คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่สูงเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดค่าปรับตามกฎหมาย
ค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่สูงเกินสมควร ศาลลดค่าปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
ค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร และหลักฐานการพิสูจน์ภาระภาษี
หลักฐานรายจ่ายเกี่ยวกับค่าช่วยเหลือชักนำลูกค้าเป็นแบบฟอร์ม ที่โจทก์จัดทำขึ้นเอง โจทก์จะให้คนของโจทก์กรอกข้อความอย่างไร ก็ได้ เอกสารทุกฉบับมีแต่ลายเซ็นชื่อของผู้รับเงินเท่านั้น นามสกุล ก็ ไม่ปรากฏ สถานที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่มีให้ตรวจสอบถึง ความถูกต้อง แท้จริงได้ เป็นการผิดวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจการค้า ที่มีเงินลงทุน จำนวนมากและสถิติการจำหน่ายสินค้าได้นับจำนวน พันล้านบาทต่อปี เช่นโจทก์จะพึงกระทำโดยหละหลวมเช่นนั้น พยานหลักฐาน ที่โจทก์นำสืบ มายังไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าโจทก์ได้จ่ายเงิน ช่วยเหลือชักนำลูกค้า จริง ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามนำ มา หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) โจทก์มีแต่ ช. เป็นพยานเบิกความไม่มีเอกสารอื่นใดมาสนับสนุนว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริษัทในเครือยืมเงินไป มากกว่าดอกเบี้ยที่จะได้จากบริษัทในเครือของโจทก์เท่าใด จึงฟัง ไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริษัทในเครือของโจทก์มากกว่า ที่จะได้รับดอกเบี้ย จากเงินที่โจทก์ได้ให้ยืมไปนั้น ทั้งการที่ โจทก์ให้บริษัทในเครือของโจทก์กู้ยืมไปนี้ก็เพื่อบริษัทในเครือ ของโจทก์ไปผลิต สินค้ามาให้โจทก์จำหน่าย แม้โจทก์จะได้ผลกำไรจาก การจำหน่ายสินค้านั้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่าย ให้แก่สถาบันการเงินที่ โจทก์ ได้กู้ยืมเงินมา เป็นรายจ่ายเพื่อหา กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ของโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้นำมาหัก เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) ค่าเครื่องบิน ค่าที่พักและค่าอาหารอันเป็นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบ ให้เชื่อได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปใน ธุรกิจของโจทก์ จึงถือว่าเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์แม้จำเลยจะมิได้คัดค้านหรือนำสืบหักล้างพยานเอกสารของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงว่าเป็น ดังที่โจทก์อ้าง เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จำเลยให้โจทก์เสีย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารับรอง หรือค่าบริการไปเนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกินสมควร ซึ่งไม่ให้ถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(4)หรือไม่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายหนี้สูญและการหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: หลักเกณฑ์การปฏิบัติโดยสมควรและการพิสูจน์รายจ่าย
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องพิจารณาตามสภาพของกิจการที่ประกอบอยู่ว่าสมควรจะทำได้เพียงใดหนี้ของโจทก์เกิดจากการขายลดเช็คและทรัสต์รีซีท ลูกหนี้บางรายโจทก์ดำเนินคดีอาญาหรือฟ้องคดีแพ่งบางรายมิได้ฟ้องคดีเนื่องจากหนี้มีจำนวนเล็กน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่ายแต่โจทก์ได้ให้คนติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ปรากฏว่าไม่มีที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ จึงไม่ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีสำหรับรายที่ศาลพิพากษาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จะนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายหลังมาเป็นตัวกำหนดเจตนารมณ์ในการแปล กฎหมายที่ใช้อยู่เดิมเพื่อเป็นการเพิ่มภาระของผู้เสียภาษีย่อมไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจำหน่ายหนี้เหล่านั้นเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิได้
โจทก์ทำหลักทรัพย์ขาดบัญชีโดยความบกพร่องหรือผิดพลาดในการบริหารงานของโจทก์ ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเป็นหุ้นที่ซื้อจากผู้ใด จำนวนกี่หุ้น เป็นเงินเท่าใด ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่แม้โจทก์จะมีผู้สอบบัญชีอนุญาตตรวจรับรองว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวซื้อหลักทรัพย์มาทดแทนส่วนที่หายไปก็ตาม ไม่ใช่เป็นกรณีจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี(18).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลความร้ายแรงและการกระทำที่ไม่สมควร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง คำให้การของจำเลยจึงเท่ากับต่อสู้ว่า เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ฉะนั้นการจะวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิเคราะห์ว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้หรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์แม้จะไม่ผิดต่อระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง แต่ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควรการเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้เป็นการวินิจฉัยตามคำฟ้อง คำให้การและประเด็นพิพาทที่กำหนดไว้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนจากผู้ป่วยจิตเวชบุกรุกทำร้าย: การกระทำเพื่อป้องกันชีวิตและร่างกายเป็นเหตุสมควร
ขณะที่จำเลยกับ ส. บุตรของจำเลยนั่งรับประทานอาหารอยู่ในครัวของจำเลย ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในภาวะของโรคจิตมีอาการคลุ้มคลั่งจะทำร้ายผู้อื่น ได้บุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านของจำเลยเรียก ส. ออกมาพูดและกล่าวหาว่า ส. ลักน้ำมันของผู้เสียหายไป เมื่อ ส. ปฏิเสธ ผู้เสียหายก็ควักปืนสั้นออกมายิง 1 นัด จากนั้นผู้เสียหายยังถือปืนและมีดบุกรุกขึ้นไปบนบ้านจำเลยด้วยกิริยาอาการขู่เข็ญคุกคามจะยิงจำเลยและบุตรของจำเลยซึ่งในภาวะเช่นนั้นจำเลยย่อมเข้าใจว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นคนวิกลจริตอาจยิงทำร้ายจำเลยภริยาและบุตรของจำเลยได้ การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายไป 6 นัด โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายล้มลงหรือหยุดการคุกคามเมื่อใดและผู้เสียหายยังสามารถหลบหนีออกไปจากบ้านของจำเลยได้เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อป้องกันตน และเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาส่งมอบงานตัดไม้ ศาลกำหนดค่าตอบแทนงานที่ทำไปแล้วตามสมควร
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ตัดไม้และแผ้วถางป่าเพื่อสร้างเขื่อนโดยตกลงให้โจทก์มีสิทธิซื้อไม้ที่โจทก์ตัดฟันได้ในราคาถูกต่อมาโจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญา ดังนี้ คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้ไม้ที่ทำไว้ก่อนเลิกสัญญา ส่วนการงานที่โจทก์ได้กระทำให้จำเลยไปแล้วเมื่อสัญญามิได้มีข้อกำหนดให้ใช้เงินตอบแทนกันเพียงใด ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามสมควรของค่าแห่งการงานนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิและบุตรจากการฉุดคร่าโดยชอบด้วยกฎหมาย: เหตุป้องกันตัวที่สมควร
จำเลยเป็นมารดาของนางสาว ศ. ซึ่งถูกผู้ตายเข้าไปฉุดคร่าถึงภายในบ้าน โดยนางสาว ศ. ไม่สามารถดิ้นรนขัดขืนได้เมื่อจำเลยเข้าไปขัดขวางห้ามปรามกลับถูกผู้ตายทำร้ายจนล้มลง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายไปในเวลาฉุกละหุก4 นัดติด ๆ กัน เป็นเพราะจำเลยไม่มีโอกาสทันพิเคราะห์ว่าผู้ตายมีอาวุธติดตัวหรือไม่ ทั้งไม่มีเวลาไตร่ตรองด้วยว่าหากใช้ปืนยิงขู่เพียงนัดเดียวจะทำให้ผู้ตายเกรงกลัวและหยุดการกระทำที่อุกอาจลงได้ ประกอบกับผู้ตายเป็นชายฉกรรจ์แข็งแรงกว่าจำเลยซึ่งเป็นหญิงและไม่มีทางเลือกที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและบุตรสาวให้พ้นจากการฉุดคร่าซึ่งเป็นภยันตรายอันปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าโดยพอสมควรแก่เหตุ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากมีเหตุสมควร การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเป็นโมฆะ
วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2529 โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากวันที่ 8 บุตรโจทก์ป่วยมาก โจทก์จะต้องคอยดูแล บุตรอย่างใกล้ชิดส่วนวันที่ 9 และ 10 นั้น ฝนตก มากน้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดิน ทางไปทำงาน และโทรศัพท์เสียหายเป็นจำนวนมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดิน ทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทาง โทรศัพท์ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติ เนื่องจากมีเหตุจำเป็น มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่การงาน หรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อโจทก์มาทำงานทราบว่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ไปพบ แม้จะฟังว่าเป็นการขัดคำสั่งนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันไม่จำต้องตักเตือน เมื่อจำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควร แม้ขาดงาน ก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเนื่องจากถูกวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแลส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.
of 7