พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7189/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพถูกตัดออกโดยไม่สมัครใจ: การคืนเงินค่าหุ้นไม่ใช่การขาดสมาชิกภาพ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการดำเนินงาน ต่อมาจำเลยที่ 1 ตัดชื่อโจทก์ทั้งหมดออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าโจทก์บางคน รวมทั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้เข้าร่วมประชุมติดต่อกัน 3 ปี ตามมติที่ประชุมใหญ่ที่ประชุมเมื่อปี 2524 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตัดชื่อโจทก์ที่ 2 ออกจากสมาชิกภาพและส่งเงินค่าหุ้นคืนไปให้แก่โจทก์ที่ 2 เอง มิใช่กรณีที่โจทก์ที่ 2 ขอรับเงินค่าหุ้นคืนเองโดยสมัครใจ ดังนี้ จะถือว่าโจทก์ที่ 2 ขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7136/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดเงินปันผลตามส่วนระยะเวลาถือหุ้น และการคืนค่าหุ้นกรณีสมาชิกขาดสภาพ
ระเบียบว่าด้วยหุ้น ฯ ของจำเลยข้อ 12 ระบุว่า การคิดเงินปันผลตามหุ้นให้คิดตามส่วนแห่งระยะเวลาการถือหุ้นตามจำนวนเดือนเต็ม และเงินค่าหุ้นที่สหกรณ์ได้รับภายในวันที่ 7 ของเดือน สหกรณ์จะคิดเงินปันผลให้สำหรับเดือนนั้น ส่วนเงินค่าหุ้นที่สหกรณ์ได้รับหลังวันที่ 7 ของเดือน สหกรณ์จะคิดเงินปันผลให้ตั้งแต่เดือนถัดไป หมายความว่าจำเลยจะต้องคิดเงินปันผลตามหุ้นให้แก่สมาชิกตามส่วนแห่งระยะเวลาการถือหุ้น จะจ่ายให้แต่เฉพาะผู้ถือหุ้นอยู่ครบปีหรือจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่มีอยู่ ณ วันสิ้นปีทางบัญชีหาได้ไม่
ระเบียบว่าด้วยหุ้น ฯ ของจำเลยข้อ 9.1 ระบุว่า ในกรณีที่สมาชิกขาดสมาชิกภาพเพราะเหตุตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติ สหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นแก่ผู้มีสิทธิได้รับโดยไม่มีเงินปันผล หมายความว่า ระเบียบนี้ใช้เฉพาะสมาชิกของจำเลยที่ขาดสมาชิกภาพเท่านั้น โจทก์ไม่ได้ขาดสมาชิกภาพ จึงนำมาปรับใช้กับกรณีของโจทก์ไม่ได้
ระเบียบว่าด้วยหุ้น ฯ ของจำเลยข้อ 9.1 ระบุว่า ในกรณีที่สมาชิกขาดสมาชิกภาพเพราะเหตุตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติ สหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นแก่ผู้มีสิทธิได้รับโดยไม่มีเงินปันผล หมายความว่า ระเบียบนี้ใช้เฉพาะสมาชิกของจำเลยที่ขาดสมาชิกภาพเท่านั้น โจทก์ไม่ได้ขาดสมาชิกภาพ จึงนำมาปรับใช้กับกรณีของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติถอดถอนสมาชิกภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต้องชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยมีมติให้ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ทั้งสองอันมีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์ทั้งสองเป็นพยานในคดีที่นางสาว ก. ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยสั่งเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้จำเลยแพ้คดีต้องชำระเงินค่าเสียหายแก่นางสาว ก. ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และมีคำขอบังคับโดยขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว ทั้งมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า การลงมติดังกล่าวไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่คำฟ้องโจทก์ไม่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยข้อบังคับอย่างไร การกระทำที่ไม่ชอบนั้นเป็นอย่างไร การกระทำอย่างไรไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 นั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณาและการวินิจฉัยปัญหานี้เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยพิเคราะห์จากคำฟ้องโดยตรง โจทก์จะนำสืบหรือไม่อย่างไรจึงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยถึง เมื่อคำฟ้องโจทก์มีสาระครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้วจึงไม่เคลือบคลุม การที่โจทก์ที่ 1 ทำหนังสือยอมรับมติของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยในการเลิกจ้างนางสาว ก. เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ที่ 1กับจำเลย นางสาว ก. มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย การฟ้องคดีเป็นสิทธิส่วนตัว โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะบังคับไม่ให้นางสาว ก.ฟ้องคดีได้ ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยหรือทำให้จำเลยเสียหายอันเป็นเหตุให้ที่ประชุมลงมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ที่ 1 มติของที่ประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสมาชิกภาพสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจหลังพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518ในมาตรา 4 (4) เป็นว่า พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95 วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 55 วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพสหภาพแรงงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงตามกฎหมายใหม่
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับ จำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในมาตรา 4(4) เป็นว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 55วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสมาชิกภาพสภาเทศบาลเนื่องจากระยะเวลาดำรงตำแหน่งเกินห้าปี
ผู้คัดค้านได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรีเมื่อนับถึงวันที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้ว สมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลของผู้คัดค้านย่อมสิ้นสุดลง คดีที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านพ้นจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลเมืองนนทบุรีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสมาชิกภาพสหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องคงอยู่ขณะยื่นฟ้อง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า สมาชิกจำเลยจะต้อง มีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างประจำของบริษัท เนชั่นแนลไทย จำกัด หรือลูกจ้างประจำของบริษัทซึ่งทำกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องได้ถูกนายจ้างเลิกจ้างแล้ว ในขณะยื่นฟ้องโจทก์จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากสมาชิกจำเลยเป็นโมฆะ อันมีผลทำให้โจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยอีก
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า สมาชิกจำเลยจะต้อง มีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างประจำของบริษัท เนชั่นแนลไทย จำกัด หรือลูกจ้างประจำของบริษัทซึ่งทำกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องได้ถูกนายจ้างเลิกจ้างแล้ว ในขณะยื่นฟ้องโจทก์จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากสมาชิกจำเลยเป็นโมฆะ อันมีผลทำให้โจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสมาชิกภาพสหภาพแรงงาน: คุณสมบัติสมาชิกต้องคงอยู่ขณะยื่นฟ้อง หากขาดคุณสมบัติแล้ว ไม่มีอำนาจฟ้อง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เอง ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า สมาชิกจำเลยจะต้อง มีคุณสมบัติเป็นลูกจ้างประจำของบริษัท เนชั่นแนลไทย จำกัด หรือลูกจ้างประจำของบริษัทซึ่ง ทำกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องได้ถูก นายจ้าง เลิกจ้างแล้ว ในขณะยื่นฟ้องโจทก์จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากสมาชิกจำเลยเป็นโมฆะ อันมีผลทำให้โจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพ ส.ส. เกิดจากการเลือกตั้งโดยตรง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ตนเองได้รับเลือกแทน
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 89, 102 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2529 มาตรา 6 แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้ง ดังนี้ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับเลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้เลือกตั้งใหม่เท่านั้น ไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนบุคคลอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพ ส.ส. ได้มาจากการเลือกตั้ง สิทธิผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
ตาม บทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 89102 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 มาตรา 77 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2529 มาตรา 6 แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้ แต่ โดย การเลือกตั้ง ดังนี้ แม้ตามคำร้อง ของ ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับ เลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้เลือกตั้งใหม่เท่านั้น ไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนบุคคลอื่น.