พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหาเยาวชน: ผลของกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ภายหลังการสอบสวน
ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ แต่ปรากฏว่าในคดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยก่อนที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ วรรคหนึ่ง มีผลใช้บังคับ พนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดทางการแพทย์: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงละเมิด ไม่ใช่เมื่อรู้ผลสอบสวน
หลังจากโจทก์ที่ 3 คลอดโจทก์ที่ 1 และเกิดเหตุละเมิดจากการทำคลอดของจำเลยทั้งสามต่อโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ได้พยายามให้โจทก์ที่ 1 ได้รับการรักษาทั้งจากจำเลยทั้งสามและโรงพยาบาลอื่น และได้เรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชอบกับร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแต่ไม่เป็นผล วันที่ 9 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 3 ได้ทำหนังสือร้องเรียนจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกต่อแพทยสภาย่อมชี้ชัดว่า โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมผู้มีอำนาจทำการแทนผู้เยาว์ และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะส่วนตัว ได้รู้ถึงการละเมิดกับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 กันยายน 2537 มิใช่ตั้งแต่วันที่โจทก์ทราบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากแพทยสภา โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ล่วงเลยกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้แก่โจทก์ที่ 3 โดยประมาทเพราะจำเลยที่ 2 สามารถทราบขนาดของทารกในครรภ์แต่ไม่เลือกวิธีทำคลอดให้เหมาะสม กับจำเลยที่ 3 ซึ่งดูแลรักษาโจทก์ที่ 1 ประมาทเนื่องจากการถ่ายเลือดด้วยวิธีแยงสายสะดือทำให้โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อ โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์บรรยายฟ้องให้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้โจทก์ที่ 3 ตามขั้นตอนปกติ พยายามให้คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ต่อมาใช้วิธีเอาเครื่องมือดูดศีรษะทารกในครรภ์เพื่อดึงออกจนกระทั่งต้องผ่าตัด ส่วนจำเลยที่ 3 ดูแลโจทก์ที่ 1 จนอาการตัวเหลืองหายไป แต่โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อจากการถ่ายเลือด จำเลยที่ 3 ก็ไม่ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่กลับอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 นำโจทก์ที่ 1 กลับบ้าน ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจึงเป็นเพียงการแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติงานบกพร่องเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งเท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงถึงขั้นว่าเป็นการกระทำโดยประมาทที่จะมีมูลความผิดทางอาญาซึ่งจะต้องบังคับใช้อายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง
คำฟ้องระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้แก่โจทก์ที่ 3 โดยประมาทเพราะจำเลยที่ 2 สามารถทราบขนาดของทารกในครรภ์แต่ไม่เลือกวิธีทำคลอดให้เหมาะสม กับจำเลยที่ 3 ซึ่งดูแลรักษาโจทก์ที่ 1 ประมาทเนื่องจากการถ่ายเลือดด้วยวิธีแยงสายสะดือทำให้โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อ โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์บรรยายฟ้องให้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้โจทก์ที่ 3 ตามขั้นตอนปกติ พยายามให้คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ต่อมาใช้วิธีเอาเครื่องมือดูดศีรษะทารกในครรภ์เพื่อดึงออกจนกระทั่งต้องผ่าตัด ส่วนจำเลยที่ 3 ดูแลโจทก์ที่ 1 จนอาการตัวเหลืองหายไป แต่โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อจากการถ่ายเลือด จำเลยที่ 3 ก็ไม่ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่กลับอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 นำโจทก์ที่ 1 กลับบ้าน ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจึงเป็นเพียงการแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติงานบกพร่องเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งเท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงถึงขั้นว่าเป็นการกระทำโดยประมาทที่จะมีมูลความผิดทางอาญาซึ่งจะต้องบังคับใช้อายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามสถานที่จับกุม
กรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวน ในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุในคดีนี้เกิดในท้องที่ใดแน่ ระหว่างอำเภอบัวใหญ่ กับอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดดังกล่าวย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ แต่ตามวรรคสาม (ก) ของมาตรา 19 ดังกล่าวระบุว่า พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยถูกจับได้ที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ กับเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่อีกหลายนายเป็นผู้ร่วมจับกุม พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้ คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สรุปสำนวนและ ทำความเห็นว่า ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้ แล้วส่งสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย, การร่วมกันต่อสู้ขัดขวางการจับกุม, และการพิจารณาโทษ
เมื่อนายดาบตำรวจ ป. พบ ส. ผู้ต้องหาซึ่งมีการออกหมายจับไว้แล้ว นายดาบตำรวจ ป. มีอำนาจจับกุม ส. ได้โดยไม่จำต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (3) เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาที่ทำขึ้นโดยการพิมพ์ และมีเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ซึ่งเป็นวิธีการจัดทำสำเนาเอกสารวิธีหนึ่งนอกจากการจัดทำสำเนาเอกสารด้วยการถ่ายจากต้นฉบับ ดังนั้นที่เอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้ถ่ายจากต้นฉบับและผู้ลงลายมือชื่อออกหมายไม่ได้เป็นผู้รับรองนั้นก็ไม่ทำให้เอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบ อันจะมีผลทำให้การจับกุม ส. ของนายดาบตำรวจ ป. เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ประการใด
การสอบสวนเพิ่มเติมของร้อยตำรวจโท ส. ที่ได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงลายมือชื่อเป็นเพียงการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพันตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนและพันตำรวจโท ช. หัวหน้าพนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเองร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพันตำรวจโท น. และพันตำรวจโท ช. ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมแทน ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2)
การสอบสวนเพิ่มเติมของร้อยตำรวจโท ส. ที่ได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงลายมือชื่อเป็นเพียงการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยทั้งสองจากการกระทำที่ได้มีการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพันตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนและพันตำรวจโท ช. หัวหน้าพนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้การกระทำดังกล่าวพนักงานสอบสวนต้องกระทำด้วยตนเองร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของพันตำรวจโท น. และพันตำรวจโท ช. ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมแทน ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 128 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมโดยไม่แจ้งสิทธิในการปฏิเสธไม่กระทบความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน
การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์ยาว 1 คืบ แทงที่บริเวณลิ้นปี่ของผู้เสียหายนั้นอาจเป็นความผิดฐานทำร้ายร่ายกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือรับอันตรายสาหัส หรือพยายามฆ่าผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้สอบสวนถึงการกระทำนั้นของจำเลย ทั้งมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว แต่การแจ้งข้อหาก็หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจำต้องแจ้งข้อหา ทุกกระทงความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกันไม่ ซึ่งในการสอบสวนจำเลยครั้งแรกพนักงานสอบสวนได้แจ้ง ข้อหาฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจให้จำเลยทราบแล้วว่าคำให้การอาจใช้ยันจำเลย ในชั้นพิจารณาของศาลได้และจำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะมีการสอบสวนโดยแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยอีกสองครั้ง แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งแก่จำเลยว่าคำให้การเพิ่มเติมอาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ มิได้ทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการไม่ชอบเพราะบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 เพียงแต่บัญญัติว่าคำให้การจำเลยไม่อาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ซึ่งตามคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยอีกสองครั้ง ก็มีเพียงว่า ขอให้การปฏิเสธตามที่ให้การในครั้งแรก จึงไม่มีข้อความใดที่จะใช้ยันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญาที่ล่าช้า: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 วรรคแรก จะบัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 กำหนดให้เริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาให้ได้รับผลกระทบจากการเป็นผู้ต้องหาน้อยที่สุด แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้าแล้ว การสอบสวนนั้นจะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าพนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มสอบสวนเกี่ยวกับความผิดของจำเลยในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองในระหว่างที่จำเลยต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถึง 1 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนและรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/26 วรรคสาม บัญญัติให้นำบทบัญญัติในเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 91 วรรคสอง มาใช้บังคับเกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยอนุโลม ดังนั้น ในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบแล้ว หากมีผู้โต้แย้งย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนตามมาตรา 90/32 วรรคสองเพื่อค้นหาความจริงว่าหนี้นั้นขอรับชำระได้หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ทั้งนี้ ย่อมใช้อำนาจดังกล่าวในการค้นหาความจริงได้อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม มิใช่เคร่งครัดจำกัดเพียงดูจากหลักฐานในคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น ดังนั้น นอกจากพยานหลักฐานของฝ่ายเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ที่จะนำอ้างส่งประกอบคำขอรับชำระหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นใดนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติมก่อนมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 90/32 วรรคสอง ได้ และในกรณีที่มีการคัดค้านคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลตามมาตรา 90/32 วรรคสาม ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งที่ยื่นในชั้นขอรับชำระหนี้และยื่นเพิ่มเติมในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าหนี้รายนั้นขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ หาใช่เป็นกรณีวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานเกินกว่าคำขอชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด และสิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความในชั้นสอบสวน
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด น้ำหนักรวม 0.43 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 200 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ตามมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนการที่เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหาเด็ก ต้องมีนักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์ และอัยการร่วมด้วย หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย การฟ้องเป็นโมฆะ
การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนจะต้องแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนนั้นด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ตรี ประกอบด้วย มาตรา 133 ทวิ ตามบทบัญญัติดังกล่าวบังคับโดยเด็ดขาดว่าต้องจัดให้มีบุคคลดังกล่าวข้างต้นเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวพร้อมกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ประกอบด้วยมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า จำเลยได้กระทำผิดและถูกสอบสวนขณะมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่พนักงานสอบสวนมิได้จัดให้มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้สอบถามจำเลยในขณะทำการสอบสวนว่าจำเลยมีทนายความหรือไม่ ต้องการทนายความหรือผู้ใดที่จำเลยไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวนหรือไม่ จำเลยตอบว่า จำเลยไม่มีทนายความ และไม่ต้องการผู้ใดร่วมฟังการสอบสวน โดยไม่ปรากฏกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่มีเหตุอันควรไม่อาจรอได้ เช่นนี้ การสอบสวนดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่ามิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามฟ้องที่มิได้มีการสอบสวนก่อน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120