พบผลลัพธ์ทั้งหมด 211 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับชำระหนี้สมบูรณ์ แม้โจทก์ฝ่าฝืนประกาศตลาดหลักทรัพย์ จำเลยไม่ยกข้อเสียเปรียบ
จำเลยฎีกาว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องที่โจทก์มิได้นำหลักทรัพย์ของจำเลยออกขายในวันที่ 30 ตุลาคม 2539 แม้โจทก์จะกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศดังกล่าวจริงก็เป็นเรื่องระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกจะดำเนินการไปตามกฎหมายข้อบังคับและประกาศดังกล่าวต่อไประหว่างกันเองหามีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ทำหนังสือรับชำระหนี้ซึ่งโจทก์ใช้เป็นมูลฟ้องคดีนี้ให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือดังกล่าวไม่ อีกทั้งขณะตกลงทำหนังสือรับชำระหนี้ จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่ปรากฏในหนังสือรับชำระหนี้จริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มิได้กระทำการใดอันเป็นการเอาเปรียบจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเพราะหากจำเลยเห็นว่าโจทก์เอาเปรียบจำเลยแล้ว จำเลยคงไม่ทำหนังสือรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุแห่งความเสียเปรียบดังกล่าวขึ้นโต้แย้งเพื่อให้พ้นความรับผิดตามหนังสือรับชำระหนี้ดังกล่าวหนังสือรับชำระหนี้จึงใช้บังคับแก่จำเลยได้ หาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์ขณะทำสัญญา หากสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้เมื่อชำระหนี้ครบ
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าหากจำเลยชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา ก็อยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทให้จำเลยได้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสมบรูณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลกระทบต่อสัญญาจำนอง: สัญญาจำนองใช้ได้เฉพาะส่วนของหนี้ประธานที่สมบูรณ์
การที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยจำนวน 60,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่คิดในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 ไปรวมเข้ากับต้นเงิน 300,000 บาท ที่กู้ยืมนั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะแบ่งแยกการกู้เงินออกเป็นสองส่วน คือจำนวน 300,000 บาท และ 60,000 บาท เฉพาะนิติกรรมกู้ยืมส่วนที่เป็นดอกเบี้ย 60,000 บาท เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมในส่วนจำนวน 300,000 บาท ยังคงสมบูรณ์อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 หนี้กู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ในวงเงิน 360,000 บาท สัญญาจำนองดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ตามจำนวนหนี้ประธานที่สมบูรณ์คือจำนวน 300,000 บาท เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้วโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองในหนี้ส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง
ขณะที่ ธ. มีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นธ. ยังเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 70 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดี ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอน คำสั่งมอบอำนาจของ ธ. ดังกล่าวจึงยังคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หาทำให้ฐานะของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามการพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีของ ธ. ไปด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการนำทรัพย์สินมาจัดตั้งบริษัทให้ทายาทถือหุ้น ถือเป็นการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์
ที่ดินประทานบัตรทำเหมืองแร่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกนำมาเป็นทุนจัดตั้งเป็นบริษัทจำเลยที่ 8 แล้วให้ทายาททุกคนเป็นผู้ถือหุ้นตามส่วนสัดที่ทายาทแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดก การนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8ดังกล่าวเป็นการจัดการตามที่จำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกซึ่งอยู่ในขอบอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการให้ทายาทเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดได้
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ก่อนคำสั่งอายัดและการละเมิดสิทธิจากปฏิบัติโดยไม่ชอบ
การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ได้ทำเป็นหนังสือและมีการบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 อีกทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ตอบรับทราบการโอนเป็นหนังสือแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้เกิดผลบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แล้ว อันมีผลให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างตกเป็นของผู้ร้องตั้งแต่วันที่การกีฬาแห่งประเทศไทยรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้อง ส่วนจำเลยที่ 1ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป การที่การกีฬาแห่งประเทศไทยไม่ยอมจ่ายเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้องโดยอ้างว่ามีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาและได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้เป็นตัวแทนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องต้องได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะไปดำเนินการเรียกร้องตามสิทธิของตนไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเงินคืนจากโจทก์และขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์ แม้ใช้เงินชำระหนี้เดิม ดอกเบี้ยไม่ถือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อน
หลังจากที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทกับโจทก์แล้วโจทก์ได้โอนเงินจำนวนตามสัญญากู้ยืมเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้วนำไปหักกับดอกเบี้ยเงินกู้รายอื่นที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยแล้ว สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 650 วรรคสอง
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยแสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น แม้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงิน และเป็นหนี้เงินที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้ยืมจึงไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยแสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น แม้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงิน และเป็นหนี้เงินที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้ยืมจึงไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสที่สมบูรณ์ แม้ไม่มีตราประทับนายทะเบียน และผลของการสมรสซ้อน
แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียน ก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะ เพราะพระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัวฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้มีบทบัญญัติว่าต้องประทับตรานายทะเบียนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตาม แต่ผู้ให้เช่าซื้อก็อาจปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อชำระเงินค่าเช่าซื้อครบแล้วอันเป็นส่วนสำคัญของสัญญาเช่าซื้อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อได้ หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งจะต้องรับผิดต่อไป ดังนั้นในขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่ ไม่ทำให้ความสมบูรณ์แห่งสัญญาเช่าซื้อเสียไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกัน ไม่อาจเข้าใจได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกัน ไม่อาจเข้าใจได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้น การโอนหุ้นสมบูรณ์แม้ไม่ได้ทำตามข้อบังคับบริษัท และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ที่จำเลยขอเพิ่มเติมประเด็นแห่งคดีว่า"การซื้อขายหุ้นได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ ทั้งสามและมีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองตามข้อบังคับของบริษัทท.หรือไม่ และสัญญาซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะหรือไม่"นั้น ปัญหาที่จำเลยยกขึ้นอ้างดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติในการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งเป็นรายละเอียดที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ปัญหาดังกล่าวจึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทแล้วกรณีย่อมไม่จำต้องกำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทซ้ำซ้อนขึ้นอีก จำเลยได้ขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าหุ้นจากโจทก์แล้ว เมื่อการโอนหุ้นพิพาทเป็นการโอนระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน โดยบริษัทยังไม่ได้ ออกใบหุ้น จึงไม่อยู่ในบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและ พยานลงลายมือชื่อ 2 คน ตามข้อบังคับของบริษัท และถือว่าการโอนหุ้นสมบูรณ์จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา จำเลยได้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้นำสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย ล.10 มากำหนดค่าเสียหายหุ้นละ88.09 บาท เป็นการมิชอบโดยจำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินความเป็นจริงถือได้ว่าจำเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้แล้วที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบหรือกำหนดค่าเสียหายเกินกว่าพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการประพฤติผิดสัญญาอย่างไรบ้างจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์อันพึงวินิจฉัยย่อมเป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวน