คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด: สถานะสาขา vs. นิติบุคคลแยก
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นโจทก์ได้รับการสถาปนาจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำดับที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 มาตรา 9 โจทก์ก็ยังคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเท่านั้น เพราะตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 มิได้กำหนดให้กลุ่ม "อุตสาหกรรม"หรือ "กลุ่มท้องที่" ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นนิติบุคคลแยกเป็นต่างหาก เมื่อโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเพียงสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530มาตรา 8 วรรคแรก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่เป็น 'ข้าราชการ' จึงไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดีจำหน่ายยาเสพติด
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการ
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ข้าราชการ' ของทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย อย่างไรเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(8) ให้ความหมายว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย"ทหารกองประจำการ" ว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ดังนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 100

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะข้าราชการทหาร vs. ทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
ข้าราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนข้าราชการ ทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย ซึ่งการเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติข้าราชการทหารฯ เท่านั้น โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ กำหนดให้ "ข้าราชการทหาร"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วน "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ มาตรา 4(8) หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ ให้"ทหารกองประจำการ" หมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯมาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการจึงไม่เป็นข้าราชการ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ระวางโทษจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเป็นสามเท่านั้นจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7413/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเมิดอำนาจศาล: การว่าความโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อสถานะการถูกลงโทษทางอาญา
ผู้ถูกกล่าวหายกข้อเท็จจริงขึ้นมาในชั้นฎีกาว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และขอให้ศาลฎีกาพิพากษาปล่อยผู้ถูกกล่าวหาให้พ้นผิดไปนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากลับให้การปฏิเสธในชั้นฎีกา ข้ออ้างตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวจึงขัดกับคำให้การรับสารภาพและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ผู้ถูกกล่าวหาถูกลงโทษผิดมรรยาททนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 52(2) ที่ห้ามทำการเป็นทนายความภายในกำหนดเวลา ฉะนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาทำคำให้การให้จำเลย 1 ครั้งและว่าความในฐานะทนายความจำเลยอีก 3 ครั้งในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นสำหรับคดีนี้ จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจพึงกระทำได้เพราะผู้ถูกกล่าวหายังไม่พ้นกำหนดห้ามทำการเป็นทนายความดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเสร็จเด็ดขาดในแต่ละครั้งที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำ กรณีเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันซึ่งต้องลงโทษผู้ถูกกล่าวหาทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91และเมื่อความปรากฏต่อศาลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเช่นเดียวกันนี้อีกหลายคดี ศาลจึงมีอำนาจให้นับโทษของผู้ถูกกล่าวหาต่อจากคดีอื่นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 และข้อ 47 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 หมายความว่า ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชา สามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานให้เป็นไปตามข้อบังคับการทำงานหรือระเบียบของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้
โจทก์มีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทจำเลยมีหน้าที่บริหารงานและควบคุมดูแลการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของจำเลย โจทก์ไม่ต้องไปนั่งทำงานประจำดังเช่นพนักงานทั่วไป คงไปประชุมเพียงเดือนละ 1 ครั้ง นอกนั้นจะสั่งการทางโทรศัพท์หรือเรียกพนักงานของจำเลยไปพบที่บริษัทที่โจทก์นั่งทำงานอยู่ โจทก์มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดและไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยแสดงว่าโจทก์ไม่ต้อง ไปทำงานภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: ผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของบริษัท จึงไม่เป็นลูกจ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 และข้อ 47 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาสามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานให้เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของบริษัทจำเลย โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานในบริษัทจำเลยรองจากประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของบริษัทจำเลย อีกทั้งไม่มี ผู้ใดในบริษัทจำเลยสามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้ โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การถือหุ้นและตำแหน่งกรรมการ ไม่ทำให้เกิดความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของบริษัทจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานรองจาก ถ. ซึ่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของจำเลยทั้งไม่มีผู้ใดในบริษัทจำเลยสามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852-919/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการและผลกระทบต่อสถานะลูกจ้าง: ยินยอมโอนย้าย = ไม่เป็นลูกจ้างเดิม
เดิมโจทก์ทั้งหมดเป็นลูกจ้างของจำเลย ต่อมาบริษัท พ. ผู้เช่าเข้ามาเช่าและดำเนินกิจการต่อจากจำเลย การที่จำเลยได้โอนกิจการของตนไปให้บริษัท พ. เช่าดำเนินการต่อ และบริษัท พ. ได้รับโจทก์ทั้งหมดไปทำงานให้แก่บริษัท พ. โดยโจทก์ทั้งหมดมิได้ใช้สิทธิปฏิเสธไม่ยินยอมโอนไปทำงานกับบริษัท พ. ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ให้สิทธิไว้ อีกทั้งเมื่อบริษัท พ. ค้างชำระค่าจ้าง โจทก์ทั้งหมดก็ฟ้องคดีเรียกค่าจ้างค้างชำระเอาแก่บริษัท พ. กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งหมดได้ยอมรับการเปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยไปเป็นบริษัท พ. และยินยอมโอนไปทำงานให้แก่บริษัท พ. แล้ว บริษัท พ. จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมด ตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" และ "ลูกจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515 โจทก์ทั้งหมดจึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังเปลี่ยนสถานะจากบริษัทเอกชน กฎหมายที่ใช้บังคับและข้อยกเว้น
เดิมจำเลยเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชนจำกัดต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงกิจการของจำเลยโดยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ฐานะของจำเลยจึงเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502มาตรา 4 และ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (2)โจทก์ย่อมเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างจำเลยในฐานะบริษัทมหาชนจำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยในฐานะรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยไม่บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม2515 เพราะมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ กำหนดไว้ในข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2534 จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่จำเลยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แม้ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไปแล้วตามมาตรา 3 (1) ก็ตาม แต่มาตรา 4 (2) ก็ได้บัญญัติมิให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ได้
ตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 (3) กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน แม้ข้อ 48 วรรคสอง ในหมวด 7 บทเฉพาะกาล ของระเบียบดังกล่าวจะกำหนดว่า รัฐวิสาหกิจใดจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานสูงกว่าสิทธิประโยชน์ตามระเบียบนี้แล้ว ให้รัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เดิมต่อไปได้ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งเป็นระเบียบและมติที่มีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนฐานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อนก็ตาม แต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในขณะที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิมก็กำหนดว่า พนักงานซึ่งทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่จำเลยสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของจำเลย จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ซึ่งค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวก็เท่ากับค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 (3) โจทก์จึงไม่เสียสิทธิประโยชน์ที่จะพึงได้รับค่าชดเชย โจทก์ซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปย่อมมีสิทธิได้ค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 (3) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หาใช่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่
of 18