พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการงดสืบพยาน, ค่าจ้าง vs. สวัสดิการ, และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานสอบโจทก์จำเลยแล้วแถลงรับข้อเท็จจริงกัน ศาลแรงงานก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานเสียได้ในเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและวินิจฉัยได้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลแรงงานเพื่อฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจนพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หมายความว่า เงิน หรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ดังนี้ แม้จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 30,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์เดือนละ 3,000 บาท ให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนพร้อมเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อเงินดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์ มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานของโจทก์ จึงไม่เป็นค่าจ้าง ย่อมนำมารวมเข้ากับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยไม่ได้
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า งานของโจทก์มีแต่หน้าที่ตรวจสอบการจ่ายเงิน ตรวจสอบการเสนอราคาให้แก่ที่ปรึกษาโครงการ และตรวจสอบผลงานเฉพาะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ทั้งโจทก์ไม่มีหน้าที่ทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่จำเลยรับเหมาก่อสร้างอันเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย และอุทธรณ์จำเลยที่ว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเป็นเวลา 3 ปี โดยจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ดูแลงานเฉพาะแต่ละโครงการที่จำเลยเห็นว่าโจทก์มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งงานแต่ละโครงการที่โจทก์ดูแลจะมีกำหนดแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเป็นเวลา 3 ปี และลักษณะงานของโจทก์เป็นงานวิเคราะห์อันเป็นส่วนหนึ่งของงานจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นงานในโครงการเฉพาะ แต่เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสามดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่ทำให้ผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หมายความว่า เงิน หรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ดังนี้ แม้จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 30,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์เดือนละ 3,000 บาท ให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนพร้อมเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อเงินดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์ มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานของโจทก์ จึงไม่เป็นค่าจ้าง ย่อมนำมารวมเข้ากับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยไม่ได้
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า งานของโจทก์มีแต่หน้าที่ตรวจสอบการจ่ายเงิน ตรวจสอบการเสนอราคาให้แก่ที่ปรึกษาโครงการ และตรวจสอบผลงานเฉพาะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ทั้งโจทก์ไม่มีหน้าที่ทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่จำเลยรับเหมาก่อสร้างอันเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย และอุทธรณ์จำเลยที่ว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเป็นเวลา 3 ปี โดยจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ดูแลงานเฉพาะแต่ละโครงการที่จำเลยเห็นว่าโจทก์มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งงานแต่ละโครงการที่โจทก์ดูแลจะมีกำหนดแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเป็นเวลา 3 ปี และลักษณะงานของโจทก์เป็นงานวิเคราะห์อันเป็นส่วนหนึ่งของงานจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นงานในโครงการเฉพาะ แต่เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสามดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่ทำให้ผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย: ข้อพิพาทเรื่องการเลิกจ้าง, ค่าจ้างสุดท้าย, และสวัสดิการที่ไม่นับรวมเป็นค่าจ้าง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือนจำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆ ขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือนจำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆ ขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าอาหารพนักงานกะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายประกันสังคม
โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ 5 บาท เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ดังเช่นลูกจ้างที่ทำงานกลางวัน แม้โจทก์จะจ่ายให้เป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินช่วยเหลือค่าอาหารดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณเงินสมทบ โจทก์ส่งเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 2แล้ว เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 2 ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องคืนเงินให้แก่โจทก์เมื่อไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ต้องฟ้องบังคับ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้อง โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าอาหาร/ค่ากะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายประกันสังคม
การที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารให้แก่ลูกค้าที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ5บาทก็เพราะมีเจตนาเพื่อให้เงินสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้แม้เงินดังกล่าวโจทก์จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติฉะนั้นไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นเงินช่วยเหลือค่าอาหารหรือเงินค่ากะดึกเงินดังกล่าวก็ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติประกันสังคมฯมาตรา5สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินช่วยเหลือค่าอาหารดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณเงินสมทบ เมื่อปรากฎในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่จำเลยที่2ไม่ถูกต้องตามกฎหมายจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ต้องฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าอาหารพนักงานกะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม
โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ5บาทเพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ดังเช่นลูกจ้างที่ทำงานกลางวันแม้โจทก์จะจ่ายให้เป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533มาตรา5สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินช่วยเหลือค่าอาหารดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณเงินสมทบ โจทก์ส่งเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่2แล้วเมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่จำเลยที่2ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องคืนเงินให้แก่โจทก์เมื่อไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ต้องฟ้องบังคับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายทางจิตใจจากการถูกละเมิด แม้ผู้เสียหายได้รับการรักษาจากสวัสดิการอื่น
แม้บิดาโจทก์จะ เบิกค่ารักษาพยาบาลจาก ทางราชการและจ่ายแทนโจทก์ไปแล้วก็เป็น สิทธิเฉพาะตัวของบิดาโจทก์โจทก์จึงยังคงมี สิทธิเรียกร้องเอา ค่ารักษาพยาบาลจากผู้ก่อเหตุละเมิดต่อโจทก์ได้และเป็นคนละเรื่องกับการที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกเอา ค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในกรณีถูกทำละเมิดจนได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์เป็นนักเรียนถูกจำเลยที่1ลูกจ้างของจำเลยที่2ขับรถยนต์ชนโดยละเมิดจนบาดเจ็บสาหัสต้องผ่าตัดรักษาตัวหลายครั้งอยู่ที่โรงพยาบาลนานถึง129วันและต้องรักษาตัวที่บ้านอีกหลายเดือนได้รับความทุกข์ทรมานเพราะบาดแผลที่ได้รับเป็นเวลานานทั้งต้องขาดเรียนและเรียนซ้ำชั้นเป็นความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินและไม่ใช่เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014-3018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการเงินตอบแทนพิเศษ: มติคณะกรรมการไม่ใช่เงื่อนไขการจ่าย แต่เป็นวิธีดำเนินการ นายจ้างต้องจ่ายเมื่อลูกจ้างไม่ผิดวินัย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างระบุว่า"บริษัทให้เงินตอบแทนพิเศษแก่พนักงานที่ทำงานครบ5ปีแล้วลาออกให้เงินตอบแทน50วันของค่าแรงขณะนั้นทำงานเกิน10ปีแล้วลาออกให้เงินตอบแทนไม่น้อยกว่า300วันของค่าแรงขณะนั้นแต่ต้องผ่านมติของคณะกรรมการผู้ที่ทำผิดถูกไล่ออกเงินตอบแทนนี้ไม่จ่ายให้เลย"การจ่ายเงินตอบแทนพิเศษนี้เป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งซึ่งนายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างทุกคนอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยตามถ้อยคำนายจ้างประสงค์จะให้สวัสดิการอันมีลักษณะเป็นการจูงใจพนักงานให้ทำงานอยู่กับบริษัทของนายจ้างเป็นเวลานานปีและหากพนักงานดังกล่าวได้ทำงานครบห้าปีหรือครบสิบปีแล้วลาออกจากงานก็จะได้เงินตอบแทนพิเศษตามอัตราที่กำหนดไว้ทุกคนนายจ้างจะไม่จ่ายเงินตอบแทนพิเศษดังกล่าวให้เฉพาะพนักงานที่กระทำผิดและถูกไล่ออกเท่านั้นสำหรับถ้อยคำที่นายจ้างกำหนดไว้ว่าแต่ต้องผ่านมติของคณะกรรมการนั้นเป็นเพียงวิธีดำเนินการของนายจ้างฝ่ายเดียวเท่านั้นมิใช่เป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินตอบแทนพิเศษเพราะหากเป็นเงื่อนไขก็จะทำให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปตามความพอใจของนายจ้างหรือการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นรายๆไปอันเป็นช่องทางก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างทำผิดถูกไล่ออกตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้างต้นนายจ้างก็ต้องจ่ายเงินตอบแทนพิเศษให้แก่ลูกจ้างนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างยังผูกพันแม้สิ้นสุดอายุ สิทธิสวัสดิการค่าทำศพลูกจ้างยังคงมีผล
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมสิ้นสุดลง แต่จำเลยกับสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมอาภรณ์ไทยก็มิได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมจึงยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี จนกว่าจะได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันใหม่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 12 การนัดหยุดงานเป็นเพียงการที่ลูกจ้างร่วมกันหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน หามีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิ้นสุดลง ทั้งเงินช่วยเหลือค่าทำศพเป็นเงินสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้เมื่อลูกจ้างถึงแก่กรรมมิได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็นสวัสดิการที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานตามปกติ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำศพให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม: พิจารณาจากโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างทั้งระบบ
เมื่อปรากฏว่าสวัสดิการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย นั้น บางกรณีลูกจ้างได้รับประโยชน์สูงกว่าบางกรณีได้รับประโยชน์ต่ำกว่าประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ตามพ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้การจะพิจารณาว่าสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องมาจากการทำงานนั้น มีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบ มิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง กรณีนี้เมื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบแล้วสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างมีอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม: พิจารณาโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างทั้งระบบเพื่อเปรียบเทียบสวัสดิการนายจ้าง
การพิจารณาว่านายจ้างจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานมีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 55 หรือไม่จะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบมิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบแล้วสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทำงานนั้น มีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ นายจ้างจึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06