พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานด้วยความสมัครใจ vs. การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า หลังจากบริษัทจำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงโดยแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แล้ว จำเลยที่ 2 เรียกโจทก์เข้าไปพูดคุยเสนอให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้วยการลาออกโดยจะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ โจทก์ตกลงและทำหนังสือขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดยื่นต่อจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจ จำเลยที่ 2 อนุมัติและจ่ายเงินค่าตอบแทนให้โจทก์รับไปแล้ว การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกิดจากความตกลงกัน ไม่ใช่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ให้ทำหนังสือขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่ใช่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างหรือไม่ ถือเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าต้องพิจารณาเหตุแห่งการแยกกันอยู่ หากเป็นการแยกกันอยู่โดยสมัครใจเพื่อทำมาหากิน ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
เหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกันและอยู่ด้วยกันในบ้านหลังเดียวกันโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกันนั้น มิได้มีสาเหตุมาจากว่าโจทก์และจำเลยไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติทั่วไปได้แต่เป็นเพราะโจทก์โกรธจำเลยเพราะเข้าใจว่าจำเลยร่วมมือกับมารดาโจทก์ฉ้อโกงเอาบ้านและที่นาของโจทก์ไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนหน้าเกิดเหตุโจทก์และจำเลยแม้จะอยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ ต่างทำมาหากิน จึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยสมัครใจอยู่กินในลักษณะดังกล่าว ฉะนั้น การที่จำเลยพาบุตรคนโตไปกรุงเทพมหานครเพื่อค้าขายเสื้อผ้าจึงเป็นเพียงการแยกตัวไปทำมาหากินเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย แม้เป็นโมฆะ แต่การชำระโดยสมัครใจไม่อาจเรียกคืนหรือหักชำระหนี้ได้
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 200,000 บาท โดยตกลงคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน จำเลยได้ชำระ ดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้โจทก์ไปแล้ว 80,000 บาท แม้การกระทำของโจทก์ที่คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 อันมีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อจำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยความสมัครใจตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้ จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407, 411 จำเลยจะเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวคืน หรือนำมาหักชำระต้นเงิน 200,000 บาท หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยเกินกฎหมาย แม้เป็นโมฆะ แต่หากชำระโดยสมัครใจแล้ว จะนำมาหักหนี้ต้นเงินไม่ได้
โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อจำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยความสมัครใจตามที่ตกลงกู้ยืมเงินกับโจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 407 และ 411 จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนหรือนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9450/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกโดยสมัครใจของลูกจ้าง แม้ถูกตำหนิและสอบถามเรื่องพฤติกรรมส่วนตัว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่ อ. และ ล. ซึ่งมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ทราบเรื่องที่โจทก์ออกไปเที่ยวเตร่กับลูกค้าชาวต่างประเทศและยืมเงินจากลูกค้า แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือทำให้จำเลยเสียหาย แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ชอบที่บุคคลทั้งสองจะตำหนิโจทก์ที่มีพฤติการณ์ดังกล่าวในฐานะผู้บังคับบัญชาซึ่งจะต้องปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความประพฤติที่เหมาะสมได้ แม้บุคคลทั้งสองจะตำหนิโจทก์รุนแรงไปบ้างและกล่าวให้โจทก์พิจารณาตัวเองก็หาเป็นการข่มขู่โจทก์แต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่ อ. และ ล. หลอกโจทก์ว่าลูกค้าแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ยืมเงินจากลูกค้าก็เป็นวิธีการแสวงหาข้อเท็จจริงจากโจทก์ว่า โจทก์ได้ยืมเงินจากลูกค้าจริงตามที่บุคคลทั้งสองรับทราบเรื่องหรือไม่ จึงหาเป็นการหลอกลวงให้โจทก์ลาออกไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์เลือกที่จะลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นการลาออกโดยความสมัครใจของโจทก์เอง หาใช่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากทำโดยสมัครใจและก่อนมีข้อห้าม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14ที่ห้ามมิให้ยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่ในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกให้แก่กัน ส่วนประกาศสำนักงานป่าไม้เขตที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอนแต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็มิใช่กฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลของการชำระหนี้โดยสมัครใจ แม้ผิดกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาทต่อเดือน แต่โจทก์นำสืบว่าได้มีการตกลงด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยออกเช็คชำระให้แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันด้วยวาจาและจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ยืมกับยังค้างดอกเบี้ยอยู่อีกจึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมนั้นเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ให้แก่โจทก์ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว และจะให้นำไปหัก กับต้นเงินไม่ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ให้แก่โจทก์ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว และจะให้นำไปหัก กับต้นเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8924/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกโดยสมัครใจและการจ้างงานใหม่ไม่ถือเป็นกลฉ้อฉล แม้จะมีการมอบหมายคดีไม่ครบถ้วน
โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยด้วยความสมัครใจเองมิได้ถูกบีบบังคับ เนื่องจากโจทก์จะไม่ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยเสนอและจะไม่ลาออกก็ได้ การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่าทนายความคนอื่นแก่โจทก์ก็เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับเงื่อนไขการลาออกตามที่จำเลยเสนอ ไม่ได้กระทำขึ้นเพื่อเจตนาหลอกลวงโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อโจทก์ตกลงลาออกและรับจ้างเป็นทนายความเฉพาะคดีตามที่จำเลยเสนอและได้รับมอบคดีบ้างแล้วตามสัญญา โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างว่าความไปแล้วจำนวนหนึ่ง แม้จำเลยจะมอบคดีให้โจทก์ไม่ครบตามสัญญาก็อาจเป็นเรื่องผิดสัญญา หาเป็นกลฉ้อฉลอันจะมีผลทำให้นิติกรรมการลาออกของโจทก์เป็นโมฆียะไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรม ใบลาออกของโจทก์บังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้ไม่มีการทำหนังสือใหม่
การที่จำเลยได้จัดทำหนังสือภาษาจีนซึ่งมีคำแปลเป็นภาษาไทยอันมีเนื้อหาว่า "จำเลยจะชำระค่าเสียหายของสินค้าจำนวน 25,389 ชุด เป็นเงิน 116,789.40 ดอลลาร์สหรัฐ ผ่อนชำระเดือนเมษายน 2536 แล้วเป็นเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายนชำระ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ เงินจำนวนที่เหลือจะแบ่งชำระในเดือนเมษายนและเดือนกันยายน 2537" เป็นการจัดทำเอกสารดังกล่าวขึ้นด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มีการทำหนังสือกันใหม่อย่างเป็นทางการก็ตาม หนังสือภาษาจีนดังกล่าวก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันใช้บังคับจำเลยได้ตามกฎหมาย
แม้คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 193/14 (1) แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นวินิจฉัยก็เพื่อบ่งชี้ว่า การทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยส่งสินค้าไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าโจทก์ ต่อมาจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยการทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่จะวินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ได้
ที่โจทก์บรรยายในคำแก้ฎีกาว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในจำนวนหนี้ที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งโจทก์ต้องทำเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นเป็นฎีกาจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาที่จะวินิจฉัย
แม้คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 193/14 (1) แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นวินิจฉัยก็เพื่อบ่งชี้ว่า การทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยส่งสินค้าไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าโจทก์ ต่อมาจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยการทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่จะวินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ได้
ที่โจทก์บรรยายในคำแก้ฎีกาว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในจำนวนหนี้ที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งโจทก์ต้องทำเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นเป็นฎีกาจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาที่จะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นจับกุมมีผลผูกพันจำเลย แม้เกิดจากการต่อรอง ไม่ใช่การถูกบังคับจากเจ้าพนักงาน
พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบรับฟังได้ความชัดว่า ว. ได้พบเห็นจำเลยอยู่ในร้านค้าของ ว. โดย ส. ลูกจ้างของ ว. อยู่นอกร้านค้า และจำเลยเดินหนีออกจากร้านค้าโดยในมือถือสิ่งของไปด้วย ต่อมาหลังจาก ว. คาดคั้นและทราบจาก ส. ว่าถูกจำเลยข่มขู่และเอาทรัพย์สินไปแล้ว ว. ไปสถานีตำรวจพร้อมจำเลย จำเลยรับสารภาพและลงลายมือชื่อในบันทึกชั้นจับกุมว่าเอาทรัพย์สินของ ว. ไปจริง แม้ข้อนี้จำเลยจะนำสืบว่า เหตุที่รับสารภาพในชั้นจับกุมเนื่องจากถูก ว. หลอกว่าจะไม่เอาเรื่อง หากเป็นจริงก็ไม่ได้ทำให้คำรับสารภาพในชั้นจับกุมเสียไปเพราะมิได้เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน แต่เกิดจากการต่อรองและการตัดสินใจของจำเลยโดยสมัครใจ ย่อมรับฟังยันจำเลยได้ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยได้