คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สะดุดหยุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5314/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุด-เริ่มนับใหม่: ฟ้องล้มละลาย-รับสภาพหนี้
มูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนดอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001
เจ้าหนี้นำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายก่อนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจะครบกำหนดอายุความ เป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องจึงมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 (เดิม) แม้ต่อมาเจ้าหนี้ได้ถอนฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าวอันเป็นผลให้ไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความ สะดุดหยุดลงตามมาตรา 174 (เดิม) ก็ตาม แต่เมื่อกำหนดอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้ล่วงพ้นไปแล้วลูกหนี้ ได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยินยอมรับผิดชดใช้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้อื่น ๆ ต่อเจ้าหนี้ ถือได้ว่าลูกหนี้ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์แล้ว และเริ่มนับอายุความใหม่ต่อไปตั้งแต่วันรับสภาพหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: ระยะเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดไม่ได้, ฟ้องเกิน 10 ปีขาดอายุความ
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 208/2525 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2529 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 3,353,698.60 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 75,067.68 บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน1,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 73,605.47 บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาด จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยว่าไม่ถูกต้องและขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532
++ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปโดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534 โจทก์บังคับคดีได้เงินชำระหนี้บางส่วนยังค้างชำระอยู่ 2,843,377.25 บาท รวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน378,909.15 บาท รวมเป็นเงิน 3,222,286.40 บาท
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้หรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยทั้งสามได้ภายในสิบปีซึ่งจะครบในเดือนเมษายน 2542เนื่องจากจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม2532 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปซึ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีนับแต่วันที่ 16 มกราคม2532 จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2534 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือนเศษซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ควรนำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ดังนั้น โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ถึงเดือนเมษายน 2542
++
++ศาลฎีกาเห็นว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลาย เป็นมูลหนี้ที่ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2529 โจทก์จึงชอบที่จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2529กล่าวคือ จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2539 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532 เป็นต้นไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงและต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม2534 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น ถึงแม้จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2532 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม2534 เป็นเวลานาน 2 ปี 9 เดือนเศษ ที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีได้เพราะเหตุจากคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนของศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีดังกล่าวก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 193/14 ไม่
++
++ อนึ่ง คดีนี้โจทก์ได้ใช้สิทธิในการบังคับคดีแล้ว เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยังค้างชำระหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงทราบแล้วว่าโจทก์สามารถฟ้องคดีล้มละลายแก่จำเลยทั้งสามนับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม2539 ซึ่งเป็นเวลานานหลายเดือนเพียงพอที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้แต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 จึงพ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นมูลที่จะนำมาฟ้องคดีล้มละลายขาดอายุความแล้ว จึงเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษีและผลของการยอมรับหนี้เป็นหนังสือ
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วคดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18 มีนาคม 2529จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่ง ป.พ.พ. ส่วนการยึดทรัพย์ตาม ป.รัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าว มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพความรับผิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้ง: การฟ้องแย้งต้องยึดระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่รู้เหตุละเมิด แม้คดีหลักจะทำให้ระยะเวลาสะดุดหยุด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม มิได้บังคับให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การแต่ให้จำเลยเลือกฟ้องแย้งมาในคำให้การหรือจะฟ้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ การฟ้องคดีของโจทก์ที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นผลเฉพาะโจทก์ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย เมื่อจำเลยฟ้องแย้งพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงเหตุแห่งการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความ
อุทธรณ์ของจำเลยมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะเรื่องอายุความซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง จึงยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีปัญหาชั้นอุทธรณ์เพียงว่าฟ้องแย้งขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้สินและการสะดุดหยุดของอายุความจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ แต่ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ ผู้คัดค้านสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยื่นคำร้องว่าตนได้รับความเสียหายจากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าว ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา146 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้อง มีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามโดยต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 119 วรรคสาม ผู้ร้องย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่ามิได้เป็นหนี้ได้อีกทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งแรกดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้ และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อนเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลาย: การสะดุดหยุดของอายุความจากการทวงหนี้และการแก้ไขคำสั่งศาล
ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง เจ้าหนี้และลูกหนี้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่และมีคำสั่งให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้าน คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้องและมีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามคือต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน ซึ่งผู้คัดค้านได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบแล้ว ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องคัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสาม เป็นคดีนี้ มาตราดังกล่าวบัญญัติให้ศาลพิจารณาจนเป็นที่พอใจว่าผู้ร้องเป็นหนี้หรือไม่ การที่ศาลจะพิจารณาจนเป็นที่พอใจได้นั้น ผู้ร้องสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าไม่ได้เป็นหนี้ได้ ทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด
ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528 ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งมีอายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538และผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจกระทำได้ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/14(5) แล้ว ไม่ใช่ต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองเสียก่อน จึงจะถือว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินฉบับลงวันที่ 26 มีนาคม 2533 และผู้ร้องได้รับแล้ว ยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ความเห็นของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี คำสั่งนี้ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากเจ้าหนี้รายที่ 33 และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองอายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้บังคับไม่ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างช่างฝีมือ: การสะดุดหยุด และการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะเวลาเริ่มนับใหม่
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ตกแต่ง จัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบแล้ว แต่มีงานที่ต้องซ่อมแซมอีกเล็กน้อย ส่วนจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างเกือบครบแล้ว โดยตกลงกันให้ชำระเงินที่ค้าง เมื่อโจทก์ซ่อมแซมงานดังกล่าวเสร็จ กรณีจึงเข้าลักษณะโจทก์ผู้เป็นช่างฝีมือเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจากจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ฉะนั้น ต้องเริ่มนับอายุความ ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน อายุความย่อม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) การนับระยะเวลาจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 และครบ 2 ปี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 23 กันยายน 2537 คดีจึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2536 อันเป็นระยะเวลาก่อนโจทก์ฟ้องซึ่งคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือทักท้วงโจทก์ว่า ยอดหนี้รายพิพาทที่โจทก์ทวงถามมานั้นไม่ถูกต้อง อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2537 จำเลยที่ 1 ยังมีหนังสือแจ้งขอให้โจทก์ลดเงินที่ค้างลงอีก 30,000 บาท และขอให้โจทก์ไปซ่อมแซมงานในส่วนที่ค้างอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังเป็นหนี้โจทก์อยู่ อันเป็นการรับสภาพความรับผิดซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ดั้งนั้น เมื่อนับจากวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวถึงวันฟ้อง ไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยัง ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องซ้อนและอายุความ: ผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่และการสะดุดหยุดลงของอายุความ
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นกรณีที่เมื่อมีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุเป็นการฟ้องซ้อน จึงหาใช่เป็นการพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไม่ดังนั้นโจทก์จะอ้างการที่ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 หาได้ไม่
ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง(คดีก่อน)เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.193/17 วรรคหนึ่ง
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษายกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษาว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลายสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องคดีเรียกหนี้ตามคำพิพากษา แม้เวลาผ่านไป 10 ปี
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตา 193/32มาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และการที่การฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลง ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 271 มาใช้บังคับ
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นคำขอรับชำระหนี้
of 12