คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานประกอบการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมของสหภาพแรงงานในสถานประกอบการ นายจ้างมีสิทธิควบคุมดูแลได้หากไม่มีข้อตกลง
การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมของสหภาพแรงงานในสถานประกอบกิจการของนายจ้างนั้นหากไม่มีข้อกำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ก็ควรมีการควบคุมบ้างพอสมควรเกี่ยวกับเรื่องลักษณะการใช้ถ้อยคำและสถานที่เพราะสถานประกอบกิจการเป็นของนายจ้างซึ่งมีสิทธิขาดบริบูรณ์ในสถานที่นั้นการที่นายจ้างออกคำสั่งห้ามมิให้สหภาพแรงงานเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมภายในสถานที่ของตนโดยกำหนดให้สหภาพแรงงานส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะที่จะดำเนินงานให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่และไม่เป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานตามความหมายของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา121(4)(5) ตราบใดที่คำสั่งห้ามของนายจ้างดังกล่าวยังมีผลอยู่ตลอดเวลาถือว่าการฝ่าฝืนย่อมมีตลอดมาทุกวันโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหานายจ้างผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อยู่ตราบนั้นการนับเวลา60วันตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา124จึงจะเริ่มนับแต่วันที่มีคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด สถานประกอบการมีสิทธิปฏิเสธและไม่จัดประชุม
โรงงานกระดาษบางปะอิน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบกิจการเดียวมีลูกจ้าง 574 คน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 46 (4) ย่อมมีคณะกรรมการลูกจ้างได้สิบเอ็ดคน เมื่อปรากฏว่าโรงงานกระดาษบางปะอินมีคณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งรวมยี่สิบสองคน จึงเกินกว่าจำนวนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 46 (4) กำหนด จำเลยจึงชอบที่จะ ปฏิเสธไม่รับรองคณะกรรมการลูกจ้างและไม่จัดให้มีการประชุมหารือกับ คณะกรรมการลูกจ้างเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือว่ามีสถานประกอบการในไทย
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248,600 บาทจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา40(3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70(2),54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา76 ทวิและ 71(1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต พ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดฯ: เน้นควบคุมค้าของเก่าที่มีสถานประกอบการ
พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474มุ่งประสงค์ควบคุมการค้าของเก่าอันมีที่ทำการค้า มิได้มุ่งหมายถึงหาบเร่ซื้อของเก่าไปขายแก่ร้านค้าของเก่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ได้รับอนุญาตเล่นการพนันไม่ต้องรับผิดหากความผิดเกิดขณะไม่อยู่ที่สถานประกอบการ
ได้มีการเล่นพะนันผิดเงื่อนไขในใบอนุญาตเกิดขึ้นในขณะผู้ได้รับอนุญาตให้เปิดเล่นการพะนันไม่อยู่โดยไปรับทานเข้าเสียที่อื่นเช่นนี้ผู้ได้รับอนุญาตยังไม่มีผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเมื่อนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวจากเหตุสุดวิสัยและผลกระทบจากคำสั่งปิดสถานประกอบการ
กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 17 เมษายน 2563 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79/1 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นเรื่องให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม มิใช่กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง การที่จำเลยไม่ได้ออกหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการตามหนังสือรับรองที่แนบท้ายกฎกระทรวงนี้ ไม่ได้ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากจำเลยตามกฎกระทรวงดังกล่าว
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความของคำว่า สัญญาจ้าง หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ดังนี้ สัญญาจ้างจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ลูกจ้างมีหนี้ที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหนี้ที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนในการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้แก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าจ้างจากนายจ้างต่อเมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง จำเลยหยุดประกอบกิจการเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ปิดโรงแรมทั้งจังหวัดเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือได้ว่าจำเลยหยุดประกอบกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย การที่โจทก์ไม่ได้เข้าทำงานให้แก่จำเลยมิใช่เกิดจากคำสั่งหรือความผิดของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ แต่หากภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลาปิดโรงแรมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์กลับเข้าทำงานให้แก่จำเลย จำเลยก็มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
ศาลแรงงานภาค 8 ยังไม่ได้วินิจฉัยและรับฟังข้อเท็จจริงว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 คำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 1797/2563 ลงวันที่ 2 เมษายน 2563 ที่กำหนดให้ปิดโรงแรม มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น มีผลทำให้จำเลยปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด และจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งฉบับอื่นให้ปิดโรงแรมต่อไปอีกหรือไม่ เพียงใด จำเลยเปิดกิจการตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด โจทก์เข้าทำงานให้แก่จำเลยหรือไม่ หากเข้าทำงาน โจทก์ทำงานตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด อันเป็นข้อเท็จจริงที่จะไปสู่การวินิจฉัยประเด็นว่า จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเองได้ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ต่อไป
of 2