คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างก่อสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างชำรุด: ความรับผิดเกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่าถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย เมื่อปรากฏว่าสิ่งก่อสร้างตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างเป็นสิ่งก่อสร้างกับพื้นดินและชำรุดบกพร่องภายใน 5 ปี จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาและตามระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาจ้างก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับตามหลักความเป็นธรรม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดงวดงานในสัญญาจ้างโดยผิดนัดตั้งแต่ งวดที่ 2ถึงงวดที่ 4 และได้เสียค่าปรับให้โจทก์ไปแล้ว 110 วันวันละ 797 บาท สำหรับงวดที่ 5 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ลงมือก่อสร้างเลย ตามพฤติการณ์การทำงานของจำเลยโจทก์น่าจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในกำหนดและคงทิ้งงานงวดสุดท้าย ซึ่งโจทก์ควรจะใช้สิทธิยกเลิกสัญญาเสียภายในหนึ่งถึงสองเดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่โจทก์กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลย ไปกว่า 6 เดือน จึงบอกเลิกสัญญา เป็นความล่าช้าในการ ดำเนินงานของโจทก์เองด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับจำเลยได้ชำระ ค่าปรับแก่โจทก์ไปแล้วถึง 110 วัน วันละ 797 บาท ทั้งโจทก์ ก็ไม่ได้นำสืบว่าการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทำงาน งวดสุดท้ายทำให้โจทก์เสียหายมากเพียงใด ดังนี้พิเคราะห์ ทางได้เสียของโจทก์แล้ว ค่าปรับ 196 วัน วันละ 797 บาท ตามข้อตกลงในสัญญานั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 การที่ ศาลลดค่าปรับลงเหลือวันละ 500 บาท เป็นเวลา 196 วัน เป็นเงิน 98,000 บาท นั้นเป็นการเหมาะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดของผู้รับเหมาที่ผิดสัญญาและค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 1 เพียงแต่มีหนังสือแจ้งว่าบริษัท ก. จำกัดผู้รับเหมาร่วมละทิ้งงาน จำเลยที่ 1 ขออนุมัติเป็นผู้ก่อสร้างทางต่อไปและขอรับเงินค่าจ้างตามผลงานที่ดำเนินการไปแล้วเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการก่อสร้างต่อไป ต่ออธิบดีกรมทางหลวงเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยเสนอข้อขัดแย้งในการทำงานดังกล่าวเป็นลักษณะของข้อพิพาทให้อธิบดีกรมทางหลวงวินิจฉัยชี้ขาดตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างมาแต่ประการใด ดังนั้นอธิบดีกรมทางหลวงจึงไม่มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อขัดแย้งดังกล่าว และไม่จำต้องจัดให้มีอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก่อนฟ้องคดีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาว่าจ้างตามหนังสือสัญญาว่าจ้างเอกสารหมาย จ.2 และเงื่อนไขของสัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญานั้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดสัญญานั้น แม้ค่าวิศวกรที่ปรึกษาที่โจทก์เรียกมาจะมิได้มีระบุไว้ในสัญญาว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแล้วจะต้องรับผิดในเงินค่าวิศวกรที่ปรึกษา แต่การทำงานสร้างทางพิพาทจะต้องมีวิศวกรที่ปรึกษาไว้ให้คำแนะนำ ควบคุมงานและเร่งรัดงานให้จำเลยที่ 1 ทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด เมื่อจำเลยที่ 1 ตก เป็นผู้ผิดสัญญาทำให้โจทก์ต้องประมูลงานใหม่ จ้างบริษัท ป. จำกัด สร้างทางพิพาทต่อจากจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องจ้างวิศวกรที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ ควบคุมงานต่อไปจนเสร็จ จึงเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนี้ด้วย สำหรับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญาและการบอกเลิกสัญญาต้องพิจารณาความสาระสำคัญและโอกาสแก้ไข
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ชำรุด และผลกระทบต่อสิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ว่าจ้าง
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่าผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียวเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญา และผลกระทบต่อการบอกเลิกสัญญา
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง & การรับมอบงานชำรุด/ล่าช้า: สิทธิเรียกร้องค่าปรับระงับเมื่อเจ้าหนี้รับมอบโดยไม่สงวนสิทธิ
จำเลยจ้างโจทก์สร้างตึกแถว โจทก์ส่งมอบล่าช้าแต่จำเลยรับมอบโดยไม่สงวนสิทธิปรับตามสัญญาจำเลยบังคับเรียกเบี้ยปรับไม่ได้ตาม มาตรา 381 วรรคท้าย
โจทก์โอนสิทธิการเช่าตึกแถวแก่จำเลย แต่โจทก์ใส่กุญแจประตูตึกแถวเสีย จำเลยเข้าครอบครองไม่ได้ ไม่เป็นละเมิด ตามสัญญาสิทธิที่จำเลยได้จากสัญญาคือสิทธิการเช่าตึกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานและค่าขาดกำไร
จำเลยจ้างโจทก์ปลูกตึกแถวโดยเจ้าของที่ดินควบคุมงาน ท.สั่งให้แก้ไขรายการก่อสร้าง จำเลยเสนอเพิ่มค่าจ้างแต่โจทก์มิได้ตกลงด้วยจำเลยไม่สามารถให้โจทก์ทำตามรายการเดิม จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์นำสืบค่าขาดกำไรไม่ได้ชัดเจนพอ ศาลกำหนดค่าขาดกำไรให้โจทก์ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดของทั้งสองฝ่าย, การแก้ไขงาน, และการชดใช้ค่าก่อสร้างเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ.พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไข. ดังนี้ ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ได้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่. แต่ข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่. จะเอาการที่ ฟ.ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้. เพราะ ฟ.เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้าง. ไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงาน. โจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข. ย่อมผิดสัญญา.
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้าง. โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้าง. แต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ. เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วย.จำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา. จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย. เพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้.
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว. การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391. เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม. ส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ. การจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก. การก่อสร้างที่ทำไปแล้ว ใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียว.จำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การหักเงินค่าแก้ไขงานบกพร่องต้องสมเหตุสมผล ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้จ่ายเงินครึ่งหนึ่ง
ผู้รับจ้างสร้างตึกทำการบกพร่องเป็นส่วนน้อย ผู้ว่าจ้างได้จ้างช่างอื่นแก้ไขตามสัญญา แต่ทำเกินกว่าที่สมควร จึงเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป ส่วนที่ต้องเสียเวลาเกินกำหนดในสัญญาไป ผู้ว่าจ้างได้ผ่อนผันให้ และเกิดจลาจลต้องหยุดงานและซ่อมแซม ผู้ว่าจ้างจะหักสินจ้างไว้มากเกินสมควรไม่ได้ ศาลกะค่าเสียหายให้ตามสมควรเพื่อหักกับสินจ้างที่ควรต้องใช้ให้ผู้รับจ้าง
of 3