พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุไม่เกิน 17 ปี กระทำผิด พ.ร.ก.สารระเหย ศาลต้องว่ากล่าวตักเตือน ไม่ส่งสถานพินิจ
จำเลยสูดดมสารระเหยซึ่งเป็นความผิดตามพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย มาตรา 17 และขณะกระทำผิดจำเลยอายุยังไม่เกิน 17 ปี จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 24 แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนจำเลยแล้วปล่อยไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ผู้กระทำผิดนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้ตามมาตรา 26(1) ของกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กจึงเป็นการมิชอบ แม้ปัญหานี้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,215,225 เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดจำเลยอายุไม่เกิน 17 ปี พิจารณาถึงสถานะของจำเลยที่อยู่ในวัยเรียน ประกอบพฤติการณ์แห่งความผิดแล้ว เห็นสมควรลงโทษว่ากล่าวตักเตือนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเด็กเข้าสถานพินิจฯ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเป็นเวลา 2 ปีไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74(5) ที่เบากว่าการลงโทษจำคุก เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218แต่ถ้าจำเลยหรือบิดามารดาของจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมมีสิทธิที่จะไปร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งหรือสั่งใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 วรรคท้าย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจฯ ไม่ถือเป็นการลงโทษจำคุก จึงไม่อยู่ในข้อยกเว้นห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษ แม้จะเป็นการแก้ไขมาก แต่ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่างเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กมิใช่การลงโทษจึงถือมิได้ว่าศาลทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 1 ปีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งตัวผู้เยาว์เข้าสถานพินิจไม่ใช่การลงโทษ จึงไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิด ให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางนั้น มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นวิธีการที่เบากว่าการลงโทษจำคุก จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นสถานพินิจสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ตัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้น จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนบางประการเท่านั้น มิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมพิจารณาคดีอาญาเด็กและวิธีการลงโทษแบบไม่ลงโทษ (ส่งสถานพินิจ) การรวมโทษและอำนาจศาล
จำเลยกระทำความผิด 2 กรรม โจทก์ฟ้องเป็น 2 สำนวนเมื่อจะเป็นการสะดวกหากพิจารณารวมกัน ศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้พิจารณารวมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28การพิพากษาความผิดของจำเลยจะต้องพิพากษาทุกกรรม ส่วนวิธีการลงโทษต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แต่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี และศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษ จึงพิพากษาให้ส่งตัวไปรับการฝึกอบรมยังสถานพินิจฯ ดังนี้ ไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 91 เพราะไม่ใช่การลงโทษ จึงรวมกำหนดระยะเวลาการส่งตัวไปรับการฝึกอบรมทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้ ไม่จำต้องกำหนดว่าสำนวนละเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องมีตัวจำเลยในความควบคุมของศาล การควบคุมตัวก่อนฟ้องเป็นอำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจ
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22)หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 33 ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22)หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 33 ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจของศาลส่งตัวเด็กไปสถานพินิจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) เป็นฎีกาต้องห้าม
เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นฎีกาต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 และมาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจส่งตัวเด็กไปยังสถานพินิจฯ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเด็ดขาด ไม่สามารถฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นฎีกาต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 และมาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลบหนีจากสถานพินิจของเด็กและเยาวชน ไม่เข้าข่ายความผิดฐานหลบหนีการควบคุมตามประมวลกฎหมายอาญา
การที่จำเลยถูกคุมขังตามอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเป็นการควบคุมตามอำนาจหน้าที่ของสถานพินิจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ไม่เข้าอยู่ในบทวิเคราะห์ศัพท์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21) และ (22) และไม่ใช่การ'คุมขัง'ตามมาตรา 1(12)แห่งประมวลกฎหมายอาญาฉะนั้นการหลบหนีไปจากการควบคุมของสถานพินิจจึงไม่ถือว่าเป็นการหลบหนีการควบคุมตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190