คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญากู้เงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน: การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ใช่เบี้ยปรับ
ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 นะบุว่า ในระยะ 3 ปีแรกนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มึสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราคงที่หลังจากนั้นโจทก์จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดแล้ว โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นจึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงจึงชอบด้วยมาตรา 383
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานแล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับ เป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์-ผลบังคับใช้-จำนอง-อัตราดอกเบี้ย-ความรับผิดของผู้กู้
การขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงิน หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลฎีกาหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญาจำนองเป็นประกันไว้ และจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ที่ดินที่จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาและจำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาก็ตาม คงมีผลเพียงว่าภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้อ้างเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยาน ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้เอกสารดังกล่าวสมบูรณ์ถูกต้องสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลรัษฎากร มิใช่หน้าที่ของจำเลย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน และปรากฏว่าสัญญากู้เงินที่ทำขึ้นไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องอำนาจศาลและกฎหมายที่ใช้บังคับในสัญญากู้เงิน และการห้ามอุทธรณ์ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ข้ออ้างของจำเลยที่ตกลงกันในสัญญากู้เงินให้ศาลของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีและใช้กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ในการตีความสัญญาหรือการฟ้องร้องบังคับคดีเกี่ยวกับสัญญาเงินกู้ ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักการแสดงเจตนาของคู่กรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 เท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ทุนทรัพย์ในคดีมีจำนวน 46,497,247.86 บาท ส่วนค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์นั้นมีจำนวนเพียง 100,000 บาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.215 ของจำนวนทุนทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่อาจกำหนดค่าทนายความให้ในอัตราขั้นสูงได้ถึงร้อยละ 5 ของจำนวนทุน ค่าทนายความดังกล่าวจึงไม่สูงเกินส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: ข้อตกลงให้ชำระเพิ่มจากดอกเบี้ยตามอัตราแลกเปลี่ยน ถือเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาทโดยมิได้ระบุให้ใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ระบุว่า "วันนี้ 1 อัตราดอลลาร์อเมริกันเท่ากับ24.29บาทในกรณีที่เงินดอลลาร์อเมริกันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นผู้กู้ยอมชำระอัตราเพิ่มขึ้นด้วย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ผู้กู้ชำระเงินเพิ่มในกรณีที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น หาใช่เป็นการแสดงว่าเป็นการกู้เงินหรือต้องใช้เงินกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐไม่ จำเลยต้องชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาให้โจทก์เป็นเงินไทย ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็มิใช่เป็นเบี้ยปรับหรือการกำหนดค่าเสียหาย แต่เป็นการกำหนดให้ผู้กู้ต้องรับผิดเกินกว่าหนี้ที่ผู้กู้จะต้องชำระให้แก่ผู้ให้กู้อันเป็นการให้ค่าตอบแทนเพิ่มจากดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน กรณีจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะมิอาจบังคับได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ: ความรับผิดส่วนบุคคลและการคิดดอกเบี้ย
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการพ.ศ. 2530 ข้อ 13 และข้อ 21 เป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอมีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจทำสัญญากู้ยืมเงินแทนกองทุนดังกล่าว จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินและได้รับต้นเงินกู้ไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530ข้อ 13 จะกำหนดให้การปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดหนังสือสัญญากู้เงิน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินคืนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อสัญญากู้เงินมิได้กำหนดชำระต้นเงินคืนไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้นโจทก์จะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยต่อเมื่อได้ทวงถามและกำหนดเวลาให้จำเลยชำระต้นเงินแล้วตาม 204 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่ทำขึ้นเพื่อประกันหนี้เดิม ย่อมตกเป็นโมฆะ หากไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินกันจริง
โจทก์กลัวว่าจำเลยจะไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารจึงให้จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ยึดถือไว้โดยไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินกันจริง สัญญากู้ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินแก่โจทก์
เมื่อจำเลยอ้างถึงสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาสัญญาจำนอง สำเนาสัญญาค้ำประกัน และสำเนาสัญญากู้เงินถามค้านพยานโจทก์ โจทก์ก็มิได้คัดค้านสำเนาเอกสารนั้น ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีสัญญากู้เงิน จำเลยปฏิเสธ ลายมือชื่อไม่ตรง พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยทำหนังสือสัญญากู้เงินและรับเงินจากโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนองที่ดิน ลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์ที่มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามประเด็นที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง แต่ ย. พยานโจทก์กลับเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าพยานไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทำสัญญากู้เงิน ไม่ทราบว่าจำเลยลงชื่อสัญญากู้เงินและรับเงินที่กู้หรือไม่ และไม่ทราบว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้จำนองที่ดินพิพาทเป็นลายมือชื่อจำเลยหรือไม่ ส่วน ป. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งก็เบิกความทำนองเดียวกันว่าจำเลยไม่ได้ลงชื่อผู้กู้ต่อหน้าพยานจึงไม่ยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยหรือไม่ ส่วน น. ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาของโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานโดยตรง โจทก์กลับไม่นำมาเบิกความยืนยันตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์เพียงเท่าที่นำสืบจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า ลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรโชกทรัพย์และทำร้ายร่างกายเพื่อบังคับให้ลงนามในสัญญากู้เงิน ถือเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยที่ 1 ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายเพื่อบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายจำต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาซื้อขาย การที่จำเลยที่ 2พูดกับผู้เสียหายว่า คิดจะโกงหรืออย่ามาเล่นกับฉันนะ ในขณะที่จำเลยที่ 1กระชากคอเสื้อผู้เสียหายอยู่และต่อมาจำเลยที่ 1 ต่อยที่บริเวณหางคิ้วซ้ายผู้เสียหายจนบาดเจ็บเลือดออกและพูดกับผู้เสียหายว่าให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน มิฉะนั้นจะเจ็บตัวอีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงิน สัญญากู้เงินก่อให้เกิดสิทธิในหนี้ซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินแก่ผู้ให้กู้จึงเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่ผู้ให้กู้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งสัญญากู้เงินจากการข่มขืนใจโดยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้เงินจากจำเลยที่ 2 อันเป็นการได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินจึงเป็นการร่วมกันกระทำผิดฐานกรรโชกและทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจทำร้ายร่างกายเพื่อบังคับให้ลงนามในสัญญากู้เงิน ถือเป็นกรรโชกและทำร้ายร่างกาย
จำเลยที่ 1 ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายเพื่อบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายจำต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาซื้อขาย การที่จำเลยที่ 2พูดกับผู้เสียหายว่า คิดจะโกงหรือ อย่ามาเล่นกับฉันนะ ในขณะที่ จำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อผู้เสียหายอยู่ และต่อมาจำเลยที่ 1 ต่อยที่ บริเวณหางคิ้วซ้ายผู้เสียหายจนบาดเจ็บเลือดออก และพูดกับผู้เสียหาย ว่าให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน มิฉะนั้นจะเจ็บตัวอีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และร่วมกัน ข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงิน สัญญากู้เงินก่อให้เกิดสิทธิในหนี้ซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินแก่ผู้ให้กู้ จึงเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่ผู้ให้กู้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งสัญญากู้เงินจากการข่มขืนใจโดยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้เงินจากจำเลยที่ 2 อันเป็นการได้ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแล้วจึงเป็นการร่วมกันกระทำผิดฐานกรรโชก และทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญากู้เงิน การนำสืบอยู่ในขอบเขตข้อต่อสู้
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้มีชื่อ ซึ่งโจทก์ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแทนโจทก์ เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วในเหตุแห่งการปฏิเสธ และเป็นคำให้การที่อ่านเข้าใจได้ว่า นิติกรรมอันแท้จริงที่ถูกอำพรางไว้ คือนิติกรรมที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยซื้อขายที่ดินแทนโจทก์ แต่โจทก์จำเลยได้ทำนิติกรรมด้วยการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
of 9