พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเมื่อการสมรสเป็นโมฆะ: เหตุหย่าต้องตามกฎหมายเฉพาะ
โจทก์เคยจดทะเบียนสมรสกับ ส. มาก่อนแล้วจึงมาจดทะเบียนสมรสกับจำเลย การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นโมฆะต่อมาโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลยโดยอ้างเหตุเพียงว่าขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยโจทก์มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว การจดทะเบียนสมรสเป็นโมฆะ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่เข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ซึ่งบัญญัติถึงเหตุหย่าไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้และกรณีนี้ศาลไม่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)มาใช้เพื่อพิพากษาให้การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะได้เพราะเป็นเรื่องฟ้องโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายระบุไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะโดยสุจริต: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะนั้นเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้จะมีคำขอเรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย คู่ความก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ทั้งคำขอในส่วนที่เกี่ยวกับค่าทดแทนนี้ยังเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวอีกด้วย จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ ขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สมรสโดยสุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะ ผู้สมรสโดยสุจริตมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพได้
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะนั้นเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้จะมีคำขอเรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย คู่ความก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248ทั้งคำขอในส่วนที่เกี่ยวกับค่าทดแทนนี้ยังเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวอีกด้วย จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
ขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สมรสโดยสุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยได้.
ขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สมรสโดยสุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2648/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะและสถานะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย: คำพิพากษาศาลเท่านั้นแสดงสถานะโมฆะ
คำพิพากษาศาลเท่านั้นจะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นบุตร ฉ.กับท.ระหว่างคนทั้งสองเป็นสามีภริยาโดยมีการจดทะเบียนสมรส โจทก์ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ฉ.
โจทก์เป็นบุตร ฉ.กับท.ระหว่างคนทั้งสองเป็นสามีภริยาโดยมีการจดทะเบียนสมรส โจทก์ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ฉ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากินร่วมกัน แม้สมรสเป็นโมฆะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างอยู่กินด้วยกันเกิดสินสมรสหลายอย่าง โจทก์ขอแบ่งจากจำเลยครึ่งหนึ่ง เท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าทรัพย์สินที่เรียกว่าสินสมรสนั้นโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลย แม้การสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจะเป็นโมฆะ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยมีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการทำมาหากินร่วมกันแล้ว โจทก์จำเลยย่อมเป็นเจ้าของรวม โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งจากจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะของคู่สมรสเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445 (เดิม) โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด. แม้การสมรสระหว่าง ด. กับโจทก์ที่ 1 จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะ, สิทธิในกองมรดก, หนังสือสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์, การแบ่งมรดก
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445(เดิม) โจทก์ที่ 1จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด.แม้การสมรสระหว่างด. กับโจทก์ที่ 1จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า 'บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย' ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า 'บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย' ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะ, การครอบครองปรปักษ์, และการสละมรดก: สิทธิในกองมรดกของทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488 (เดิม)บุคคลใดจะอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แม้ขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1แต่เจ้ามรดกยังอยู่กินฉันสามีภริยากับ อ. ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และศาลยังมิได้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดกเป็นโมฆะ การสมรสจึงยังสมบูรณ์อยู่ โจทก์ที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดก จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าใจว่าเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์สินอันใดอยู่อีกจึงได้ทำเอกสารไว้ต่อผู้จัดการมรดกตามที่ผู้จัดการสั่งให้ทำ ความว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกตามที่ควารได้ให้แก่ผู้รับไว้ถูกต้องแล้วผู้รับขอรับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมด เอกสารนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีข้อพิพาทอันใดต่อผู้จัดการมรดก และมิใช่เป็นการสละมรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าใจว่าเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์สินอันใดอยู่อีกจึงได้ทำเอกสารไว้ต่อผู้จัดการมรดกตามที่ผู้จัดการสั่งให้ทำ ความว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกตามที่ควารได้ให้แก่ผู้รับไว้ถูกต้องแล้วผู้รับขอรับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมด เอกสารนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีข้อพิพาทอันใดต่อผู้จัดการมรดก และมิใช่เป็นการสละมรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์บ้านพิพาทในที่ดินโอนมรดก: การสมรสโมฆะ และสิทธิในการครอบครอง
สามีภริยาก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภริยาไปบวชชี ไม่ได้ความว่าสามีอนุญาต ยังไม่ขาดจากสามีภริยากัน สามีได้ภริยาใหม่จดทะเบียนเมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว ไม่เป็นการสมรส ที่สมบูรณ์ ไม่มีสิทธิรับมรดกของสามี สามีตายมรดกตกได้แก่ภริยาเดิมภริยาเดิมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์แม้ไม่ระบุถึงบ้านด้วย บ้านเป็น ส่วนควบของที่ดิน โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในบ้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่า, การสมรสโมฆะ, และอายุความแบ่งสินสมรส
สามีภริยาตามกฎหมายเก่าหย่ากันเมื่อใช้กฎหมายใหม่แล้วต้องทำตามแบบใน มาตรา 1498 เดิม
ชายจดทะเบียนกับหญิงระหว่างที่ชายยังมีภริยาตามกฎหมายเก่าอยู่ การสมรสตามที่จดทะเบียนเป็นโมฆะตาม มาตรา 1490 ไม่ใช่การสมรสเดิมขาดจากกัน
ประนีประนอมยอมความระหว่างผู้รับพินัยกรรม ซึ่งโจทก์ผู้เป็นภริยาเจ้ามรดกมิได้รับพินัยกรรมและไม่มีข้อพิพาทด้วย แม้ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงด้วยก็ในฐานะรับให้ทรัพย์สินบางอย่าง ไม่ตัดสิทธิโจทก์ขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดก
อายุความแบ่งสินสมรสระหว่างภริยากับเจ้ามรดกผู้ตายไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 1754 แต่ 10 ปีตาม มาตรา 164
ชายจดทะเบียนกับหญิงระหว่างที่ชายยังมีภริยาตามกฎหมายเก่าอยู่ การสมรสตามที่จดทะเบียนเป็นโมฆะตาม มาตรา 1490 ไม่ใช่การสมรสเดิมขาดจากกัน
ประนีประนอมยอมความระหว่างผู้รับพินัยกรรม ซึ่งโจทก์ผู้เป็นภริยาเจ้ามรดกมิได้รับพินัยกรรมและไม่มีข้อพิพาทด้วย แม้ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงด้วยก็ในฐานะรับให้ทรัพย์สินบางอย่าง ไม่ตัดสิทธิโจทก์ขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดก
อายุความแบ่งสินสมรสระหว่างภริยากับเจ้ามรดกผู้ตายไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 1754 แต่ 10 ปีตาม มาตรา 164