คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 พ.ร.บ.แพ่งฯ เพราะเป็นนิติกรรมระหว่างสามีภรรยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยานศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยซึ่งเป็นภรรยาระหว่างสมรสซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภรรยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินต่อจำเลย จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1469มาใช้บังคับ หาใช่นำบทบัญญัติมาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน จึงให้งดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษานั้นเป็นการสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดิน 7 แปลง แก่จำเลยซึ่งเป็นภริยาระหว่างสมรสนิติกรรมการให้จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้วดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินทั้งหมดต่อจำเลย กรณีต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 1469 มาใช้บังคับ หาใช่ต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของภริยาขณะสมรส ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามประมวลรัษฎากร
น. เป็นผู้ซื้อที่ดินมาคนเดียว ต่อมา น. ตกลงให้ ช. ม. และ ว. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับค่าตอบแทน ต้องถือว่าเป็นการขายตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร น. จึงเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 40(8) ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นสามี น. และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวของ น. ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าเงินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6484/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราและการพรากเด็ก การสมรสหลังเกิดเหตุมีผลต่อการตัดสิน
การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกส่วนในวรรคท้ายที่บัญญัติว่าความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปีแต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษนั้นหมายความว่า ในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ยังไม่อาจสมรสกัน ต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และมีผลให้ชายผู้กระทำผิดนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 และผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้เอง โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนถือว่าจำเลยที่ 1 กับผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมายมีคู่สมรสแล้ว โมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้
ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว เป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งมาตรา 1497 ระบุว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ปรากฏว่าขณะที่ ท.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นท. มีคู่สมรสคือ ป. อยู่แล้ว การที่ ท. มาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยที่ยังมิได้หย่าขาดจาก ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ท. กับ จ. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ก็เป็นทายาทโดยธรรมของ ท.เมื่อท. ถึงแก่ความตายโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ท. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ท. กับจำเลยเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 ได้ โจทก์ทั้งเจ็ดมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ปราศจากเจตนาจริงและการปล่อยเวลาเนิ่นนาน ทำให้ศาลไม่พิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนสมรสกันหลอก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ในทางการค้า มิได้มีเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง ทั้งไม่เคยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด เหตุที่จดทะเบียนสมรสกันเนื่องจากเชื่อตามหมอดูทำนายเท่านั้น แต่ผู้ร้องทั้งสองมิได้นำพยานอื่นเข้าสืบประกอบว่าตนมิได้อยู่กินฉันสามีภริยากันจริง และมิได้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านว่ามิได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ร้องทั้งสองยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 3 ปีเศษ จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ พฤติการณ์ที่นำสืบเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 แล้วไม่มีเหตุที่จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของผู้ร้องทั้งสองตกเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ปราศจากเจตนาสามีภริยา และการปล่อยเวลาเนิ่นนาน ทำให้ไม่สามารถขอให้ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะได้
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนสมรสกันหลอก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ในทางการค้า มิได้มีเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง ทั้งไม่เคยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด เหตุที่จดทะเบียนสมรสกันเนื่องจากเชื่อตามหมอดูทำนายเท่านั้น แต่ผู้ร้องทั้งสองมิได้นำพยานอื่นเข้าสืบประกอบว่าตนมิได้อยู่กินฉันสามีภริยากันจริง และมิได้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านว่ามิได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ร้องทั้งสองยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 3 ปีเศษ จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ พฤติการณ์ที่นำสืบเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 แล้วไม่มีเหตุที่จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของผู้ร้องทั้งสองตกเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินในโอกาสสมรสและการถอนคืนสิทธิเนื่องจากเนรคุณ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการให้มีมูลเหตุจูงใจจากการสมรส จึงไม่สามารถถอนคืนได้
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินในโอกาสสมรส และสิทธิในการถอนคืนการให้เมื่อจำเลยประพฤติเนรคุณ
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินเนื่องในโอกาสสมรส: สิทธิในการถอนคืน และการนำสืบพยานหลักฐาน
ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาลชั้นต้น ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไป มิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาเพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)
of 25