คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานะบุคคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคล: การพิสูจน์สัญชาติและผลกระทบต่อสิทธิในอาวุธปืนของผู้อพยพและบุตร
โจทก์ที่ 1 เป็นคนสัญชาติญวน เข้ามาในราชอาณาจักรไทยในฐานะญวนอพยพมิใช่บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ที่ 1 แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยก็ไม่ได้สัญชาติไทย ทั้งนี้โดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญชาติไทย: การขอแก้ไขสถานะบุคคลต้องดำเนินคดีทางแพ่ง ไม่ใช่คำร้อง
การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเสียสิทธิในการได้สัญชาติไทยเพราะการกระทำของบิดาผู้ร้องซึ่งเป็นคนสัญชาติญวนผู้ร้องจึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนบัตรประจำตัวคนญวนอพยพทะเบียนครอบครัวญวนอพยพของผู้ร้องนั้นไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้สิทธิแก่ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่ฝ่ายเดียวได้ หากมีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ไม่อาจขอบัตรประจำตัวในฐานะเป็นคนมีสัญชาติไทย ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาล โดยทำเป็นคำฟ้องอันเป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จเกี่ยวกับสถานภาพสมรส ส่งผลต่อสถานะบุคคลของคู่สมรส และมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
โจทก์จำเลยยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และจำเลยให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนสมรสว่า จำเลยยังไม่เคยสมรสมาก่อน ความจริงจำเลยเป็นคู่สมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว ซึ่งโจทก์ไม่ทราบ นายทะเบียนสมรสจดทะเบียนสมรสให้เพราะเชื่อถ้อยคำของจำเลย ดังนี้ ผลจากการจดทะเบียนสมรสย่อมทำให้การสมรสนั้นสมบูรณ์ ทำให้โจทก์เปลี่ยนฐานะไปเป็นหญิงมีสามี การแจ้งข้อควมอันเป็นเท็จของจำเลยจึงเกี่ยวกับฐานะของบุคคลของโจทก์ที่ได้เปลี่ยนไปในขณะนั้น ถ้อยคำของจำเลยจึงกระทบกระเทือนถึงความเป็นอยู่ของโจทก์ด้วย การจดทะเบียนสมรสนั้นผิดเงื่อนไขแห่งการสมรส เป็นโมฆะ และฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1451 ถ้ามีบุคคลอ้างและศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ โจทก์อาจได้รับความเสียหายเพราะตกอยู่ในฐานะเป็นหญิงมีสามีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อโจทก์ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสัญชาติไทยจากการสมรสกับชาวต่างชาติ: การตีความกฎหมายสัญชาติและสถานะบุคคล
เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเสียสัญชาติไทยโดยการสมรสกับคนต่างด้าว ดังนี้ปัญหาที่ว่าจำเลยยังเป็นคนไทยหรือต่างด้าวนั้นต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติสัญชาติซึ่งใช้อยู่ขณะจำเลยทำการสมรส กล่าวคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรา 4 เมื่อโจทก์ไม่ได้สืบตาม พระราชบัญญัตินี้ให้ปรากฏว่ากฎหมายแห่งสัญชาติสามีบัญญัติให้หญิงไทยถือเอาสัญชาติของสามีได้ ดังนี้ถือว่าจำเลยสละสัญชาติไทยแล้วไม่ได้
พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2479 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "หญิงซึ่งมีสัญชาติไทย ถ้าต้องสละสัญชาติไทยเพราะสมรสกับคนต่างด้าวให้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว"นั้นหาได้หมายความว่าหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าวและไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วถือว่าสละสัญชาติไทยไม่
เมื่อถือว่าจำเลยไม่ได้สละสัญชาติไทยคือยังเป็นคนไทยอยู่ก็ไม่จำต้องให้จำเลยร้องฟ้องขอให้ได้มาซึ่งสัญชาติหรือฟ้องร้องผู้โต้แย้งตนว่าไม่ใช่คนไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคล: การพิสูจน์สัญชาติของจำเลยที่หลบหนีการเนรเทศ และการรับราชการ
จำเลยเป็นจีนต่างด้าวโดยกำเนิดและถูกสั่งเนรเทศออกไปจากราชอาณาจักรจนตลอดชีวิต แล้วภายหลังได้หลบหนีเข้ามาและอ้างตนว่าเป็นคนไทย จนได้เข้ารับราชการทหาร ดังนี้ คดีก็คงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษากรณีหลบหนีการเนรเทศของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคล: การหลบหนีการเนรเทศและการอ้างสัญชาติไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเนรเทศ
จำเลยเป็นจีนต่างด้าวโดยกำเนิดและถูกสั่งเนรเทศออกไปจากราชอาณาจักรจนตลอดชีวิต แล้วภายหลังได้หลบหนีเข้ามาและอ้างตนว่าเป็นคนไทยจนได้เข้ารับราชการทหาร ดังนี้ คดีก็คงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษากรณีหลบหนีการเนรเทศของจำเลย
of 2