คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมาคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดเล่นบิลเลียดในสมาคมเพื่อความรื่นเริงโดยเก็บค่าเกมส์ตามสมควร ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน
จำเลยที่ 1 เป็นสมาคมได้จัดตั้งโต๊ะบิลเลียดเพียง4 โต๊ะโดยจำเลยที่ 1 เก็บเงินค่าเกมส์ จากผู้เล่นในอัตราชั่วโมงละ 60 บาทต่อหนึ่งโต๊ะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าเกมส์ตามสมควร และไม่ปรากฏว่ามีการพนันเอาทรัพย์สินกันจึงเป็นการจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในสมาคม การจัดให้มีการเล่นในสมาคมของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องมีใบอนุญาตตามกฎกระทรวงฉบับที่ 17 พ.ศ. 2503 ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ. 2478 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 18(พ.ศ. 2504) ข้อ 5 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์จะไม่จัดตั้งโต๊ะบิลเลียดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้นแต่กลับมาจัดตั้งโต๊ะบิลเลียดดังกล่าวก็เป็นเพียงฝ่าฝืนกฎหมายอื่นเท่านั้น หาเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของสมาคมในการกำหนดระเบียบการแข่งขันและอำนาจในการพิจารณารับสมัครเข้าร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นสมาคม การดำเนินงานมีคณะกรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งข้อบังคับต่าง ๆ ของสมาคมให้อำนาจจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกได้ และจำเลยที่ 1 ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับกีฬาแข่งนกไว้ ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวข้อ 2 กำหนดว่าสมาคมสงวนสิทธิที่จะไม่รับนกของผู้หนึ่งผู้ใดเข้าร่วมการแข่งขันหรือบอกเลิกรับนกกับผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลล่วงหน้า และผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่มีสิทธิจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้นดังนั้นโจทก์หรือผู้ใดจะส่งนกพิราบเข้าแข่งขันกับจำเลยที่ 1 ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ หาได้มีกฎหมายใดบังคับให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องรับนกของโจทก์เข้าแข่งขันไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงทึ่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กลั่นแกล้งโจทก์ การที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันมีมติไม่รับนกของโจทก์เข้าร่วมแข่งขัน จะฟังว่าจำเลยทั้งสิบสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติสมาคมที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ: สิทธิสมาชิกและการหมดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1291
ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่แก้ไขข้อบังคับและย้ายที่ตั้งของสมาคม อ้างว่าการลงมติเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับมติที่ประชุมใหญ่จึงเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคำฟ้องขอให้เพิกถอนมติของสมาคมที่ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 1291 ซึ่งสมาชิกมีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอน แต่อย่าให้เนิ่นช้าเกินกว่า 1 เดือนนับแต่วันที่ได้ลงมตินั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบในคดีภาษี, การยกเว้นภาษีสมาคม, และการคืนค่าขึ้นศาล
ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2) (ค) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้เรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ด้วยคงยกเว้นให้เฉพาะเงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค หรือการให้โดยเสน่หาตามมาตรา 65 ทวิ (13) เท่านั้น แม้ตามมาตรา 79 ตรี (8) (ข) จะยกเว้นให้ไม่ต้องนำรายรับจากการบริจาคสินค้าเป็นสาธารณประโยชน์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าก็ตาม แต่ก็ยกเว้นให้เฉพาะการบริจาคแก่องค์การ หรือสถานสาธารณกุศลที่รัฐมนตรีกำหนดเท่านั้นประมวลรัษฎากรมิได้ยกเว้นไม่เก็บภาษีจากสมาคมเสียทีเดียว
แม้โจทก์จะมีฐานะเป็นสมาคม ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1274 บัญญัติว่า กิจการของโจทก์มิใช่เป็นการประกอบกิจการค้าหากำไรมาแบ่งปันกันก็ตาม แต่ในเรื่องหน้าที่นำสืบประมวลรัษฎากรมิได้มีข้อสันนิษฐานไว้ให้เป็นคุณแก่โจทก์ กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปของมาตรา 84 แห่ง ป.วิ.พ. เมื่อประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์มีรายได้ซึ่งต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้นการเสียภาษีหรือไม่นั้น โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง จำเลยให้การปฏิเสธ หน้าที่นำสืบจึงตกอยู่แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาอนุโลมใช้ได้ก็ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และข้อกำหนดคดีภาษีอากรตามมาตรา 20 บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนี้ เมื่อมีข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 กำหนดว่า คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาอนุโลมใช้ในกรณีการยื่นบัญชีระบุพยานคดีภาษีอากรได้
โจทก์อุทธรณ์เพียงขอให้เพิกถอนคำสั่งเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ กับขอให้สั่งให้โจทก์มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามบัญชีระบุพยานที่ยื่นต่อศาล เป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและเกิดความแตกแยกภายใน
สมาคมโจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่ศาสนาอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องควบคุมสมาคมและองค์การต่าง ๆ การที่สมาคมโจทก์ไม่แจ้งจำนวนสมาชิกทุกประเภทและรายชื่อกรรมการ ไม่รายงานกิจการที่สมาคมได้ดำเนินการไปต่อจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับดังกล่าวไม่แจ้งจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดว่าประสงค์จะดำเนินกิจการอีกต่อไปทั้งสมาชิกของสมาคมโจทก์มีความแตกแยกเป็นหลายฝ่ายถึงขั้นแจ้งความจับกุมสมาชิกซึ่งกันและกัน นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลหลายคดี อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และขัดต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เสียหายแก่สมาคมโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลสมาคมโจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคมโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการละเมิดโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตสมาคม: อำนาจควบคุมดูแลตาม พ.ร.บ.วัฒนธรรมฯ และเหตุผลความไม่สงบภายใน
สมาคมโจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่ศาสนาอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องควบคุมสมาคมและองค์การต่าง ๆ การที่สมาคมโจทก์ไม่แจ้งจำนวนสมาชิกทุกประเภทและรายชื่อกรรมการ ไม่รายงานกิจการที่สมาคมได้ดำเนินการไปต่อจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับดังกล่าวไม่แจ้งจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดว่าประสงค์จะดำเนินกิจการอีกต่อไปทั้งสมาชิกของสมาคมโจทก์มีความแตกแยกเป็นหลายฝ่ายถึงขั้นแจ้งความจับกุมสมาชิกซึ่งกันและกัน นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลหลายคดี อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และขัดต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เสียหายแก่สมาคมโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลสมาคมโจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคมโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการละเมิดโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนสมาคม: ต้องเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนที่จดทะเบียนแล้ว
การเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการสมาคมต้องแจ้งแก่นายทะเบียนเพื่อจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1284 แม้โจทก์ที่ 2 ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 แต่ก็ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ที่ 2 เป็นนายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของโจทก์ที่ 1 และแม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะสมาชิกสมาคมโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดที่กระทำต่อสมาคมโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีในความผิด ดังกล่าวในนามของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพนิติบุคคลของจำเลยและการฟ้องคดี: จำเลยไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจถูกฟ้อง
สมาคมจำเลยมิได้ขออนุญาตเป็นสมาคมการค้าภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติสมาคมการค้าฯ มาตรา 54 จึงไม่มีชื่อจำเลยเป็นสมาคมในทะเบียน ส่วนสมาคมพ่อค้ายา กรุงเทพซึ่งอยู่ในตึกแถวพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งเป็นสมาคมการค้าขึ้นใหม่แม้ชื่อจะมีความหมายอย่างเดียวกับชื่อของจำเลย แต่ก็เป็นชื่อเฉพาะเสียงเรียกต่างกัน จึงเป็นบุคคลต่างกัน เมื่อจำเลยไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลในขณะถูกฟ้อง จำเลยก็ไม่อาจถูกฟ้องและไม่มีตัวตนที่จะยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมและการสิ้นสุดสภาพกรรมการ การฟ้องอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคม ศ. เป็นการกระทำต่อสมาคม ศ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้กระทำต่อโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ศ. เป็นส่วนตัว และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะนายทะเบียนสมาคมจังหวัดมีประกาศขีดชื่อสมาคม ศ. ออกจากทะเบียนสมาคมแล้ว อันเป็นเหตุให้สมาคม ศ. ต้อง เลิกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1292(7) ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอีกต่อไป โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการของสมาคม ศ. ในขณะนั้นจึงต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม ศ. ไปด้วย ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือความสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวข้องกันอีก แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับการดูหมิ่น เหยียดหยามจากบุคคลอื่น และอาจถูกสมาชิกของสมาคม ศ. เรียกร้องค่าเสียหายได้นั้น ก็เป็นความรู้สึกและคาดคิดส่วนตัวของโจทก์ทั้งเจ็ดเองถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเนื่องจากการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการเพิกถอนสมาคม: กรรมการสมาคมไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคม ศ. เป็นการกระทำต่อสมาคม ศ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้กระทำต่อโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ศ. เป็นส่วนตัวและเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะนายทะเบียนสมาคมจังหวัดได้ประกาศขีดชื่อสมาคม ศ. ออกจากทะเบียนสมาคมแล้ว อันเป็นเหตุให้สมาคม ศ. ต้องเลิกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1292(7)ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอีกต่อไป โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมกาของสมาคม ศ. ในขณะนั้นจึงต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม ศ. ไปด้วย ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือความสัมพันธ์ใด ๆเกี่ยวข้องกันอีก แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยามจากบุคคลอื่นและอาจถูกสมาชิกของสมาคม ศ. เรียกร้อง ค่าเสียหายได้นั้นก็เป็นความรู้สึกและคาดคิดส่วนตัวของโจทก์ทั้งเจ็ดเองถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเนื่องจากการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 157 ได้.
of 7