พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การตีความสัญญาตามเจตนาคู่สัญญาเพื่อการใช้ทางและสร้างสะพานเข้าที่ดิน
จำเลยทำสัญญาภารจำยอมไว้กับโจทก์มีความว่า (ข้อ 1) ผู้ให้สัญญา(หมายถึงจำเลย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ 1244 เนื่องจากที่ดินโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญา (หมายถึงโจทก์) ไม่มีทางออกไปสู่ถนนราชวิถีโดยรถยนต์ได้ เพราะมีที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 และโรงรำของผู้ให้สัญญาขวางอยู่ก่อน ผู้ให้สัญญาจึงตกลงยินยอมให้ทางถนนเดิมของที่ดินโฉนดที่ 1244 มีขนาดกว้างประมาณ 3.00 เมตร ยาวจากคลองสามเสนถึงถนนราชวิถียาวประมาณ 68 เมตร ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดที่ 6023 เพื่อใช้เป็นทางสัญจรไปมาและให้รถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากที่แปลงโฉนด 6023 สู่ถนนราชวิถีได้ ผู้ให้สัญญาจะไม่ปลูกสร้างสิ่งใด ๆ คร่อมทางภารจำยอมนี้ในโอกาสต่อไปและยินยอมให้ผู้รับสัญญาสร้างสะพานบนที่ดินของผู้ให้สัญญาตรงริมคลองสามเสนทอดข้ามไปสู่ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ได้(ข้อ 2) เนื่องจากที่ดินของผู้ให้สัญญาแปลงโฉนดที่ 1244 ขณะนี้มีโรงรำและถ่านปลูกสร้างปิดช่องถนนของที่ดินส่วนที่ให้สัญญายินยอมเป็นภารจำยอม โดยที่ผู้ให้สัญญาได้ให้ จ. เช่ามีกำหนด 10 ปีเป็นเหตุให้ผู้รับสัญญายังใช้สิทธิภารจำยอมที่ตกลงกันตามสัญญานี้ทันทีไม่ได้ (ข้อ 3) เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ให้สัญญาที่ยินยอมให้ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญาได้สิทธิภารจำยอมบนที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 ของผู้ให้สัญญาตามข้อ 1 ผู้รับสัญญาขอให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้ให้สัญญาได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงิน 20,000 บาทแล้ว ที่ค้างผู้รับสัญญาจะชำระให้เสร็จเมื่อผู้ให้สัญญาได้รื้อถอนโรงรำออกจากที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปแล้วและเมื่อผู้ให้สัญญาได้รับเงินจากผู้รับสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้ให้สัญญาจะต้องนำที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปจดทะเบียนภารจำยอมทันที ดังนี้ย่อมเห็นวัตถุประสงค์ของสัญญารายนี้ว่าที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็เพื่อให้มีถนนผ่านที่ดินจำเลยไปออกถนนราชวิถีได้โดยกว้างประมาณ 3 เมตร และยาวประมาณ 68 เมตร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้รถยนต์วิ่งเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ได้โดยการสร้างสะพานบนที่ดินของจำเลยข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 6023 ได้ การที่จะแปลสัญญานี้ไปเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปลว่าให้ทำสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของ ป. ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นการแปลความที่ขัดต่อเจตนาของคู่สัญญา ทั้งขัดกับข้อความในสัญญาด้วยการที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็ย่อมประสงค์จะให้ทำสะพานข้ามทอดเข้าที่ดินของโจทก์ไม่ต้องการให้ทำสะพานลงไปในที่ดินของ ป. ซึ่งแม้จะอยู่ติดกันก็มีคูน้ำคั่น ซึ่งมีความกว้างถึง 1 วา คำว่า'ทางถนนเดิม' ในสัญญาข้อ 1 หมายถึงถนนปูน 3 เมตร ตั้งแต่ปากทางติดถนนราชวิถีเข้ามาหน้าโรงรำและตรงเข้ามายังคลองสามเสนซึ่งเมื่อแปลเช่นนี้ ถนนเดิมจากปากทางจะตรงเข้ามาจดคลองสามเสนและย่อมจะสร้างสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินโจทก์ได้ ถนนที่เป็นภารจำยอมตามสัญญามีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ68 เมตร โดยถือถนนปูนซึ่งเป็นถนนเดิมแล้วตรงเข้ามาถึงหน้าโรงรำและถ่าน แล้วตรงเข้ามา (โดยไม่เบนไปทางซ้าย) ทั้งนี้โดยถือแนวถนนปูนเดิม ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่ขวางช่องทางดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจำเลยต้องรื้อออกไปให้พ้นความกว้าง (ประมาณ 3 เมตร)
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทาง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอม ก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อ มาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทาง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอม ก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อ มาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาภารจำยอม วัตถุประสงค์หลักคือการเข้าถึงที่ดินโดยสะดวกและสร้างสะพานข้ามคลอง
จำเลยทำสัญญาภารจำยอมไว้กับโจทก์มีความว่า (ข้อ 1) ผู้ให้สัญญา(หมายถึงจำเลย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ 1244 เนื่องจากที่ดินโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญา (หมายถึงโจทก์) ไม่มีทางออกไปสู่ถนนราชวิถีโดยรถยนต์ได้ เพราะมีที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 และโรงรำของผู้ให้สัญญาขวางอยู่ก่อน ผู้ให้สัญญาจึงตกลงยินยอมให้ทางถนนเดิมของที่ดินโฉนดที่ 1244 มีขนาดกว้างประมาณ 3.00 เมตร ยาวจากคลองสามเสนถึงถนนราชวิถียาวประมาณ 68 เมตร ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดที่ 6023 เพื่อใช้เป็นทางสัญจรไปมาและให้รถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากที่แปลงโฉนด 6023 สู่ถนนราชวิถีได้ ผู้ให้สัญญาจะไม่ปลูกสร้างสิ่งใด ๆ คร่อมทางภารจำยอมนี้ในโอกาสต่อไปและยินยอมให้ผู้รับสัญญาสร้างสะพานบนที่ดินของผู้ให้สัญญาตรงริมคลองสามเสนทอดข้ามไปสู่ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ได้(ข้อ 2) เนื่องจากที่ดินของผู้ให้สัญญาแปลงโฉนดที่ 1244 ขณะนี้มีโรงรำและถ่านปลูกสร้างปิดช่องถนนของที่ดินส่วนที่ให้สัญญายินยอมเป็นภารจำยอม โดยที่ผู้ให้สัญญาได้ให้ จ. เช่ามีกำหนด 10 ปีเป็นเหตุให้ผู้รับสัญญายังใช้สิทธิภารจำยอมที่ตกลงกันตามสัญญานี้ทันทีไม่ได้ (ข้อ 3) เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ให้สัญญาที่ยินยอมให้ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญาได้สิทธิภารจำยอมบนที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 ของผู้ให้สัญญาตามข้อ 1 ผู้รับสัญญาขอให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้ให้สัญญาได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงิน 20,000 บาทแล้ว ที่ค้างผู้รับสัญญาจะชำระให้เสร็จเมื่อผู้ให้สัญญาได้รื้อถอนโรงรำออกจากที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปแล้วและเมื่อผู้ให้สัญญาได้รับเงินจากผู้รับสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้ให้สัญญาจะต้องนำที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปจดทะเบียนภารจำยอมทันที ดังนี้ย่อมเห็นวัตถุประสงค์ของสัญญารายนี้ว่าที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็เพื่อให้มีถนนผ่านที่ดินจำเลยไปออกถนนราชวิถีได้โดยกว้างประมาณ 3 เมตร และยาวประมาณ 68 เมตร ทั้งนี้ก็เพื่อให้รถยนต์วิ่งเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ได้โดยการสร้างสะพานบนที่ดินของจำเลยข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 6023 ได้ การที่จะแปลสัญญานี้ไปเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปลว่าให้ทำสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของ ป. ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นการแปลความที่ขัดต่อเจตนาของคู่สัญญาทั้งขัดกับข้อความในสัญญาด้วยการที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง 120,000 บาท ก็ย่อมประสงค์จะให้ทำสะพานข้ามทอดเข้าที่ดินของโจทก์ไม่ต้องการให้ทำสะพานลงไปในที่ดินของ ป. ซึ่งแม้จะอยู่ติดกันก็มีคูน้ำคั่น ซึ่งมีความกว้างถึง 1 วา คำว่า'ทางถนนเดิม' ในสัญญาข้อ 1 หมายถึงถนนปูน 3 เมตร ตั้งแต่ปากทางติดถนนราชวิถีเข้ามาหน้าโรงรำและตรงเข้ามายังคลองสามเสนซึ่งเมื่อแปลเช่นนี้ ถนนเดิมจากปากทางจะตรงเข้ามาจดคลองสามเสนและย่อมจะสร้างสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินโจทก์ได้ ถนนที่เป็นภารจำยอมตามสัญญามีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ68 เมตร โดยถือถนนปูนซึ่งเป็นถนนเดิมแล้วตรงเข้ามาถึงหน้าโรงรำและถ่าน แล้วตรงเข้ามา (โดยไม่เบนไปทางซ้าย) ทั้งนี้โดยถือแนวถนนปูนเดิม ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่ขวางช่องทางดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจำเลยต้องรื้อออกไปให้พ้นความกว้าง (ประมาณ 3 เมตร)
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทางกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอมก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อมาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทางกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอมก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อมาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการชนสะพาน: การประมาทของจำเลยและการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของโจทก์
ในกรณีที่จำเลยควบคุมเรือยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ชนสะพานและท่าเทียบเรือของโจทก์การที่โจทก์ไม่จุดไฟขาวไว้ที่สะพานและท่าเทียบเรือ ตามที่ใบอนุญาตของกรมเจ้าท่าบังคับไว้นับว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือฯ เพราะหากโจทก์จุดไฟขาวไว้ให้ผู้เดินเรือในเวลากลางคืนเห็นได้ ก็จะเป็นทางป้องกันมิให้เรือแล่นมาชนสะพานและท่าเทียบเรือซึ่งล่วงล้ำร่องน้ำอยู่3 เมตรนั้นได้ จึงถือว่าโจทก์มีส่วนผิดอยู่ด้วยศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้เพียง 3 ใน 4 ของ ค่าเสียหายทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 และ 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถแซงบนสะพานแคบ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต
จำเลยขับรถยนต์โดยสารซึ่งกว้างถึง 2 เมตรเศษ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังแซงขึ้นหน้ารถกะบะลากเซ็นและรถจักรยานสองล้อบนสะพานซึ่งกว้างประมาณ 6 เมตร ขณะที่รถยนต์สองคันจะหลีกกันได้เท่านั้น เมื่อมีรถยนต์อื่นซึ่งสวนขึ้นสะพานมา จำเลยจึงเบนรถกลับเข้าไปโดนรถจักรยานสองล้อซึ่งผู้ตายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ นับว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถแซงบนสะพานแคบ ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงแก่ความตาย
จำเลยขับรถยนต์โดยสารซึ่งกว้างถึง 2 เมตรเศษ โดยไม่ใช้ความระมัดระวัง แซงขึ้นหน้ารถกะบะลากเข็นและรถจักรยานสองล้อบนสะพานซึ่งกว้างประมาณ 6 เมตรพอที่รถยนต์สองคันจะหลีกกันได้เท่านั้น เมื่อมีรถยนต์อื่นวิ่งสวนขึ้นสะพานมา จำเลยจึงเบนรถกลับเข้าไปโดนรถจักรยานสองล้อซึ่งผู้ตายขับขี่อยู่ล้มลง ผู้ตายบาดเจ็บและต่อมาถึงแก่ความตาย เช่นนี้ นับว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างสะพานบนทางสาธารณะเดิม แม้รุกล้ำที่ดินบ้างเล็กน้อย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
จำเลยสร้างสะพานข้ามคูสาธารณะขึ้นใหม่แทนสะพานเก่าได้สร้างตามแนวสะพานเก่า ซึ่งสาธารณชนใช้มานมนามหลายสิบปีแล้ว แม้จำเลยจะเพิ่งสร้างขึ้นใหม่เพียง 2-3 ปีเพราะสะพานเก่าชำรุดแล้วและแม้ปรากฏว่าเชิงสะพานล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ 2 เมตรเศษ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมทางเดิน แม้มีคลองสาธารณะคั่น และการสร้างสะพานโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ทำให้เสียสิทธิ
ที่ดินต่างเจ้าของซึ่งมีคลองสาธารณะคั่น แต่อีกคนหนึ่งทำสะพานข้ามการทำสะพานนั้นจะมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอาจตกอยู่ในภาระจำยอม สำหรับทางเดินโดยอายุความได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเดินข้ามคลองสาธารณะ แม้ไม่มีใบอนุญาต
ที่ดินต่างเจ้าของซึ่งมีคลองสาธารณะคั่น แต่อีกคนหนึ่งทำสะพานข้าม แม้การทำสะพานนั้นจะมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน อาจตกอยู่ในภารจำยอม สำหรับทางเดินโดยอายุความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินผิดสัญญาเนื่องจากมีสะพานก่อสร้างขวาง สัญญาเป็นอันเลิกกัน
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทคู่สัญญาถือเอาทำเลที่ตั้งและสภาพที่ดินพิพาทเป็นสาระสำคัญ กล่าวคือโจทก์ประสงค์ให้ที่ดินพิพาทจะต้องไม่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแยกผ่านหน้าที่ดินทั้งในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามทำข้อตกลงดังกล่าวกับโจทก์โดยไม่สมัครใจ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม แม้จำเลยทั้งสามจะมี ศ. วิศวกรโยธา สำนักงานโยธา กรุงเทพมหานคร และ ส. นายช่างสำรวจชำนาญงาน สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เบิกความในทำนองเดียวกันว่า โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนพุทธมณฑลสาย 4 ปัจจุบันเริ่มก่อสร้างมาแล้วบางส่วนยังไม่ถึงบริเวณหน้าที่ดินพิพาทก็ตาม แต่พยานทั้งสองก็เบิกความยืนยันว่าจะมีการก่อสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จซึ่งที่ดินพิพาทอยู่ห่างจากแนวสะพานยกระดับถนนพุทธมณฑลสาย 3 ประมาณ 200 เมตร และห่างจากทางยกระดับในจุดใกล้ที่ดินพิพาทที่สุดประมาณ 60 เมตร จึงเชื่อได้ว่าในอนาคตบริเวณด้านหน้าที่ดินพิพาทต้องมีการสร้างสะพานยกระดับซึ่งไม่ตรงตามสัญญาที่จำเลยทั้งสามให้ไว้กับโจทก์ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสาม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงเป็นอันเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 กรณีหาใช่เป็นเงื่อนไขในสัญญาที่เป็นอันแน่นอนในเวลาทำนิติกรรมว่าเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ และหาใช่เป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 187 วรรคสอง และมาตรา 189 วรรคหนึ่ง