาว ตามฟ้องนั่นเอง
โจทก์บรรยายฟ้องระบุสถานที่เกิดเหตุไว้หลายท้องที่ แม้จะฟังว่าของกลางที่ยึดได้จากบ้านจำเลยไม่ใช่ฝิ่นจึงไม่มีความผิดเกิดขึ้นที่แขวงสามเสนนอกตามที่ระบุไว้ก็ตาม แต่สถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง ก็ไม่แตกต่างกับที่ได้ความในทางพิจารณาเพราะซอยคลังมนตรีที่ตำรวจจับจำเลยได้พร้อมฝิ่นและเฮโรอีนของกลาง ก็อยู่ในแขวงลาดยาว ตามฟ้องนั่นเอง