คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สนับสนุนความผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และความผิดฐานสนับสนุนความผิดนั้น ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี 6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไต่สวนที่ดินไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ข้อความไม่ตรงจริง ความผิดฐานสนับสนุนยังต้องฟังข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนที่ดินอำเภอมีหน้าที่ทำการไต่สวนพิสูจน์ที่ดินโดยการสมคบสนับสนุนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารรายการไต่สวนฯ ที่ดินของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 มีที่ดิน 1 แปลง มีเนื้อที่และอาณาเขตตามรายละเอียดในฟ้อง และจำเลยที่ 1 ทำแผนที่ปลอมในเอกสารการพิสูจน์ โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รังวัด ตรวจสอบและพิสูจน์ แต่ได้กรอกข้อความดังกล่าวลงในเอกสาร เพื่อสนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ได้ลงชื่อรับรองในเอกสารดังกล่าว ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ได้นำจำเลยที่ 1 สำรวจพิสูจน์และปักหลักเขตไว้ถูกต้องตรงตามความจริง มิได้ล้ำแนวเขตที่ดินข้างเคียงหรือที่สาธารณประโยชน์ และรับรองแผนที่ว่าถูกต้อง โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ทราบดีว่าไม่มีการรังวัด และจำเลยที่ 2 ไม่มีที่ดินดังแผนที่ และทิศข้างเคียงในใบตรวจสอบก็ไม่ตรงตามความจริง เป็นการสมคบกันปลอมเอกสาร ทำให้โจทก์เสียหาย เพราะหากที่ดินของจำเลยที่ 2มีรายการดังที่จำเลยที่1 ทำปลอมขึ้นก็จะทับที่ของโจทก์ที่อยู่ข้างเคียงและต่อมาจำเลยได้บังอาจนำเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานในคดีแพ่ง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชน
ตามคำฟ้องนี้ เอกสารไต่สวนพิสูจน์ที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1 ออกให้ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เป็นเอกสารอันแท้จริง แม้ข้อความจะไม่ตรงต่อความจริงก็ไม่ทำให้กลายเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 266 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ก็ย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนหรือตัวการในความผิดดังกล่าวด้วย แต่โจทก์ฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 1 โดยการสนับสนุนของจำเลยที่ 2 ถึง 7 บังอาจกรอกข้อความอันเป็นเท็จ และทำแผนที่เท็จในเอกสารการไต่สวนพิสูจน์ที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รังวัดตรวจสอบ และพิสูจน์ที่ดินของจำเลยที่ 2 หากเป็นความจริงดังฟ้องการกระทำของจำเลยที่ 1 อาจเป็นความผิดตามมาตรา 162 และการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 อาจเป็นความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวสมควรฟังข้อเท็จจริงต่อไป ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องนั้น ไม่เป็นการชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจปราบปราม, การใช้อำนาจโดยชอบ, ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่, การสนับสนุนความผิด
ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'ข้อ 6 กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร' ย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้จะมีข้อบังคับกรมตำรวจกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของกองกำกับการแต่ละกองไว้ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในเท่านั้น หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้นายตำรวจคนใดไปสืบสวนสอบสวนนอกเขตที่กำหนดไว้นี้นายตำรวจผู้นั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ทำการนอกเหนือจากเขตอำนาจหน้าที่ซึ่งแบ่งไว้ ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา ฉะนั้น การจับกุมผู้กระทำผิดในฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยชอบมิใช่การแกล้งกล่าวหา แต่เมื่อไปขู่เข็ญให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ผู้เล่นแล้วละเว้นไม่จับกุมย่อมเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
จำเลยที่ 2 เป็นราษฎรไปขอให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจช่วยเจรจากับเจ้ามือสลากกินรวบให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ตน แต่จำเลยที่ 1 ไปใช้อำนาจในตำแหน่งโดยพลการขู่เข็ญเจ้ามือสลากกินรวบว่า หากไม่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจะจับกุมฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 โดยการใช้วานให้จำเลยที่ 1 ขู่เข็ญ เรียกเงินมาให้จำเลยที่ 2 หรือแบ่งปันระหว่างกัน ยังไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจปราบปราม, การใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบ, ความผิดทุจริตต่อหน้าที่, การสนับสนุนความผิด
ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'ข้อ 6 กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร'. ย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร. แม้จะมีข้อบังคับกรมตำรวจกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของกองกำกับการแต่ละกองไว้ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในเท่านั้น. หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้นายตำรวจคนใดไปสืบสวนสอบสวนนอกเขตที่กำหนดไว้นี้.นายตำรวจผู้นั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย. ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ทำการนอกเหนือจากเขตอำนาจหน้าที่ซึ่งแบ่งไว้. ไม่.ทำให้จำเลยที่ 1. ไม่.เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย.
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา. ฉะนั้น การจับกุมผู้กระทำผิดในฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยชอบ.มิใช่การแกล้งกล่าวหา. แต่เมื่อไปขู่เข็ญให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ผู้เล่นแล้ว.ละเว้นไม่จับกุม.ย่อมเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149.
จำเลยที่ 2 เป็นราษฎรไปขอให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจช่วยเจรจากับเจ้ามือสลากกินรวบให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ตน. แต่จำเลยที่ 1 ไปใช้อำนาจในตำแหน่งโดยพลการขู่เข็ญเจ้ามือสลากกินรวบว่า. หากไม่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจะจับกุมฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ. ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่า.จำเลยที่2 ได้ร่วมมือกับจำเลยที่ 1. โดยการใช้วานให้จำเลยที่ 1 ขู่เข็ญ เรียกเงินมาให้จำเลยที่ 2 หรือแบ่งปันระหว่างกัน. ยังไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369-1370/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันฆ่าผู้อื่น: การกระทำโดยเจตนา และการสนับสนุนความผิดอาญา
จำเลยที่ 1 เป็นคนใช้ปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 2,3 มีอาวุธ โดดจากเรือนไปพร้อมจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2,3 รู้เห็นมีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่1 การที่จำเลยที่ 2,3 มีอาวุธ แสดงว่าจำเลยที่2,3 พร้อมที่จะช่วยจำเลยที่ 1 ได้ทันที เมื่อจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายแล้ว ตอนหนีกลับจำเลยทั้งสามยังหนีกลับมาทางเดียวพร้อมกันอีกจึงนับว่าจำเลยที่ 2,3ได้ร่วมกันกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 เป็นตัวการฆ่าผู้ตายด้วยกัน
โทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249 กับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กำหนดไว้เท่ากัน การที่จะใช้กฎหมายใหม่ขึ้นบังคับปรับบทก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำผิดแต่อย่างใด ศาลจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะอาญาปรับบทลงโทษจำเลย(อ้างฎีกาที่ 1630/2500,1814/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานกรรโชกและการสนับสนุนความผิด ไม่ใช่ฉ้อโกง ศาลแก้ฟ้องฐานฉ้อโกงและยกคำขอคืนเงิน
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุราแล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบ ช.ซึ่งเป็นกำนันได้เล่าเรื่องให้ฟังช.พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป.ส.และด. การกระทำของป.ส.และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145,310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียวขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการใช้บทสนับสนุนความผิดอาญาในความผิด พ.ร.บ.การพนัน ผู้จัดให้เล่นพนันไม่ต้องรับโทษฐานสนับสนุน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นการพนันไพ่ผ่องไม่รับอนุญาตเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้เข้าเล่นพนัน แม้จำเลยที่ 1 รับสารภาพตามฟ้อง ก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐาน สมรู้หรือสนับสนุนผู้กระทำผิดตามประมวลก.ม. อาญา ม. 86 ไม่ได้ เพราะแม้ว่าประมวล ก.ม. อาญา ม.17 ให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวล ก.ม. อาญา มาใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ก็ตาม แต่ข้อความในตอนท้ายแห่ง ม. 17 นี้เองก็มีข้อยกเว้นอยู่ว่า "เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น" กรณีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้จัดให้มีการเล่นพนันก็ได้มี พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 ม. 4, 12 บัญญัติความผิดไว้เป็นอย่างอื่นชัดแจ้งแล้ว จึงเข้าข้อยกเว้นที่จะนำเอาบทบัญญัติเรื่องสนับสนุนผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 86 มาใช้ หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการนำบทบัญญัติสนับสนุนความผิดมาใช้กับความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นการพนันไพ่ผ่องไม่รับอนุญาตเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้เข้าเล่นพนันแม้จำเลยที่ 1 รับสารภาพตามฟ้อง ก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานสมรู้หรือสนับสนุนผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85 ไม่ได้เพราะแม้ว่าประมวลกฎหมายอาญา ม.17 ให้นำบทบัญญัติในภาค1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ก็ตาม. แต่ข้อความในตอนท้ายแห่ง ม.17 นี้เองก็มีข้อยกเว้นอยู่ว่า.'เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น'. กรณีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงผู้จัดให้มีการเล่นพนันก็ได้มี พ.ร.บ.การพนันพ.ศ.2478 ม.4,12 บัญญัติความผิดไว้เป็นอย่างอื่นชัดแจ้งแล้ว. จึงเข้าข้อยกเว้นที่จะนำเอาบทบัญญัติเรื่องสนับสนุนผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.86 มาใช้ หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22171/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงและการสนับสนุนความผิด การกระทำที่สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้กระทำผิด
แม้ว่าการที่ผู้เสียหายเข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เกิดจากการทราบและชักชวนกันต่อ ๆ มา และจำเลยที่ 2 ก็เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ด้วย ผู้เสียหายบางรายจำเลยที่ 2 มิได้ชักชวน ผู้เสียหายบางรายสมัครใจติดต่อกับจำเลยที่ 1 โดยตรงก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 พักอาศัยอยู่ที่บ้านของจำเลยที่ 2 มาตลอด และตามที่ผู้เสียหายสิบคนเบิกความยืนยันว่าในการติดต่อกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันก็ดี ในการติดต่อจ่ายเงินค่าประกันการทำงานแก่จำเลยที่ 1 ก็ดี ส่วนใหญ่ทำที่บ้านของจำเลยที่ 2 บางครั้งก็โอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เองเป็นผู้ชักชวนให้ผู้เสียหายบางรายมาร่วมทำงานกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 เป็นผู้โทรศัพท์ไปบอกผู้เสียหายหลายคนถึงกำหนดการสัมมนา ขณะมีการสัมมนาจำเลยที่ 2 ยังเข้าไปพูดคุยกับเจ้าพนักงานตำรวจที่มาสังเกตการณ์หน้าห้องอบรมในทำนองยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้รับสัมปทานมาถูกต้อง ทั้งในขณะที่ผู้เสียหายบางรายพูดขอถอนตัวจากการทำงานร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้บอกบรรดาผู้เสียหายให้ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและหมายเลขบัญชีธนาคารของผู้เสียหายพร้อมลงชื่อไว้กับจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 จะคืนเงินให้ ดังนั้นตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 บ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมสมคบในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น โดยแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องทั้งสิบเอ็ดกระทง
แม้จำเลยที่ 3 จบการศึกษาด้านคหกรรมศาสตร์ มีความรู้ในการทำอาหารอย่างดี และไม่มีผู้เสียหายคนใดยืนยันว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชักชวนหรือได้รับเงินจากผู้เสียหายคนใดก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ที่รู้อยู่แล้วว่าตนมิใช่เจ้าหน้าที่ของการบินไทย แต่กลับยอมแสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของการบินไทย และในวันดังกล่าวที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่วิทยากรบรรยายปรากฏว่ามีเจ้าพนักงานตำรวจมาสอบถามในทำนองว่า จำเลยที่ 1 มีพฤติกรรมหลอกลวงบรรดาผู้เสียหายหรือไม่ หากจำเลยที่ 3 เป็นผู้บริสุทธิ์จริงก็ไม่ควรที่จะร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 1 อันเป็นการช่วยหลอกลวงโดยสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้บรรดาผู้เสียหายหลงเชื่ออีกต่อไป แต่จำเลยที่ 3 กลับร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไปโดยตลอด การที่จำเลยที่ 3 บอกให้ผู้ช่วยถ่ายภาพรถยนต์ของผู้เสียหายหลายรายในวันที่นำรถยนต์มาตรวจสภาพที่สนามบินสุวรรณภูมิ การไปติดต่อแม่ค้าขายปูก่อนพาบรรดาผู้เสียหายไปดูสถานที่ซื้อปูเพียง 2 วัน การที่จำเลยที่ 3 อยู่ด้วยกันกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่บ้านของจำเลยที่ 2 ในวันนัดรับเอกสารตารางการวิ่งรถ สติ๊กเกอร์ติดรถ บัตรประจำตัว และในวันนัดตรวจสภาพรถกับวันนัดรับบัตรเติมน้ำมัน การที่จำเลยที่ 3 คอยต้อนรับผู้เข้ารับการอบรมโดยนั่งบริเวณจุดต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการลงลายมือชื่อในเอกสารที่โต๊ะบริเวณจุดต้อนรับ กับการที่จำเลยที่ 3 รับเสื้อไปแจกแก่บรรดาผู้เสียหายที่บ้านของจำเลยที่ 2 คราวหนึ่ง และรับตารางการวิ่งรถกับสติ๊กเกอร์ไปแจกแก่บรรดาผู้เสียหายที่บ้านของจำเลยที่ 2 อีกคราวหนึ่ง เช่นนี้ย่อมบ่งชี้แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนในการสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้บรรดาผู้เสียหายหลงเชื่อและตัดสินใจได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 จะกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยทุจริตของผู้จัดการมรดกและผู้สนับสนุนความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาท แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต โดยจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 352 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตอันเป็นการสมคบกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กระทำในฐานเป็นผู้จัดการมรดกของผู้อื่นตามคำสั่งศาล คงลงโทษได้เพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353,354 ประกอบด้วยมาตรา 86
of 3