พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าสังหาริมทรัพย์: องค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะผู้ให้เช่า
จำเลยเช่าคู่สายเคเบิลจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อใช้บริการเครื่องเทเล็กซ์ โดยเสียค่าเช่าเป็นเดือนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จึงเป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6) สิทธิเรียกร้องค่าเช่าดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าโทรศัพท์: โจทก์เป็นผู้ค้าเช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์กับค่าใช้บริการโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่าและเป็นผู้ค้ำในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6),(7) สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี มิใช่ 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์สมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์และตกลงราคา แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ
การซื้อขายพระพุทธรูปอันเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมสมบูรณ์เพียงเมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ขาย หาจำต้องทำเป็นหนังสือสัญญาหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไว้แต่อย่างใดไม่ แม้การซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 จะมิได้ทำเอกสารหมาย จ.1 ไว้ก็ย่อมสมบูรณ์แล้ว ไม่ปรากฏว่าเอกสารหมาย จ.1 มีระบุข้อความว่าให้จำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และจำเลยที่ 1 ตกลงจะทำการดังนั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 797 แห่ง ป.พ.พ. สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาตัวแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระสัญญาเช่า ผู้ซื้อต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าจนกว่าจะสิ้นสุด
จำเลยซื้ออาคารพิพาทอย่างสังหาริมทรัพย์โดยต้องรื้อถอนไป เมื่ออาคารพิพาทยังอยู่ในอายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม จำเลยผู้ซื้อต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่า จำเลยต้องปฏิบัติตาสัญญาเช่าจนกว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจนำมาจำนำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทรัพย์สินที่จำนำได้นั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่สิทธิการเช่าอาคารไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 101 จึงไม่อาจจำนำกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจนำมาจำนำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทรัพย์สินที่จำนำได้นั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่สิทธิการเช่าอาคารไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 101 จึงไม่อาจจำนำกันได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3358/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าซื้อ: สัญญาเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 2 ปีตามมาตรา 105(6) ไม่ใช่ 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ (เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ไม่ใช่ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องจักรทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย
เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 แล้ว ย่อมเปลี่ยนสถานะจาสังหาริมทรัพย์ธรรมดากลายมาเป็นสังหาริ่มทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรฯ ด้วย มิฉะนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเช่าเรือ: โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าให้เช่าสังหาริมทรัพย์ ใช้บังคับอายุความ 5 ปี
โจทก์ประกอบกิจการสั่งสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก ไม่เคยให้เช่าเรือหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มาก่อน เมื่อจำเลยเช่าเรือจากโจทก์ โจทก์จึงมิได้เป็นผู้ประกอบการค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ คดีฟ้องเรียกค่าเช่าเรือที่ค้างไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(6) แต่เป็นคดีที่มี อายุความ 5 ปี ตาม มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์สังหาริมทรัพย์โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่า แม้จะมีการจดทะเบียนภายหลัง
โจทก์ติดต่อซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้จัดการนำรถยนต์คันพิพาทออกมาจากบริษัท จ. ซึ่งเป็นบริษัทขายรถยนต์และเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทมาขายให้โจทก์ โจทก์รับมอบรถยนต์ไว้ในครอบครองและชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 2 โดยบริษัท จ.ยินยอมและไม่โต้แย้งคัดค้าน แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต
โจทก์ได้ซื้อรถยนต์คันพิพาทโดยได้ชำระราคาและรับมอบการครอบครองโดยสุจริตแล้ว ต่อมาได้มีการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้เป็นชื่อของจำเลยที่ 3 โจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท กรณีจึงเป็นเรื่องบุคคลหลายคนต่างเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกัน ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1303 โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 3 และมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท
โจทก์ได้ซื้อรถยนต์คันพิพาทโดยได้ชำระราคาและรับมอบการครอบครองโดยสุจริตแล้ว ต่อมาได้มีการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้เป็นชื่อของจำเลยที่ 3 โจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท กรณีจึงเป็นเรื่องบุคคลหลายคนต่างเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกัน ต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1303 โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 3 และมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท